บาลีวันละคำ

สังสการ (บาลีวันละคำ 3,702)

สังสการ

คือ “สงฺขาร” ในบาลี 

แต่ความหมายหนีกันไปไกล

อ่านว่า สัง-สะ-กาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

สังสการ : (คำโบราณ) (คำนาม) พิธีกรรมเกี่ยวกับการปลงศพ, ส่งสการ ก็ว่า. (ส. สํสการ).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า “สังสการ” สันสกฤตเป็น “สํสการ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีคำว่า “สํสฺการ” (มีจุดใต้ สฺ ที่ -สฺการ, พจนานุกรมฯ ไม่มีจุดใต้) บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สํสฺการ : (คำนาม) ‘สังสการ,’ การทำลุล่วง; พุทธิ; สมรณศักติหรือธารณาศักติ, อำนาจแห่งความจำ; ศักติหรือความสามารถทั่วไป; ลักษณะหนึ่งในจำนวนยี่สิบสี่ที่นยายวิทบริคณไว้; พิธีอันจำเปนในพวกฮินดู, ดุจพิธีเอกสามจำพวก, อันตั้งต้นด้วยการตั้งครรภ์และสิ้นสุดลงด้วยวิวาหะ หรือ ‘ครฺภาธานํ,’ ยัญหรือการบูชาเวลาตั้งครรภ์; ‘ปุํสวนํ,’ ยัญหรือการบูชาเวลามีปราณศักติในตัวสัตว์อันนอนในครรภ์; ‘สีมนฺโตนฺนยนํ,’ การบูชายัญในเดือนที่สี่, ที่หก, หรือเดือนที่แปด; ‘ชาตกรฺมฺม,’ การเอาเนยใสใส่ช้อนทองครรมให้ทารกชิม, ก่อนตัดสายสะดือ; ‘นามกรณํ,’ การให้นามในวันที่สิบ, ที่สิบเอ็ด, ที่สิบสอง, หรือวันที่ร้อยเอ็ด; ‘นิกฺรมณํ,’ การอุ้มทารกออกไปดูจันทร์ในเวลาค่ำวันขึ้นสามค่ำเดือนสาม, หรือพระอาทิตย์ในเดือนที่สามหรือเดือนที่สี่; ‘อนฺนปฺราศนํ,’ การป้อนข้าวทารกในเดือนที่หก, หรือเดือนที่แปด, หรือเมื่อทารกนั้นฟันขึ้น; ‘จูฑาการยํ,’ การตัดจุกในปีที่สองหรือที่สาม; ‘อุปนยนํ,’ การคาดด้วยมงคลในปีที่ห้า, ที่แปด, หรือที่สิบหก; ‘วิวาห,’ การแต่งงารเป็นสังสการที่สิบและที่สุด; การตกแต่ง, การประดับ; ความบริศุทธิ; การปรุงยา; การปรุงอาหาร, การหุงต้ม; การชำระให้บริศุทธ์; รูป, หุ่น; completing or perfecting; apprehension or understanding; the power of memory; faculty or ability in general, one of twenty-four qualities enumerated by logicians; an essential ceremony amongst the Hindus, as those of the three first classes, commencing with conception and ending with marriage; or ‘ครฺภาธานํ,’ sacrifice on conception; ‘ปุํสวนํ,’ sacrifice on vitality in the foetus; ‘สีมนฺโตนฺนยนํ,’ sacrifice in the fourth, sixth, or eighth month; ‘ชาตกรฺมฺม,’ giving the infant clarified butter out of a golden spoon to taste, before dividing the navelstring; ‘นามกรณํ,’ naming the child on the tenth, eleventh, or hundred and first day; ‘นิกฺรมณํ,’ carrying the child out to see the moon on the third lunar days of the third light fornight, or to see the sun in the third or fourth month; ‘อนฺนปฺราศนํ,’ feeding the infant with rice in the sixth or eighth month, or when the infant has cut teeth; ‘จูฑาการยํ,’ tonsure in the second or third year; ‘อุปนยนํ,’ investiture with string in the fifth, eighth, or sixteenth year; ‘วิวาห,’ marriage is the tenth and last Sangskâra; embellishment, decoration; purity; preparing articles of medicine; dressing food, cooking; purification or purifying; form, mould.”

…………..

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ที่คำว่า “สงฺขาร” บอกที่มาของศัพท์ไว้ว่า –

fr. saŋ+kṛ, not Vedic, but as saŋskāra Epic & Class. Sk. meaning “preparation” and “sacrament,” also in philosophical literature “former impression, disposition,” cp. vāsanā. 

[จาก สํ + กฺฤ, มิใช่ เวท. แต่เป็น สํสฺการ ความหมายกาพย์ สัน. และ สัน. โบราณ หมายถึง “การตระเตรียม” และ “พิธีศักดิ์สิทธิ์”, และในวรรณคดีปรัชญา “ความรู้สึกเก่าก่อน, อัธยาศัย”, เทียบ วาสนา]

และแสดงความเห็นไว้ว่า –

one of the most difficult terms in Buddhist metaphysics, in which the blending of the subjective – objective view of the world and of happening, peculiar to the East, is so complete, that it is almost impossible for Occidental terminology to get at the root of its meaning in a translation.

(เป็นคำที่ยากที่สุดคำหนึ่งในวิชาอภิปรัชญาของพุทธศาสนา ซึ่งการผสมกันของทัศนะทางวัตถุวิสัยและจิตวิสัยเกี่ยวกับโลก และของสิ่งที่บังเกิดขึ้นเฉพาะแก่ชาวตะวันออกนั้น ลึกซึ้งเสียจนเกือบจะเป็นไปไม่ได้ที่การใช้ถ้อยคำแบบตะวันตกเพื่อแปลให้เข้าถึงความหมายธาตุของคำนั้น)

We can only convey an idea of its import by representing several sides of its application, without attempting to give a “word” as a def. trsln.. 

(เราสามารถเพียงแสดงให้เห็นความหมายของมัน โดยแสดงวิธีใช้หลายๆ ด้าน เกี่ยวกับคำที่นำเข้ามาใช้ให้เหมาะสม โดยไม่พยายามที่จะให้คำแปลเป็น “คำ” ใดคำหนึ่งขึ้นมาเป็นการตายตัว)

หมายเหตุ: คำแปลภาษาไทย จากพจนานุกรมบาลี-ไทย-อังกฤษ ฉบับภูมิพโลภิกขุ ซึ่งใช้พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ เป็นต้นฉบับในการจัดทำ

…………..

สงฺขาร” (สัง-ขา-ระ) ในบาลี รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบ , แปลงนิคหิตเป็น งฺ, แปลง กรฺ เป็น ขรฺ, ยืดเสียง อะ ที่ -(ร) เป็น อา

: สํ > สงฺ + กรฺ = สงฺกร + = สงฺกรณ > สงฺกร > สงฺขร > สงฺขาร แปลตามศัพท์ว่า “ทำร่วมกัน” คือ “สภาวะอันปัจจัยปรุงแต่ง

สงฺขาร มีความหมาย 2 อย่าง คือ :

(1) สิ่งที่ถูกปรุงผสมขึ้นให้เห็นว่าเป็นอะไรอย่างหนึ่ง แต่เมื่อแยกส่วนประกอบออกจากกันแล้ว “อะไรอย่างหนึ่ง” นั้นก็ไม่มี (compounded things; component things; conditioned things)

ความหมายนี้รวมไปถึง “ร่างกาย ตัวตน” (the physical body) ตามที่คนทั่วไปเข้าใจ

(2) อาการที่จิตคิดปรุงแต่งไปต่างๆ หรือเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งความคิด การพูด การกระทำ ให้เป็นไปต่างๆ (mental formations; volitional activities)

ความหมายนี้ก็คือ 1 ในองค์ประกอบ 5 อย่าง ที่รวมกันเข้าเป็นชีวิตคน ที่เรียกว่า ขันธ์ห้า คือ รูป เวทนา สัญญา “สังขาร” วิญญาณ

สงฺขาร ใช้ในภาษาไทยเป็น “สังขาร” (สัง-ขาน) และมักเข้าใจกันในความหมายว่า ร่างกาย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สังขาร : (คำนาม) ร่างกาย, ตัวตน, สิ่งที่ประกอบและปรุงแต่งขึ้นเป็นร่างกายและจิตใจรวมกัน, เช่น สังขารร่วงโรย สังขารไม่เที่ยง; ความคิด เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ. (ป.; ส. สํสฺการ). (คำกริยา) ตาย เช่น ถึงซึ่งสังขาร, ในบทกลอนใช้ว่า สังขาร์ ก็มี.”

…………..

จะเห็นได้ว่า “สงฺขาร” ในบาลี “สงฺสฺการ” ในสํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน และ “สังสการ” ที่เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ความหมายผิดเพี้ยนกันไปมาก

ในฐานะนักเรียนบาลี ก็ศึกษาไว้พอเป็นอลังการแห่งความรู้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ความรู้ที่มี อาจไม่มีโอกาสได้ใช้

: แต่โอกาสที่จะได้ใช้ความรู้ อาจมีได้

#บาลีวันละคำ (3,702)

1-8-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *