บาลีวันละคำ

บริกรรม (บาลีวันละคำ 487)

บริกรรม

อ่านว่า บอ-ริ-กํา

บาลีเป็น “ปริกมฺม” อ่านว่า ปะ-ริ-กำ-มะ

ประกอบด้วย ปริ + กมฺม

ปริ” เป็นคำอุปสรรค มีความหมายว่า รอบ, เวียน, ทั่วไป, เต็มไปหมด, รวมหมด

กมฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม” พูดทับศัพท์ว่า “กรรม” และใช้ในความหมายหลายอย่าง (ดูรายละเอียดที่คำว่า กรรม”) คำนี้แปลตามศัพท์ว่า การกระทำ, สิ่งที่พึงทำ, การงาน

ปริ + กมฺม = ปริกมฺม แปลตามศัพท์ว่า “การทำรอบๆ” มีความหมายว่า การจัดแจง, การตระเตรียม, การซักซ้อม, การเตรียมตัว, การตกแต่ง, การเอาใจใส่, ความตั้งใจ, การนวดเฟ้น, การฉาบทา

ความหมายเด่นที่สุดของ “ปริกมฺมม” ก็คือ เตรียมการไว้ให้พร้อมก่อนจะลงมือ

ปริกมฺมม” เขียนแบบไทยเป็น “บริกรรม” ความหมายก็คลาดเคลื่อนไปด้วย

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า

บริกรรม : สํารวมใจสวดมนต์ภาวนา, สํารวมใจร่ายมนตร์หรือเสกคาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์

บริกรรม :

เตรียมการให้รอบคอบก่อนลงมือทำ

ถึงจะไม่เสกเป่าบริกรรมก็ศักดิ์สิทธิ์

14-9-56

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย