บาลีวันละคำ

โลกะปาลา  จะ  เทวะตา (บาลีวันละคำ 3,698)

โลกะปาลา  จะ  เทวะตา

ไม่ใช่ จะตุโลกะปาลา จะ  เทวะตา

ในบทกรวดน้ำของเก่าที่ขึ้นต้นว่า “อิมินา ปุญญะกัมเมนะ” มีข้อความตอนหนึ่งว่า –

………………………….

สุริโย จันทิมา ราชา

คุณะวันตา นะราปิ จะ

พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ 

โลกะปาลา จะ เทวะตา.

แปลว่า – 

พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระราชา

และคนทั้งหลายผู้ทรงคุณ

พรหม มาร และพระอินทร์

และเทพยดาผู้คุ้มครองโลก

………………………….

ตรงคำว่า “อินทา จะ โลกะปาลา จะ” ซึ่งแปลว่า “พระอินทร์และเทพยดาผู้คุ้มครองโลก” คำสวดบางฉบับเป็น “อินทา จะตุโลกะปาลา จะ” คือจากคำเดิม “อินทา จะ โลกะ…” มีผู้เติม “ตุ” เข้าไปเป็น “อินทา จะตุโลกะ…” ความหมายก็เปลี่ยนไปจาก “พระอินทร์และเทพยดาผู้คุ้มครองโลก” กลายเป็น “พระอินทร์และท้าวจตุโลกบาล” 

การที่เติม “ตุ” เข้าไปดังนี้ เกิดจากความไม่รู้ หรือเข้าใจผิด หรือไม่ก็คิดเอาเอง

เบื้องต้นพึงทราบว่า บทกรวดน้ำนี้ท่านแต่งเป็น “คาถา” หรือคำกลอนในภาษาบาลี คาถาชนิดนี้มีชื่อว่า “ปัฐยาวัต” (ปัด-ถะ-หฺยา-วัด) 1 บทมี 4 บาทหรือ 4 วรรค วรรคละ 8 คำหรือ 8 พยางค์

ลองนับดู –

………………………….

พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ 

………………………….

เป็น 1 วรรค มี 8 พยางค์ (พ๎รัห๎-มะ-มา-รา-จะ-อิน-ทา-จะ)

………………………….

โลกะปาลา จะ เทวะตา.

………………………….

เป็นอีก 1 วรรค มี 8 พยางค์ (โล-กะ-ปา-ลา-จะ-เท-วะ-ตา)

จะเห็นได้ว่า คำว่า “จะ” ที่อยู่ข้างหลัง “อินทา” อยู่คนละวรรคกับ “โลกะปาลา” และเป็น “จะ” พยางค์เดียว ไม่ใช่ “จะตุ

ถ้าเป็น “จะตุ” จำนวนพยางค์ในวรรคนี้ก็จะเป็น 9 พยางค์ ผิดกฎของคาถาชนิดนี้ (บางกรณีอนุญาตให้เป็น 9 พยางค์ได้ แต่ไม่ใช่กรณีนี้)

จะ” เขียนแบบบาลีเป็น “” อักษร “” ( จาน) ตัวเดียว บาลีอ่านว่า “จะ” (ไม่ใช่ “จอ”) นักเรียนบาลีในเมืองไทยนิยมเรียกเต็มๆ ว่า “-ศัพท์” อ่านว่า จะ-สับ

-ศัพท์” เป็นศัพท์จำพวก “นิบาต” นักเรียนบาลีท่องจำกันว่า “ (จะ) = ด้วย, อนึ่ง, ก็, จริงอยู่” 

คำแปลของ “-ศัพท์” ที่ควรทราบพอเป็นพื้นเบื้องต้น คือ – 

(1) ใช้ควบคำนาม: 

– แปลโดยพยัญชนะว่า “ด้วย” เช่น “พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ” แปลว่า “อันว่าพรหมและมารด้วย อันว่าพระอินทร์ด้วย” 

– แปลโดยอรรถว่า “และ” – “พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ” แปลว่า “พรหมมารและพระอินทร์

(2) ใช้ควบประโยค:

เช่น “สพฺเพ สตฺตา ชายนฺติ มรนฺติ ” แปลว่า “สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงย่อมเกิดด้วย, (สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง) ย่อมตายด้วย” 

(3) ใช้เป็นคำเปิดประโยค:

แปลว่า “อนึ่ง” “ก็” “จริงอยู่” (จะใช้คำไหนแล้วแต่บริบท) เช่น “วโส โลเก อิสฺสริยํ โหติ” แปลว่า “จริงอยู่ อำนาจย่อมเป็นใหญ่ในโลก

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “-ศัพท์” ดังนี้ (ในที่เช่นไร ควรแปลอย่างไร ขึ้นอยู่กับบริบท) – 

(1) ever, whoever, what-ever, etc. (ก็ตาม, ใครก็ตาม, อะไรก็ตาม, ฯลฯ) 

(2) and, then, now (และ, แล้ว, ทีนี้) 

(3) but [esp. after a negation] (แต่ [โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังคำปฏิเสธ])

(4) if (ถ้าว่า)

…………..

ส่วน “โลกะปาลา จะ เทวะตา.” เป็นอีกวรรคหนึ่ง ข้างหน้า “โลกะปาลา” ไม่มี “จะ” หรือ “จะตุ” และจะเอา “จะ” ในวรรคแรกมาไว้วรรคนี้ก็ไม่ได้ เพราะเป็นคนละวรรคกัน ถ้าเอา “จะ” มาไว้วรรคนี้ วรรคแรกก็จะเหลือ 7 พยางค์ ทั้งเมื่อเติม “จะ” หรือ “จะตุ” เข้าข้างหน้า คำในวรรคนี้ก็จะเกิน 8 พยางค์ กลายเป็น 9 หรือ 10 พยางค์ ยิ่งเลอะเทอะไปใหญ่ 

เหตุอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้เติมเห็นคำว่า “โลกะปาลา” ซึ่งแปลได้ว่า “ท้าวโลกบาล” ก็คิดไปว่า ท้าวโลกบาลมี 4 องค์ คำว่า “สี่” ภาษาบาลีว่า “จตุ” (จะตุ) ครั้นดูคำข้างหน้าก็เห็น “จะ” อยู่หน้า “โลกะปาลา” อ่านได้ว่า “จะ-โลกะปาลา” ก็คิดเอาเองว่า คำนี้ต้องเป็น “จะตุโลกะปาลา” จึงจะถูกต้อง “จะ-โลกะปาลา” นั้น ตก “ตุ” ไปคำหนึ่ง คิดแล้วจึงเติม “ตุ” เข้าไป 

“อินทา จะ โลกะปาลา” จึงกลายเป็น “อินทา จะตุโลกะปาลา” เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจหลักของฉันทลักษณ์ไปด้วยประการฉะนี้ 

สรุปว่า 

………………………….

พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ 

โลกะปาลา จะ เทวะตา.

………………………….

เป็นคำที่ถูกต้องอยู่แล้ว โปรดอย่าเติมอะไรเข้าไปอีกเป็นอันขาด

…………..

“อิมินา” กรวดน้ำนี้ คนเก่าท่องได้กันเป็นส่วนมาก คนไม่รู้หนังสือก็ยังอุตส่าห์ท่องได้ น่าอนุโมทนา 

ภายหลัง สำนักสวนโมกข์ได้แปลเป็นบทร้อยกรองเผยแพร่ใช้สวดควบกัน มีผู้ท่องบ่นกันแพร่หลายทั่วไป

“อิมินา” กรวดน้ำ มีชื่อเป็นทางการว่า “อุททิสสนาธิฏฐานคาถา” (อุด-ทิด-สะ-นา-ทิด-ถา-นะ-คา-ถา) ขอนำตัวบทที่เป็นคำบาลี และคำบาลีสลับคำแปลมาเสนอไว้ในที่นี้ดังต่อไปนี้

…………..

อุททิสสนาธิฏฐานคาถา

(เฉพาะคำบาลี)

อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ

อุปัชฌายา  คุณุตตะรา

อาจะริยูปะการา  จะ

มาตา  ปิตา  จะ  ญาตะกา.

สุริโย  จันทิมา  ราชา

คุณะวันตา  นะราปิ  จะ

พ๎รัห๎มะมารา  จะ  อินทา  จะ

โลกะปาลา  จะ  เทวะตา.

ยะโม  มิตตา  มะนุสสา  จะ

มัชฌัตตา  เวริกาปิ  จะ

สัพเพ  สัตตา  สุขี  โหนตุ

ปุญญานิ  ปะกะตานิ  เม

สุขัง  จะ  ติวิธัง  เทนตุ

ขิปปัง  ปาเปถะ  โวมะตัง.

อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ

อิมินา  อุททิเสนะ  จะ

ขิปปาหัง  สุละเภ  เจวะ

ตัณหุปาทานะเฉทะนัง.

เย  สันตาเน  หินา  ธัมมา

ยาวะ  นิพพานะโต  มะมัง

นัสสันตุ  สัพพะทาเยวะ

ยัตถะ  ชาโต  ภะเว  ภะเว.

อุชุจิตตัง  สะติปัญญา

สัลเลโข  วิริยัมหินา

มารา  ละภันตุ  โนกาสัง

กาตุญจะ  วิริเยสุ   เม.

พุทธาทิปะวะโร  นาโถ

ธัมโม  นาโถ  วะรุตตะโม

นาโถ  ปัจเจกะพุทโธ  จะ

สังโฆ  นาโถตตะโร  มะมัง.

เตโสตตะมานุภาเวนะ

มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา

ทะสะปุญญานุภาเวนะ

มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา.

…………..

อุททิสสนาธิฏฐานคาถา

(บาลีสลับคำแปล)

อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ

ด้วยบุญนี้ อุทิศให้

อุปัชฌายา  คุณุตตะรา

อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ

อาจะริยูปะการา  จะ

แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน

มาตา  ปิตา  จะ  ญาตะกา

ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ

สุริโย  จันทิมา  ราชา

สูรย์จันทร์ แลราชา

คุณะวันตา  นะราปิ  จะ

ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ

พ๎รัห๎มะมารา  จะ  อินทา  จะ

พรหม มาร และอินทราช

โลกะปาลา  จะ  เทวะตา

ทั้งทวยเทพ และโลกบาล

ยะโม  มิตตา  มะนุสสา  จะ

ยมราช มนุษย์มิตร

มัชฌัตตา  เวริกาปิ  จะ

ผู้เป็นกลาง ผู้จ้องผลาญ

สัพเพ  สัตตา  สุขี  โหนตุ

ขอให้ เป็นสุขศานติ์

ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน

ปุญญานิ  ปะกะตานิ  เม

บุญผอง ที่ข้าทำ

จงช่วยอำ-นวยศุภผล

สุขัง  จะ  ติวิธัง  เทนตุ

ให้สุข สามอย่างล้น

ขิปปัง  ปาเปถะ  โวมะตัง.

ให้ลุถึง นิพพานพลัน.

อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ

ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ

อิมินา  อุททิเสนะ  จะ

แลอุทิศ ให้ปวงสัตว์

ขิปปาหัง  สุละเภ  เจวะ

เราพลันได้ ซึ่งการตัด

ตัณหุปาทานะเฉทะนัง

ตัวตัณหา อุปาทาน

เย  สันตาเน  หินา  ธัมมา

สิ่งชั่ว ในดวงใจ

ยาวะ  นิพพานะโต  มะมัง

กว่าเราจะ ถึงนิพพาน

นัสสันตุ  สัพพะทาเยวะ

มลายสิ้น จากสันดาน

ยัตถะ  ชาโต  ภะเว  ภะเว

ทุกทุกภพ ที่เราเกิด

อุชุจิตตัง  สะติปัญญา

มีจิตตรง และสติ

ทั้งปัญญา อันประเสริฐ

สัลเลโข  วิริยัมหินา

พร้อมทั้ง ความเพียรเลิศ

เป็นเครื่องขูด กิเลสหาย

มารา  ละภันตุ  โนกาสัง

โอกาส อย่าพึงมี

แก่หมู่มาร สิ้นทั้งหลาย

กาตุญจะ  วิริเยสุ  เม

เป็นช่อง ประทุษร้าย

ทำลายล้าง ความเพียรจม

พุทธาทิปะวะโร  นาโถ

พระพุทธผู้ บวรนาถ

ธัมโม  นาโถ  วะรุตตะโม

พระธรรม ที่พึ่งอุดม

นาโถ  ปัจเจกะพุทโธ  จะ

พระปัจเจ-กะพุทธ สม-

สังโฆ  นาโถตตะโร  มะมัง

-ทบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง

เตโสตตะมานุภาเวนะ

ด้วยอานุภาพนั้น

มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา

ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง

ทะสะปุญญานุภาเวนะ

ด้วยเดชบุญ ทั้งสิบป้อง

มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา.

อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญ.

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ผลบุญไม่ต้องขอ

: แค่รอ ถึงเวลาก็มาเอง

#บาลีวันละคำ (3,698)

28-7-65 

ไม่ใช่ จะตุโลกะปาลา จะ  เทวะตา

ในบทกรวดน้ำของเก่าที่ขึ้นต้นว่า “อิมินา ปุญญะกัมเมนะ” มีข้อความตอนหนึ่งว่า –

………………………….

สุริโย จันทิมา ราชา

คุณะวันตา นะราปิ จะ

พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ 

โลกะปาลา จะ เทวะตา.

แปลว่า – 

พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระราชา

และคนทั้งหลายผู้ทรงคุณ

พรหม มาร และพระอินทร์

และเทพยดาผู้คุ้มครองโลก

………………………….

ตรงคำว่า “อินทา จะ โลกะปาลา จะ” ซึ่งแปลว่า “พระอินทร์และเทพยดาผู้คุ้มครองโลก” คำสวดบางฉบับเป็น “อินทา จะตุโลกะปาลา จะ” คือจากคำเดิม “อินทา จะ โลกะ…” มีผู้เติม “ตุ” เข้าไปเป็น “อินทา จะตุโลกะ…” ความหมายก็เปลี่ยนไปจาก “พระอินทร์และเทพยดาผู้คุ้มครองโลก” กลายเป็น “พระอินทร์และท้าวจตุโลกบาล” 

การที่เติม “ตุ” เข้าไปดังนี้ เกิดจากความไม่รู้ หรือเข้าใจผิด หรือไม่ก็คิดเอาเอง

เบื้องต้นพึงทราบว่า บทกรวดน้ำนี้ท่านแต่งเป็น “คาถา” หรือคำกลอนในภาษาบาลี คาถาชนิดนี้มีชื่อว่า “ปัฐยาวัต” (ปัด-ถะ-หฺยา-วัด) 1 บทมี 4 บาทหรือ 4 วรรค วรรคละ 8 คำหรือ 8 พยางค์

ลองนับดู –

………………………….

พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ 

………………………….

เป็น 1 วรรค มี 8 พยางค์ (พ๎รัห๎-มะ-มา-รา-จะ-อิน-ทา-จะ)

………………………….

โลกะปาลา จะ เทวะตา.

………………………….

เป็นอีก 1 วรรค มี 8 พยางค์ (โล-กะ-ปา-ลา-จะ-เท-วะ-ตา)

จะเห็นได้ว่า คำว่า “จะ” ที่อยู่ข้างหลัง “อินทา” อยู่คนละวรรคกับ “โลกะปาลา” และเป็น “จะ” พยางค์เดียว ไม่ใช่ “จะตุ

ถ้าเป็น “จะตุ” จำนวนพยางค์ในวรรคนี้ก็จะเป็น 9 พยางค์ ผิดกฎของคาถาชนิดนี้ (บางกรณีอนุญาตให้เป็น 9 พยางค์ได้ แต่ไม่ใช่กรณีนี้)

จะ” เขียนแบบบาลีเป็น “” อักษร “” ( จาน) ตัวเดียว บาลีอ่านว่า “จะ” (ไม่ใช่ “จอ”) นักเรียนบาลีในเมืองไทยนิยมเรียกเต็มๆ ว่า “-ศัพท์” อ่านว่า จะ-สับ

-ศัพท์” เป็นศัพท์จำพวก “นิบาต” นักเรียนบาลีท่องจำกันว่า “ (จะ) = ด้วย, อนึ่ง, ก็, จริงอยู่” 

คำแปลของ “-ศัพท์” ที่ควรทราบพอเป็นพื้นเบื้องต้น คือ – 

(1) ใช้ควบคำนาม: 

– แปลโดยพยัญชนะว่า “ด้วย” เช่น “พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ” แปลว่า “อันว่าพรหมและมารด้วย อันว่าพระอินทร์ด้วย” 

– แปลโดยอรรถว่า “และ” – “พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ” แปลว่า “พรหมมารและพระอินทร์

(2) ใช้ควบประโยค:

เช่น “สพฺเพ สตฺตา ชายนฺติ มรนฺติ ” แปลว่า “สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงย่อมเกิดด้วย, (สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง) ย่อมตายด้วย” 

(3) ใช้เป็นคำเปิดประโยค:

แปลว่า “อนึ่ง” “ก็” “จริงอยู่” (จะใช้คำไหนแล้วแต่บริบท) เช่น “วโส โลเก อิสฺสริยํ โหติ” แปลว่า “จริงอยู่ อำนาจย่อมเป็นใหญ่ในโลก

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “-ศัพท์” ดังนี้ (ในที่เช่นไร ควรแปลอย่างไร ขึ้นอยู่กับบริบท) – 

(1) ever, whoever, what-ever, etc. (ก็ตาม, ใครก็ตาม, อะไรก็ตาม, ฯลฯ) 

(2) and, then, now (และ, แล้ว, ทีนี้) 

(3) but [esp. after a negation] (แต่ [โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังคำปฏิเสธ])

(4) if (ถ้าว่า)

…………..

ส่วน “โลกะปาลา จะ เทวะตา.” เป็นอีกวรรคหนึ่ง ข้างหน้า “โลกะปาลา” ไม่มี “จะ” หรือ “จะตุ” และจะเอา “จะ” ในวรรคแรกมาไว้วรรคนี้ก็ไม่ได้ เพราะเป็นคนละวรรคกัน ถ้าเอา “จะ” มาไว้วรรคนี้ วรรคแรกก็จะเหลือ 7 พยางค์ ทั้งเมื่อเติม “จะ” หรือ “จะตุ” เข้าข้างหน้า คำในวรรคนี้ก็จะเกิน 8 พยางค์ กลายเป็น 9 หรือ 10 พยางค์ ยิ่งเลอะเทอะไปใหญ่ 

เหตุอีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้เติมเห็นคำว่า “โลกะปาลา” ซึ่งแปลได้ว่า “ท้าวโลกบาล” ก็คิดไปว่า ท้าวโลกบาลมี 4 องค์ คำว่า “สี่” ภาษาบาลีว่า “จตุ” (จะตุ) ครั้นดูคำข้างหน้าก็เห็น “จะ” อยู่หน้า “โลกะปาลา” อ่านได้ว่า “จะ-โลกะปาลา” ก็คิดเอาเองว่า คำนี้ต้องเป็น “จะตุโลกะปาลา” จึงจะถูกต้อง “จะ-โลกะปาลา” นั้น ตก “ตุ” ไปคำหนึ่ง คิดแล้วจึงเติม “ตุ” เข้าไป 

“อินทา จะ โลกะปาลา” จึงกลายเป็น “อินทา จะตุโลกะปาลา” เพราะความไม่รู้ไม่เข้าใจหลักของฉันทลักษณ์ไปด้วยประการฉะนี้ 

สรุปว่า 

………………………….

พ๎รัห๎มะมารา จะ อินทา จะ 

โลกะปาลา จะ เทวะตา.

………………………….

เป็นคำที่ถูกต้องอยู่แล้ว โปรดอย่าเติมอะไรเข้าไปอีกเป็นอันขาด

…………..

“อิมินา” กรวดน้ำนี้ คนเก่าท่องได้กันเป็นส่วนมาก คนไม่รู้หนังสือก็ยังอุตส่าห์ท่องได้ น่าอนุโมทนา 

ภายหลัง สำนักสวนโมกข์ได้แปลเป็นบทร้อยกรองเผยแพร่ใช้สวดควบกัน มีผู้ท่องบ่นกันแพร่หลายทั่วไป

“อิมินา” กรวดน้ำ มีชื่อเป็นทางการว่า “อุททิสสนาธิฏฐานคาถา” (อุด-ทิด-สะ-นา-ทิด-ถา-นะ-คา-ถา) ขอนำตัวบทที่เป็นคำบาลี และคำบาลีสลับคำแปลมาเสนอไว้ในที่นี้ดังต่อไปนี้

…………..

อุททิสสนาธิฏฐานคาถา

(เฉพาะคำบาลี)

อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ

อุปัชฌายา  คุณุตตะรา

อาจะริยูปะการา  จะ

มาตา  ปิตา  จะ  ญาตะกา.

สุริโย  จันทิมา  ราชา

คุณะวันตา  นะราปิ  จะ

พ๎รัห๎มะมารา  จะ  อินทา  จะ

โลกะปาลา  จะ  เทวะตา.

ยะโม  มิตตา  มะนุสสา  จะ

มัชฌัตตา  เวริกาปิ  จะ

สัพเพ  สัตตา  สุขี  โหนตุ

ปุญญานิ  ปะกะตานิ  เม

สุขัง  จะ  ติวิธัง  เทนตุ

ขิปปัง  ปาเปถะ  โวมะตัง.

อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ

อิมินา  อุททิเสนะ  จะ

ขิปปาหัง  สุละเภ  เจวะ

ตัณหุปาทานะเฉทะนัง.

เย  สันตาเน  หินา  ธัมมา

ยาวะ  นิพพานะโต  มะมัง

นัสสันตุ  สัพพะทาเยวะ

ยัตถะ  ชาโต  ภะเว  ภะเว.

อุชุจิตตัง  สะติปัญญา

สัลเลโข  วิริยัมหินา

มารา  ละภันตุ  โนกาสัง

กาตุญจะ  วิริเยสุ   เม.

พุทธาทิปะวะโร  นาโถ

ธัมโม  นาโถ  วะรุตตะโม

นาโถ  ปัจเจกะพุทโธ  จะ

สังโฆ  นาโถตตะโร  มะมัง.

เตโสตตะมานุภาเวนะ

มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา

ทะสะปุญญานุภาเวนะ

มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา.

…………..

อุททิสสนาธิฏฐานคาถา

(บาลีสลับคำแปล)

อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ

ด้วยบุญนี้ อุทิศให้

อุปัชฌายา  คุณุตตะรา

อุปัชฌาย์ ผู้เลิศคุณ

อาจะริยูปะการา  จะ

แลอาจารย์ ผู้เกื้อหนุน

มาตา  ปิตา  จะ  ญาตะกา

ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ

สุริโย  จันทิมา  ราชา

สูรย์จันทร์ แลราชา

คุณะวันตา  นะราปิ  จะ

ผู้ทรงคุณ หรือสูงชาติ

พ๎รัห๎มะมารา  จะ  อินทา  จะ

พรหม มาร และอินทราช

โลกะปาลา  จะ  เทวะตา

ทั้งทวยเทพ และโลกบาล

ยะโม  มิตตา  มะนุสสา  จะ

ยมราช มนุษย์มิตร

มัชฌัตตา  เวริกาปิ  จะ

ผู้เป็นกลาง ผู้จ้องผลาญ

สัพเพ  สัตตา  สุขี  โหนตุ

ขอให้ เป็นสุขศานติ์

ทุกทั่วหน้า อย่าทุกข์ทน

ปุญญานิ  ปะกะตานิ  เม

บุญผอง ที่ข้าทำ

จงช่วยอำ-นวยศุภผล

สุขัง  จะ  ติวิธัง  เทนตุ

ให้สุข สามอย่างล้น

ขิปปัง  ปาเปถะ  โวมะตัง.

ให้ลุถึง นิพพานพลัน.

อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ

ด้วยบุญนี้ ที่เราทำ

อิมินา  อุททิเสนะ  จะ

แลอุทิศ ให้ปวงสัตว์

ขิปปาหัง  สุละเภ  เจวะ

เราพลันได้ ซึ่งการตัด

ตัณหุปาทานะเฉทะนัง

ตัวตัณหา อุปาทาน

เย  สันตาเน  หินา  ธัมมา

สิ่งชั่ว ในดวงใจ

ยาวะ  นิพพานะโต  มะมัง

กว่าเราจะ ถึงนิพพาน

นัสสันตุ  สัพพะทาเยวะ

มลายสิ้น จากสันดาน

ยัตถะ  ชาโต  ภะเว  ภะเว

ทุกทุกภพ ที่เราเกิด

อุชุจิตตัง  สะติปัญญา

มีจิตตรง และสติ

ทั้งปัญญา อันประเสริฐ

สัลเลโข  วิริยัมหินา

พร้อมทั้ง ความเพียรเลิศ

เป็นเครื่องขูด กิเลสหาย

มารา  ละภันตุ  โนกาสัง

โอกาส อย่าพึงมี

แก่หมู่มาร สิ้นทั้งหลาย

กาตุญจะ  วิริเยสุ  เม

เป็นช่อง ประทุษร้าย

ทำลายล้าง ความเพียรจม

พุทธาทิปะวะโร  นาโถ

พระพุทธผู้ บวรนาถ

ธัมโม  นาโถ  วะรุตตะโม

พระธรรม ที่พึ่งอุดม

นาโถ  ปัจเจกะพุทโธ  จะ

พระปัจเจ-กะพุทธ สม-

สังโฆ  นาโถตตะโร  มะมัง

-ทบพระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง

เตโสตตะมานุภาเวนะ

ด้วยอานุภาพนั้น

มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา

ขอหมู่มาร อย่าได้ช่อง

ทะสะปุญญานุภาเวนะ

ด้วยเดชบุญ ทั้งสิบป้อง

มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา.

อย่าเปิดโอกาสแก่มารเทอญ.

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ผลบุญไม่ต้องขอ

: แค่รอ ถึงเวลาก็มาเอง

#บาลีวันละคำ (3,698)

28-7-65 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *