บาลีวันละคำ

คัมภีร์ (บาลีวันละคำ 3,894)

คัมภีร์

คัมภีร์

เขียนอีกที เผื่อลืม

คัมภีร์” อ่านว่า คำ-พี เขียนแบบบาลีเป็น “คมฺภีร” อ่านว่า คำ-พี-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) คมฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + อีร ปัจจัย, ลง อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย (คมฺ + + อีร)

: คมฺ + + อีร = คมฺภีร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่เป็นไปปกติ” (คือมีทั่วไป)

(2) คจฺฉนฺต (ผู้เดินไป) + ภี (ธาตุ = กลัว) + อีร ปัจจัย, แปลง คจฺฉนฺต เป็น คมฺ 

: คจฺฉนฺต + ภี = คจฺฉนฺตภี + อีร = คจฺฉนฺตภีร > คมฺภีร แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่หวาดกลัวของคนเดินไป” (คือไม่รู้ว่าลึกลงไปจะมีอะไรบ้าง เช่น น้ำลึก) 

(3) ( = โค = แผ่นดิน) + ภิทฺ (ธาตุ = แบ่งแยก) + อีร ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่บทหน้าแล้วแปลงเป็น มฺ ( > คํ > คมฺ), ลบที่สุดธาตุ (ภิทฺ > ภิ)

: + ภิทฺ = คภิทฺ + อีร = คภิทีร > คํภิทีร > คมฺภิทีร > คมฺภีร แปลตามศัพท์ว่า “ที่แบ่งแยกแผ่นดินไป” (คือทำให้แผ่นดินแยกเป็นร่อง) 

คมฺภีร” ในบาลี ใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) เป็นคุณศัพท์ หมายถึง ลึก, ลึกซึ้ง, หยั่งไม่ถึง, มีหลักดี, สุขุม, สังเกตยาก, ยากยิ่ง (deep, pro-found, unfathomable, well founded, hard to perceive, difficult)

(2) เป็นคำนาม (ในบทวิเคราะห์ แสดงรูปสำเร็จเป็นปุงลิงค์) หมายถึง ห้วงลึก; พื้นฐานลึก, หลักฐานมั่นคง (the deep; deep ground, secure foundation)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน มีศัพท์ว่า “คมฺภีร” เหมือนบาลี บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

คมฺภีร : (คำวิเศษณ์) ลึก, ลึ้งซึ้ง; ทึบ, ช้า, deep; dull, slow;- (คำนาม) มนตร์อันเรียนไว้เปนร้อยแก้วในฤคเวท; บัว; มะนาว; สอึก, สอึกพักใหญ่; a Mantra written in prose in the Rig Veda; a lotus; a citron; hiccup, a violent singultus.”

…………..

หมายเหตุ: คำแปลในต้นฉบับตรงที่ว่า “ลึ้งซึ้ง” เห็นทีแรกผู้เขียนบาลีวันละคำเข้าใจว่าผู้จัดทำต้นฉบับคงเขียนพลาดไป คำที่ถูกน่าจะเป็น “ลึกซึ้ง” แต่มาฉุกคิดว่า ถ้าสะกดพลาดจาก “ลึกซี้ง” ก็ควรจะเป็น “ลึงซึ้ง” แต่นี่มีไม้โทอยู่ข้างบนด้วย แสดงว่าตั้งใจสะกดอย่างนี้ 

ดีร้ายคำว่า “ลึกซึ้ง” ที่เราพูดกัน จะมีไวพจน์อีกคำหนึ่งว่า “ลึ้งซึ้ง” กระมัง 

ลองออกเสียง “ลึ้งซึ้ง” ฟังดู เสียงใกล้กับ “ลึกซึ้ง” เป็นที่สุด ดังนั้น อีกนัยหนึ่งก็ “ลึกซึ้ง” นั่นแหละ มีคนได้ยินเสียงเป็น ลึ้ง-ซึ้ง แล้วสะกดเป็น “ลึ้งซึ้ง” ไปด้วย 

ขอฝากนักภาษาช่วยพิจารณาดูเถิด

…………..

บาลี “คมฺภีร” ในภาษาไทยใช้เป็น “คัมภีร-” (คำ-พี-ระ- มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “คัมภีร์” (คำ-พี) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

คัมภีร-, คัมภีร์ : (คำนาม) หนังสือตําราที่สําคัญทางศาสนาหรือโหราศาสตร์เป็นต้น; ลักษณนามเรียกหนังสือตําราเหล่านี้ เช่น คัมภีร์หนึ่ง คัมภีร์โหราศาสตร์ ๒ คัมภีร์. (คำวิเศษณ์) ลึกซึ้ง. (ป.).”

อภิปรายขยายความ :

ในบาลี คำว่า “คมฺภีร” ไม่ได้หมายถึง “หนังสือตําราที่สําคัญทางศาสนา” เหมือนในภาษาไทย ถ้าหมายถึงหนังสือตำรา บาลีใช้ศัพท์ว่า “สตฺถ” (สัด-ถะ) หรือ “โปตฺถก” (โปด-ถะ-กะ)

วิชาแต่งไทยเป็นมคธในชั้นเปรียญธรรม 9 ประโยค ภาษาไทยพูดว่า “คัมภีร์พระไตรปิฎก” ถ้านักเรียนบาลีแต่งเป็นมคธว่า “ติปิฏกคมฺภีโร” กรรมการผู้ตรวจข้อสอบคงเห็นสมควรให้สอบใหม่

แถม :

ทุกครั้งที่เขียนคำว่า “คัมภีร์” โปรดช่วยกันระลึกและช่วยกันจำว่า “ ไม้หันอากาศ = คัม

คำที่มักสะกดผิด ไม่ต้องจำ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สะกดผิดก็ไม่ตกนรกมิใช่หรือ

: ใช่ แต่ไม่ตกนรกด้วย สะกดถูกด้วยดีกว่า

#บาลีวันละคำ (3,894)

09-02-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *