บาลีวันละคำ

โหราศาสตร์ (บาลีวันละคำ 3,967)

โหราศาสตร์

ฝ่ายหนึ่งใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์

ฝ่ายหนึ่งเชื่อเพื่อจะให้ได้ประโยชน์

อ่านว่า โห-รา-สาด

ประกอบด้วยคำว่า โหรา + ศาสตร์

(๑) “โหรา” 

อ่านว่า โห-รา รากศัพท์มาจาก หุร (โลกหน้า, อนาคต) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ หุ-(ร) เป็น โอ (หุร > โหร) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ 

: หุร + = หุรณ > หุร > โหร + อา = โหรา แปลตามศัพท์ว่า “วิชาที่ว่าด้วยเหตุในอนาคตและเหตุในอดีต” หมายถึง วิชาทำนาย, การทำนาย 

โหรา” เป็นทั้งรูปบาลีและสันสกฤต เขียนด้วยอักษรโรมันเป็น hora

นักภาษาสันนิษฐานว่า hora รากศัพท์เดียวกับ hour = ชั่วโมง

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน ที่คำว่า “โหรา” บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

โหรา : (คำนาม) อุทัยแห่งราศี; ชั่วโมง; ลักษณะหรือเครื่องหมาย; เรขาหรือเลขา; ศาสตร์อันว่าด้วยนักษัตรวิทยา หรือไทวัชญวิทยา; the rising of a sign of the zodiac; an hour; a mark; a line; a science; an astrology.”

ในภาษาไทย คำว่า “โหรา” มักใช้เป็น “โหร” (โหน) และหมายถึงตัวบุคคล 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โหร : (คำนาม) ผู้พยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก; ผู้ให้ฤกษ์และพยากรณ์โชคชะตาราศี. (ส., ป. โหรา).”

(๒) “ศาสตร์” 

เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “สตฺถ” อ่านว่า สัด-ถะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สสฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + ปัจจัย, แปลง สฺ ที่ (ส)-สฺ เป็น ตฺ

: สสฺ + = สสฺถ > สตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “วัตถุเป็นเครื่องเบียดเบียนสัตว์” คำเดิมหมายถึง “ของมีคม” ความหมายนี้ตรงกับสันสกฤตว่า “ศสฺตฺร” แปลว่า ดาบ, มีด, อาวุธ ใช้ในภาษาไทยว่า ศัสตรา หรือ ศาสตรา บางทีก็พูดควบกันว่า ศาสตราวุธ หรือ ศาสตราอาวุธ (weapon, sword, knife)

(2) สรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย แปลง รฺ เป็น ตฺ

: สรฺ + = สรฺถ > สตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “หมู่เป็นที่เป็นไปแห่งส่วนย่อยทั้งหลาย” ความหมายนี้ตรงกับสันสกฤตว่า “สารฺถ” หมายถึง กองเกวียนของพ่อค้า, กองคาราวาน, ขบวนยานพาหนะ (caravan)

(3) สาสฺ (ธาตุ = สอน) + ปัจจัย, รัสสะ (หดเสียง) อา ที่ สา-(สฺ) เป็น อะ (สาสฺ > สสฺ), แปลง สฺ เป็น ตฺ

: สาสฺ + = สาสฺถ > สสฺถ > สตฺถ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นเครื่องสอนเนื้อความ” ความหมายนี้ตรงกับสันสกฤตว่า “ศาสฺตฺร” หมายถึง คัมภีร์, ตำรา, ศิลปะ, วิชาความรู้ (science, art, lore)

ศาสตร” มีความหมาย 2 อย่าง คือ 

(ก) หมายถึง “ของมีคม” ตามบาลี “สตฺถ” ในข้อ (1) ความหมายนี้สันสกฤตเป็น “ศสฺตฺร” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศสฺตฺร : (คำนาม) ‘ศัสตระ,’ อายุธ, อาวุธทั่วไป; เหล็ก; เหล็กกล้า; ดาพ, กระบี่; มีด, พร้า; a weapon in general, iron; steel; a sword; a knife.”

ความหมายนี้ในภาษาไทยสะกดเป็น “ศัสตรา” และ “ศาสตรา” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ศัสตรา, ศัสตราวุธ : (คำนาม) ของมีคมเป็นเครื่องฟันแทง, อาวุธต่าง ๆ. (ส.).

(2) ศาสตรา : (คำนาม) ศัสตรา.

(ข) หมายถึง “วิชาความรู้” ตามบาลี “สตฺถ” ในข้อ (3) ความหมายนี้สันสกฤตเป็น “ศาสฺตฺร” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ศาสฺตฺร : (คำนาม) ‘ศาสตร์’ คำสั่งหรือบัญชา; เวท, วิทยา, ธรรมศาสตร์, กฎหมาย; หนังสือทั่วไป; an order or command; scripture or Veda, science, institutes of religion, law; a book in general.”

ความหมายนี้ในภาษาไทยสะกดเป็น “ศาสตร” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศาสตร-, ศาสตร์ : (คำนาม) ระบบวิชาความรู้, มักใช้ประกอบหลังคําอื่น เช่น วิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์. (ส.).”

โหรา + สตฺถ = โหราสตฺถ (โห-รา-สัด-ถะ) แปลว่า “วิชาทำนายเหตุการณ์

บาลี “โหราสตฺถ” ในภาษาไทยใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “โหราศาสตร์” 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

โหราศาสตร์ : (คำนาม) วิชาว่าด้วยการพยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก.”

ขยายความ :

โหราศาสตร์” คำอังกฤษว่า astrology 

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล astrology เป็นบาลี ดังนี้:

(1) horāsattha โหราสตฺถ (โห-รา-สัด-ถะ) = วิชาทำนายเหตุการณ์

(2) nakkhattavijjā นกฺขตฺตวิชฺชา (นัก-ขัด-ตะ-วิด-ชา) = วิชาว่าด้วยการ (ทำนายโดยอ้างอิงการ) โคจรของดวงดาว

Astrology หมายถึง “โหราศาสตร์” ตัวผู้รู้โหราศาสตร์คือโหรหรือโหราจารย์ คำอังกฤษว่า astrologer

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล astrologer เป็นบาลี ดังนี้:

(1) muhuttika มุหุตฺติก (มุ-หุด-ติ-กะ) = ผู้ประกอบกิจว่าด้วยฤกษ์ยาม

(2) jotisatthaññū โชติสตฺถญฺญู (โช-ติ-สัด-ถัน-ยู) = ผู้รู้วิชาว่าด้วยการโคจรของดวงดาว

(3) gaṇaka คณก (คะ-นะ-กะ) = ผู้คำนวณการโคจรของดวงดาว

(4) nakkhattapāṭhaka นกฺขตฺตปาฐก (นัก-ขัด-ตะ-ปา-ถะ-กะ) = ผู้ทำนายตามการโคจรของดวงดาว

(5) horāpāṭhaka โหราปาฐก (โห-รา-ปา-ถะ-กะ) = ผู้ทำนายตามการโคจรของดวงดาว

แถม :

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ที่คำว่า “โหราศาสตร์” (อ่านเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2566 เวลา 20:30 น.) อธิบายความหมายของคำว่า “โหราศาสตร์” ไว้ดังนี้ – 

(นำมาเสนอเพื่อให้เห็นภาพกว้างๆ ของ “โหราศาสตร์” 

มิได้มีเจตนาจะให้นับถือเลื่อมใส)

…………..

โหราศาสตร์ (อังกฤษ: astrology) เป็นศาสตร์หนึ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์ มีความเกี่ยวข้องกับการทำนายอนาคต หรือ โชคชะตาของมนุษย์, ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของบ้านเมืองและของโลก โดยอาศัย เวลา และ ตำแหน่งของดวงดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้าเป็นสำคัญ แล้วบันทึกไว้เป็นสถิติ โหราศาสตร์เป็นวิชาที่ต่างกับวิทยาศาสตร์ ด้วยแม้จะสามารถพิสูจน์ทราบได้โดยใช้กฎเกณฑ์และเหตุผลในทางโหราศาสตร์ นำมาทดลอง พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีได้ ไม่ว่าจะทดลองกี่ครั้ง ที่ใด ๆ ในโลกเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ก็ยังคงเป็นวิชาที่ค่อนข้างลึกลับ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงไม่รับรองโหราศาสตร์ว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลอินเดียได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2544 ให้มีการสอนวิชาโหราศาสตร์ในมหาวิทยาลัยได้

วิชาโหราศาสตร์มีหลายระบบและมีความแตกต่างกัน แบ่งออกเป็น โหราศาสตร์ไทย โหราศาสตร์สากล โหราศาสตร์จีน โหราศาสตร์ยูเรเนียน การพยากรณ์ในโหราศาสตร์ต้องอาศัยโหรผู้มีความรู้ความชำนาญในการผูกดวงและเป็นผู้พยากรณ์เพื่อตีความหมายเป็นโอกาสของการเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอนาคต

โหราศาสตร์เป็นสาขาหนึ่งของการพยากรณ์และเนื่องจากการใช้ตำแหน่งของดวงดาว จึงมีความเกี่ยวข้องกับวิชาดาราศาสตร์

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าประมาท

: กี่โหราศาสตร์ก็ช่วยไม่ได้

#บาลีวันละคำ (3,967)

23-4-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *