บาลีวันละคำ

ปรปฏิพัทธชีวิก (บาลีวันละคำ 4,030)

ปรปฏิพัทธชีวิก

ชีวิตของนักบวช

อ่านว่า ปะ-ระ-ปะ-ติ-พัด-ทะ-ชี-วิก

แยกศัพท์เป็น ปร + ปฏิพัทธ + ชีวิก

(๑) “ปร” 

บาลีอ่านว่า ปะ-ระ รากศัพท์มาจาก (แทนศัพท์ หึสา = เบียดเบียน) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ

: + รมฺ = ปรมฺ + กฺวิ = ปรมกฺวิ > ปรม > ปร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยินดีในการเบียดเบียน” ในที่นี้หมายถึง –

(1) อีกอันหนึ่ง, อื่นอีก, อื่น (another, other) 

(2) ศัตรู, ปรปักษ์ (enemies, opponents)

ในที่นี้ “ปร” ใช้ในความหมายตามข้อ (1) 

(๒) “ปฏิพัทธ” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ปฏิพทฺธ” อ่านว่า ปะ-ติ-พัด-ทะ ประกอบขึ้นจาก ปฏิ + พทฺธ 

(ก) “ปฏิ” อ่านว่า ปะ-ติ เป็นศัพท์จำพวกที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า “อุปสรรค” นักเรียนบาลีท่องจำคำแปลกันมาว่า “ปฏิ : เฉพาะ ตอบ ทวน กลับ

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปฏิ– : คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ เช่น ปฏิทิน, ตอบ เช่น ปฏิพากย์, ทวน เช่น ปฏิโลม, กลับ เช่น ปฏิวัติ. (ป.; ส. ปฺรติ).”

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกความหมายของ “ปฏิ-” ว่า back (to), against, towards, in opposition to, opposite (กลับ, ตอบ, เฉพาะ, มุ่งไปยัง, ตรงกันข้าม, กลับกัน)

(ข) “พทฺธ” อ่านว่า พัด-ทะ รากศัพท์มาจาก พธฺ (ธาตุ = ผูก, มัด, พัน) + ปัจจัย, แปลง เป็น ทฺธ, ลบที่สุดธาตุ

: แปลง เป็น ทฺธ : พธฺ + = พธฺต > พธทฺธ

: ลบที่สุดธาตุ : พธทฺธ > พทฺธ

อีกนัยหนึ่ง “พทฺธ” รากศัพท์มาจาก พนฺธฺ (ธาตุ = ผูก, มัด, พัน) + ปัจจัย, ลบ (พนฺธ > พธฺ), แปลง กับที่สุดธาตุเป็น ทฺธ,( + = ทฺธ)

: พนฺธ > พธฺ + = พธต > พทฺธ 

พทฺธ” แปลตามศัพท์ว่า “อันเขาผูกแล้ว” เป็นคำกริยาและเป็นคุณศัพท์ ใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ผูก (bound), อยู่ในความผูกพัน (bound, in bondage)

(2) ติดบ่วง, ถูกกับดัก (snared, trapped)

(3) ทำให้มั่นคง, ตั้งหลักแหล่ง, ผูก, รัด, ผูกพันให้อยู่กับที่ (made firm, settled, fastened, bound to a cert. place)

(4) ตกลงกัน, ได้มา (contracted, acquired)

(5) ผูก, ติดหรือแนบ (bound to, addicted or attached to)

(6) เอามารวมกัน, นวดหรือคลุก, ทำเป็นก้อน (put together, kneaded, made into cakes [of meal])

(7) มัดเข้าด้วยกัน, ต่อโยงกัน, รวมกันเป็นกลุ่ม (bound together, linked, clustered)

(8) กำหนด, ตกลง (set, made up [of the mind]) 

ปฏิ + พทฺธ = ปฏิพทฺธ แปลตามศัพท์ว่า “ผูกเข้าไว้โดยเฉพาะ” หมายถึง ผูกหรือมัด, ถูกพันธนาการ, ถูกดึงดูด, ขึ้นอยู่กับ (bound to, in fetters or bonds, attracted to or by, dependent on)

บาลี “ปฏิพทฺธ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ปฏิพัทธ์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปฏิพัทธ์ : (คำกริยา) ผูกพัน, รักใคร่, เช่น มีจิตปฏิพัทธ์. (ป. ปฏิพทฺธ; ส. ปฺรติพทฺธ).”

(๓) “ชีวิก” 

บาลีอ่านว่า ชี-วิ-กะ รูปคำเดิมมาจาก ชีว + อิก ปัจจัย

(ก) “ชีว” (ชี-วะ) รากศัพท์มาจาก ชีวฺ (ธาตุ = มีชีวิต) + (อะ) ปัจจัย 

: ชีวฺ + = ชีว (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีชีวะ” หมายถึง ชีวิต (life)

(ข) ชีว + อิก = ชีวิก แปลตามศัพท์ว่า “ประกอบด้วยชีวะ” หมายถึง ความเป็นอยู่, การหาเลี้ยงชีพ (living, livelihood)

การประสมคำ :

ปร + ปฏิพทฺธ = ปรปฏิพทฺธ (ปะ-ระ-ปะ-ติ-พัด-ทะ) แปลตามศัพท์ว่า “เนื่องเฉพาะกับผู้อื่น” หมายถึง พึ่งพิง, อาศัยหรือขึ้นอยู่กับผู้อื่น (resting, relying, or dependent on someone else)

ปรปฏิพทฺธ + ชีวิก = ปรปฏิพทฺธชีวิก (ปะ-ระ-ปะ-ติ-พัด-ทะ-ชี-วิ-กะ) แปลตามศัพท์ว่า “มีความเป็นอยู่เนื่องเฉพาะกับผู้อื่น” หมายถึง อาศัยคนอื่นเพื่อยังชีวิต (dependent on someone else for a living)

ปรปฏิพทฺธชีวิก” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ปรปฏิพัทธชีวิก” อ่านว่า ปะ-ระ-ปะ-ติ-พัด-ทะ-ชี-วิก

ขยายความ :

ปรปฏิพัทธชีวิก” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 และเท่าที่สังเกตดู ไม่พบว่ามีใครนำไปใช้ในการพูดการเขียนหรือการสื่อสารตามปกติ จึงนับว่าเป็นคำแปลกหน้าคำหนึ่ง

ปรปฏิพัทธชีวิก” (ปรปฏิพทฺธชีวิก) คำนี้ มีใช้ในคัมภีร์ เป็นคำเรียก “บรรพชา” คือวิถีชีวิตของนักบวชว่าเป็นการครองชีพที่ลำบาก เพราะเป็น “ปรปฏิพัทธชีวิก” คือชีวิตที่ต้องอาศัยผู้อื่น ดังข้อความตอนหนึ่งในอรรถกถาโสมนัสชาดก ดังนี้ –

…………..

ตาต  ปพฺพชฺชา  นาม  ปรปฏิพทฺธชีวิกตฺตา  ทุกฺขา  มา  ปพฺพชิ  ราชา  โหหิ  ฯ

ลูกรัก ขึ้นชื่อว่าการบรรพชาเป็นทุกข์ เพราะต้องมีชีวิตเนื่องด้วยผู้อื่น เจ้าอย่าบวชเลย จงเป็นพระราชาเถิด

(พระเจ้าเรณุราชแห่งอุตรปัญจาลนคร แคว้นกุรุ ตรัสกับโสมนัสกุมารพระโอรสผู้ตั้งพระทัยจะบวช แต่พระราชาไม่เต็มพระทัยจะให้บวช)

ที่มา: โสมนัสชาดก วีสตินิบาต ชาตกัฏฐกถา ภาค 7 หน้า 108

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ข้าวในบาตรจะไม่ขาดทุน

: ถ้าเนื้อนาบุญไม่ขาดธรรม

#บาลีวันละคำ (4,030)

25-6-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *