บาลีวันละคำ

ยังกิญจิ (บาลีวันละคำ 4,067)

ยังกิญจิ

อาศัยคำไปหาธรรม

อ่านว่า ยัง-กิน-จิ

ยังกิญจิ” เขียนแบบบาลีเป็น “ยงฺกิญฺจิ” หนังสือบางเล่มบางสมัยอาจสะกดเป็น “ยํกิญฺจิ” คือใช้นิคหิตแทน งฺ 

ยงฺ-” ไม่มีไม้หันอากาศ มีจุดใต้ งฺ ทำให้ งฺ เป็นตัวสะกด อ่านว่า ยัง

“-กิญฺ-” มีจุดใต้ ญฺ ถ้าเขียนแบบไทย “-กิญ-” (ไม่มีจุดใต้ ) ก็อ่านว่า กิน ได้ แต่ถ้าเขียนแบบบาลี ต้องมีจุดใต้ ญฺ > –กิญฺ– จึงจะอ่านว่า กิน ได้

ยงฺกิญฺจิ” ถ้าแยกศัพท์ ก็จะประกอบด้วย ยํ + กึ + จิ

ยํ” (ยัง) แปลว่า “ใด” (เมื่อใด สิ่งใด)

กึ” (กิง) แปลว่า “ใคร” “อะไร

จิ” เป็นคำทำหน้าที่เสริมคำ

หนังสือ “บาลีไวยากรณ์ วจีวิภาคที่ ๒ นามและอัพยยศัพท์” พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส อธิบายว่า –

กึ ศัพท์ … ถ้ามี นำหน้า มี จิ อยู่หลัง แปลว่า “คนใดคนหนึ่ง” หรือ “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง” 

กึ ศัพท์ มี นำหน้า มี จิ อยู่หลัง” = + กึ + จิ

มีตัวอย่างดังนี้ –

(1) “โย  โกจิ  เทโว  วา  มนุสฺโส  วา

แปล: เทวดาหรือหรือมนุษย์คนใดคนหนึ่ง

(2) “ยา  กาจิ  เวทนา  อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนา

แปล: เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ล่วงแล้ว หรือยังไม่มา หรือเกิดขึ้นเฉพาะแล้ว

(3) “ยงฺกิญฺจิ  วิตฺตํ  อิธ  วา  หุรํ  วา

แปล: ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใดอันหนึ่ง ในโลกนี้หรือหรือในโลกอื่น

ขยายความ :

ประโยคบาลีสำคัญที่มีคำว่า “ยงฺกิญฺจิ” อยู่ด้วย น่าจะเป็นคำจำกัดความคำว่า “ธรรมจักษุ” ที่แปลว่า “ดวงตาเห็นธรรม” 

…………..

ธรรมจักษุ” คืออะไร มีคำจำกัดความว่า –

ยงฺกิญฺจิ  สมุทยธมฺมํ  สพฺพนฺตํ  นิโรธธมฺมํ

(ยังกิญจิ  สะมุทะยะธัมมัง  สัพพันตัง  นิโรธะธัมมัง)

แปล: สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

ลักษณะของ “ธรรมจักษุ” :

๑ คำว่า “เห็นธรรม” หมายถึงเห็นว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”

๒ “ดวงตาเห็นธรรม” ไม่ใช่แค่อ่านข้อความ “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา” ออก ท่องจำได้ รู้ความหมาย อธิบายได้ แต่หมายถึงต้องสัมผัสได้ด้วยใจ

อุปมาเหมือนรู้ “รสเปรี้ยว” ไม่ใช่แค่อ่านคำว่า “รสเปรี้ยว” ออก บอกอาการเปรี้ยวได้ นึกได้ในความรู้สึก แต่หมายถึงต้องได้ลิ้ม “รสเปรี้ยว” ด้วยประสาทลิ้นมาแล้วจริงๆ 

๓ คุณสมบัติเฉพาะของ “ธรรมจักษุ” คือ “วิรชํ  วีตมลํ” (ปราศจากธุลี ไม่มีมลทิน)

…………..

ธรรมจักษุ” เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะ หนึ่งในปัญวัคคีย์คือนักบวช 5 คนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้ฟังเป็นครั้งแรก

พระธรรมที่แสดงมีชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตสูตร

วันที่แสดง คือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ

ผลแห่งการแสดงธรรม ทำให้ท่านโกณฑัญญะเกิดดวงตาเห็นธรรมเป็นอริยบุคคล ทูลขอบวชเป็นพระสงฆ์องค์แรก

ชาวพุทธทำการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์นั้น เรียกว่า “อาสาฬหบูชา”

…………..

ทุกครั้งที่ได้ยินคำว่า “ธรรมจักษุ” ขอให้นึกคำบาลีที่ขึ้นต้นว่า “ยังกิญจิ” นึกถึงความหมายของคำ แล้วน้อมใจนึกถึงธรรมนำไปปฏิบัติ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รู้ธรรม แต่ไม่ปฏิบัติธรรม 

: เหมือนรู้สรรพคุณยา แต่ไม่ใช้ยารักษาโรค 

#บาลีวันละคำ (4,067)

1-8-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *