บาลีวันละคำ

วักกลิ (บาลีวันละคำ 4,123)

วักกลิ

ผู้เป็นต้นเหตุวรรคทอง “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา”

อ่านว่า วัก-กะ-ลิ

วักกลิ” เขียนแบบบาลีเป็น “วกฺกลิ” อ่านว่า วัก-กะ-ลิ เป็นชื่อของพระอรหันต์องค์หนึ่งในสมัยพุทธกาล

คัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินี ภาค 2 หน้า 359 อรรถกถาอปทาน ตอนวักกลิเถราปทานวัณณนา แสดงที่มาของชื่อ “วกฺกลิ” ไว้ว่า 

กลีติ  อปราธติลกาฬกาทิโทสสฺส  อธิวจนํ  ฯ  

คำว่า กลิ เป็นชื่อของโทษมีมลทินและตกกระเป็นต้น

นิทฺธนฺตสุวณฺณปิณฺฑสทิสตาย  อปคโต  พฺยปคโต  กลิ  โทโส …

กลิคือโทษของผู้นั้นไปปราศแล้ว จากไปแล้ว เพราะรูปร่างเป็นเช่นกับก้อนทองคำที่ไล่มลทินแล้ว

… อสฺสาติ  วการาคมํ  กตฺวา  วกฺกลีติ  วุจฺจติ  ฯ

เหตุนั้น ผู้นั้นท่านจึงเรียกว่า วักกลิ เพราะลง ว อาคม

ขยายความดังนี้ 

คำว่า “วกฺกลิ” รากศัพท์มาจาก + กลิ 

(๑) “” (อะ) แทนศัพทว่า “อปคต” แปลว่า ออกไป, หายไป

(๒) “กลิ” (กะ-ลิ) รากศัพท์มาจาก กล (ธาตุ = นับ, คำนวณ) + อิ ปัจจัย

: กลฺ + อิ = กลิ แปลามศัพท์ว่า “ภาวะอันเขานับ” 

หนังสือ ศัพท์วิเคราะห์ ของ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) แปล “กลิ” ว่า โทษ, ความชั่ว, บาป, ความปราชัย, ความพ่ายแพ้ 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ บอกความหมายของ “กลิ” ว่า –

(1) ลูกสกาที่อับโชค (the unlucky die)

(2) การทอดลูกสกาที่อับโชค, โชคร้าย, เป็นเครื่องหมายแห่งโชคร้าย, ข้อเสีย, บาป (an unlucky throw at dice, bad luck, symbolically as a piece of bad luck in a general worldly sense or bad quality, demerit, sin)

(3) ยุคสุดท้ายในยุคทั้ง 4 ของโลก (the last of the 4 ages of the world)

(4) บาป, คนบาป (sinful, a sinner)

(5) น้ำลาย, ฟอง (น้ำลายที่ปาก) (saliva, spittle, froth)

กระบวนการประกอบรูป :

+ กลิ ซ้อน กฺ

: + กฺ + กลิ = อกฺกลิ 

๒ ลง อาคมที่ต้นศัพท์

: + อกฺกลิ = วกฺกลิ

วกฺกลิ” แปลว่า “ผู้ไม่มีโทษ” คือ รูปร่างหน้าสะอาดราวกับแท่งทอง จะหาไฝฝีขี้แมลงวันแต่สักน้อยหนึ่งก็บมิได้มี

ขยายความ :

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ขยายความไว้ดังนี้ –

…………..

วักกลิ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรพราหมณ์ชาวพระนครสาวัตถี เรียนจบไตรเพทตามลัทธิพราหมณ์ บวชในพระพุทธศาสนา ด้วยความอยากเห็นพระรูปพระโฉมของพระศาสดา ครั้นบวชแล้วก็คอยติดตามดูพระองค์ตลอดเวลาจนไม่เป็นอันเจริญภาวนา พระพุทธเจ้าทรงรอเวลาให้ญาณของเธอสุกงอม ครั้นแล้วก็ตรัสเตือนเธอว่า “จะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา” ดังนี้เป็นต้น และทรงสอนต่อไปด้วยอุบายวิธีจนในที่สุดพระวักกลิก็ได้สำเร็จพระอรหัต และต่อมาได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาศรัทธาธิมุต คือ ผู้มีศรัทธาสนิทแน่ว

…………..

พระพุทธพจน์ที่ตรัสแก่พระวักกลิที่รู้จักกันดีและนิยมนำไปอ้างอิงกันอยู่เสมอ ประดุจ “วรรคทอง” ในประวัติของท่าน ต้นฉบับคำบาลีเต็มๆ มีดังนี้ –

…………..

อลํ  วกฺกลิ  

อย่าเลย วักกลิ (อย่าตามดูเราอยู่เลย)

กึ  เต  อิมินา  ปูติกาเยน  ทิฏฺเฐน  ฯ

จะมีประโยชน์อะไรที่ได้เห็นกายเปื่อยเน่านี้

โย  โข  วกฺกลิ  ธมฺมํ  ปสฺสติ  โส   มํ  ปสฺสติ 

วักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา

โย  มํ  ปสฺสติ  โส  ธมฺมํ  ปสฺสติ  ฯ

ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม

ธมฺมํ  หิ  วกฺกลิ  ปสฺสนฺโต  มํ  ปสฺสติ  

เป็นความจริง วักกลิ ผู้เห็นธรรมก็ย่อมเห็นเรา

มํ  ปสฺสนฺโต  ธมฺมํ  ปสฺสติ  ฯ

ผู้เห็นเราก็ย่อมเห็นธรรม  

ที่มา: วักกลิสูตร สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกเล่ม 17 ข้อ 216

…………..

ดูก่อนภราดา!

: พระธรรมมีอยู่ให้เห็นได้ตลอด

: แต่บางคนตาบอดมองไม่เห็นพระธรรม

#บาลีวันละคำ (4,123)

26-9-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *