บาลีวันละคำ

พยัคฆ์ (บาลีวันละคำ 4,152)

พยัคฆ์

น่าจะเป็นหญ้าปากคอกอีกคำหนึ่ง

อ่านว่า พะ-ยัก

พยัคฆ์” บาลีเป็น “พฺยคฺฆ” อ่านว่า เพียก-คะ รากศัพท์มาจาก –

(1) วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ฆา (ธาตุ = ดมกลิ่น) + (อะ) ปัจจัย, แปลง อิ ที่ วิ เป็น แล้วแปลง วฺ เป็น พฺ (วิ > วฺย > พฺย), ซ้อน คฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (วิ + อา + คฺ + ฆา), รัสสะ อา เป็น อะ, ลบสระหน้า คือ อา ที่ ฆา (ฆา > )

: วิ > วฺย > พฺย + อา = พฺยา + คฺ + ฆา = พฺยาคฺฆา > พฺยาคฺฆ + = พฺยาคฺฆ > พฺยคฺฆ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ฆ่าแล้วดม” (เล็งถึงลักษณะนิสัยของสัตว์ชนิดนี้)

(2) วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ฆสฺ (ธาตุ = กิน) + กฺวิ ปัจจัย, แปลง อิ ที่ วิ เป็น แล้วแปลง วฺ เป็น พฺ (วิ > วฺย > พฺย), ซ้อน คฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (วิ + อา + คฺ + ฆสฺ), รัสสะ อา เป็น อะ, ลบ สฺ ที่สุดธาตุและ กฺวิ

: วิ > วฺย > พฺย + อา = พฺยา + คฺ + ฆสฺ = พฺยาคฺฆสฺ > พฺยาคฺฆสฺ + กฺวิ = พฺยาคฺฆสกฺวิ > พฺยคฺฆสกฺวิ > พฺยคฺฆส > พฺยคฺฆ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังสัตว์นั้นๆ ให้ถึงความวิบัติแล้วกิน” 

พฺยคฺฆ” (ปุงลิงค์) หมายถึง เสือ, เสือโคร่ง (a tiger) 

พฺยคฺฆ” ในบาลีมีอีกรูปหนึ่ง คือ “วฺยคฺฆ” รากศัพท์เดียวกัน ต่างกันที่ กับ  

บาลีสันสกฤตที่เอามาใช้ในภาษาไทย แปลง เป็น พบได้ทั่วไป เช่น –

วิกล = พิกล

วิการ = พิการ

วิธิ = พิธี

วิเสส = พิเศษ

วฺยคฺฆ” ถ้าแปลง เป็น ก็เป็น “พฺยคฺฆ

ถ้าไม่แปลง เป็น ก็คงเป็น “วฺยคฺฆ

ในคัมภีร์บาลี มีทั้ง “วฺยคฺฆ” และ “พฺยคฺฆ” 

บาลี “วฺยคฺฆ” และ “พฺยคฺฆ” สันสกฤตเป็น “วฺยาฆร” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน เก็บคำว่า “วฺยาฆร” ไว้ 2 คำ บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) วฺยาฆร : (คำนาม) ‘วยาฆร์,’ เสือ; a tiger.

(2) วฺยาฆฺร : (คำวิเศษณ์) ‘วยาฆร์,’ วิศิษฏ์, ดียิ่ง; pre-eminent, best.

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “พยัคฆ์” “วยัคฆ์” “พยาฆร์” และ “วยาฆร์” บอกไว้ดังนี้ –

(1) พยัคฆ-, พยัคฆ์ : (คำนาม) เสือโคร่ง. (ป. พฺยคฺฆ, วฺยคฺฆ; ส. วฺยาฆฺร).

(2) วยัคฆ์ : (คำนาม) เสือ. (ป. วฺยคฺฆ, พฺยคฺฆ; ส. วฺยาฆฺร).

(3) พยาฆร์ : (คำนาม) พยัคฆ์. (ส. วฺยาฆฺร; ป. พฺยคฺฆ).

(4) วยาฆร์ : (คำนาม) เสือ. (ส. วฺยาฆฺร; ป. วฺยคฺฆ, พฺยคฺฆ).

…………..

พยัคฆ์ = เสือโคร่ง มีธรรมชาติและลักษณะนิสัยอย่างไร พึงศึกษาหาความรู้กันต่อไปเทอญ

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถึงจะร้ายเพียงไร

: เสือก็ไม่ทำร้ายลูกเมียมัน

#บาลีวันละคำ (4,152)

25-10-66

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *