บาลีวันละคำ

ไม่เจ็บไม่จน (บาลีวันละคำ 4,153)

ไม่เจ็บไม่จน

พูดเป็นบาลีว่าอย่างไร

ไม่เจ็บไม่จน” เป็นคำที่พระสมัยนี้นิยมให้พรแก่ญาติโยม โยมฟังแล้วก็ชอบ เพราะถูกกับจริตของคนทั่วไป

(๑) “ไม่เจ็บ” 

คำบาลีที่เป็นสามัญคือ “อโรค” อ่านว่า อะ-โร-คะ ประกอบด้วย + โรค

(ก) “” อ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(ข) “โรค” บาลีอ่านว่า โร-คะ รากศัพท์มาจาก รุชฺ (ธาตุ = เสียดแทง, ทำลาย) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ รุ-(ชฺ) เป็น โอ (รุชฺ > โรช), แปลง ชฺ เป็น  

: รุชฺ + = รุชณ > รุช > โรช > โรค แปลตามศัพท์ว่า (1) “อาการที่เสียดแทง” (2) “อาการที่ทำลายอวัยวะน้อยใหญ่” หมายถึง ความเจ็บป่วย, ความไข้ (illness, disease)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โรค, โรค– : (คำนาม) ภาวะที่ร่างกายทํางานได้ไม่เป็นปรกติเนื่องจากเชื้อโรคเป็นต้น. (ป., ส.).”

+ โรค แปลง เป็น – ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – 

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “โรค” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ – = โร– จึงต้องแปลง เป็น

+ โรค = นโรค > อโรค แปลตามศัพท์ว่า “ไม่มีโรค” > ไม่เจ็บป่วย > ไม่เจ็บ

(๒) “ไม่จน” 

คำบาลีที่ตรงกับคำนี้คือ “อทลิทฺท” อ่านว่า อะ-ทะ-ลิด-ทะ ประกอบด้วย + ทลิทฺท

(ก) “” อ่านว่า นะ เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

(ข) “ทลิทฺท” อ่านว่า ทะ-ลิด-ทะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ทลิทฺทฺ (ธาตุ = ลำบาก) + (อะ) ปัจจัย

: ทลิทฺทฺ + = ทลิทฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ลำบาก” 

(2) ทลฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + อิทฺท ปัจจัย

: ทลฺ + อิทฺท = ทลิทฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ถึงความตกยาก” 

ทลิทฺท” ในบาลี: 

1 ใช้เป็นคำนาม (ปุงลิงค์) หมายถึง คนจรจัด, คนตกยาก, คนขอทาน (a vagabond, beggar)

2 ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง จรจัด, เดินเล่น, จน, ขัดสน, สมเพช (vagrant, strolling, poor, needy, wretched)

บาลี “ทลิทฺท” สันสกฤตเป็น “ทริทฺร” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

ทริทฺร : (คำวิเศษณ์) อนาถา, ยากจน, เข็ญใจ, ตกทุกข์; poor, indigent, needy, distressed.”

บาลี “ทลิทฺท” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ทลิท” (ทะ-ลิด) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า – 

ทลิท : (คำแบบ) (คำวิเศษณ์) ยากจน, เข็ญใจ, เช่น พราหมณพฤฒาเฒ่าทลิทยากยิ่งยาจก (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ทลิทฺท; ส. ทริทฺร).”

+ ทลิทฺท แปลง เป็น – ตามกฎการประสมของ + (ดูข้างต้น)

ในที่นี้ “ทลิทฺท” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ คือ – จึงต้องแปลง เป็น

+ ทลิทฺท = นทลิทฺท > อทลิทฺท แปลตามศัพท์ว่า “ไม่ใช้ผู้ยากจน” “ไม่ใช่คนเข็ญใจ” > ไม่จน

ขยายความ :

อโรค” และ “อทลิทฺท” = ไม่เจ็บไม่จน:

ให้พรแก่ผู้ชายคนเดียว พูดควบกันเป็น “อโรโค โหหิ อทลิทฺโท” (อะโรโค โหหิ อะทะลิทโท)

ให้พรแก่ผู้หญิงคนเดียว พูดควบกันเป็น “อโรคา โหหิ อทลิทฺทา” (อะโรคา โหหิ อะทะลิททา)

ให้พรแก่ญาติโยมหลายคน (ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป) พูดควบกันเป็น “อโรคา โหถ อทลิทฺทา” (อะโรคา โหถะ อะทะลิททา)

แถม :

พรเป็น “ผล” หลักการให้พรในพระพุทธศาสนาจึงนิยมอ้างการประพฤติธรรมอันเป็น “เหตุ” กำกับไว้ด้วยเสมอ ไม่ใช่ขอให้ผู้ศักดิ์สิทธิ์บันดาล หรือได้พรขึ้นมาลอยๆ

ตัวอย่างที่ดีที่สุดในการให้พรดังกล่าวนี้ก็คือ บทจตุรพิธพร อันเป็นบทให้พรที่ชาวพุทธคุ้นกันดี

…………..

อภิวาทนสีลิสฺส

นิจฺจํ วุฑฺฒาปจายิโน 

จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ

อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ.

บุคคลผู้มีปรกติไหว้กราบ

มีปรกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์

ธรรมสี่ประการย่อมเจริญ 

คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ

ที่มา: สหัสสวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 18

…………..

เราจะได้ยินพุทธภาษิตบทนี้เสมอเวลาพระท่านอนุโมทนา แต่ส่วนมากเราฟังกันด้วยความเข้าใจว่า แค่ได้ฟังก็ได้บุญ คือสำเร็จผลเป็นอายุ วรรณะ สุขะ พละ เรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องไปทำอะไรอีก

ความจริงไม่ใช่เช่นนั้น เราต้องไปทำ “เหตุ” เสียก่อน “ผล” จึงจะเกิด

ในพุทธภาษิตท่านแสดง “เหตุ” ไว้ว่า –

๑ มีปรกติไหว้กราบ 

๒ มีปรกติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่เป็นนิตย์

ทำอย่างนี้จึงจะได้ “ผล” คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ

ผลคืออายุ วรรณะ สุขะ พละ ไม่ใช่สำเร็จได้เพียงเพราะพระท่านให้พร

ตัวเราผู้ต้องการพรเช่นนั้นต้องปฏิบัติ “เหตุ” ด้วย

…………..

อะไรคือเหตุที่จะ “ไม่เจ็บไม่จน” ทั้งผู้ให้พรและผู้รับพรพึงศึกษาและปฏิบัติเข้าเถิด

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไม่ต้องจบประโยคเก้า

: ให้พรทุกค่ำเช้า ก็พูดเป็นภาษาบาลีได้

#บาลีวันละคำ (4,153)

26-10-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *