บาลีวันละคำ

สัมปรายิกภพ (บาลีวันละคำ 4,156)

สัมปรายิกภพ

คู่แฝดของ “สัมปรายภพ

อ่านว่า สำ-ปะ-รา-ยิ-กะ-พบ

แยกศัพท์เป็น สัมปรายิก + ภพ

(๑) “สัมปรายิก” 

เขียนแบบบาลีเป็น “สมฺปรายิก” อ่านว่า สำ-ปะ-รา-ยิ-กะ ประกอบด้วย สมฺปราย + อิก ปัจจัย

(ก) “สมฺปราย” อ่านว่า สำ-ปะ-รา-ยะ รากศัพท์มาจาก สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ปร (เบื้องหน้า, ข้างหน้า, อื่นอีก) + อิ (แผลงเป็น อยฺ) หรือ อยฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + (อะ) ปัจจัย, แปลงนิคหิตที่ สํ เป็น , ทีฆะ อะ ที่ -(ยฺ) เป็น อา (อย > อาย)

: สํ + ปร + อิ > อยฺ = สํปรยฺ + = สํปรย > สมฺปรย > สมฺปราย แปลตามศัพท์ว่า “-อันบุคคลพึงถึงพร้อมในเบื้องหน้า (ตามอำนาจของกรรม)” หรือ “-เป็นที่ไปในเบื้องหน้า” หมายถึง ปรโลก, โลกหน้า (future state, the next world)

(ข) สมฺปราย + อิก = สมฺปรายิก (สำ-ปะ-รา-ยิ-กะ) แปลว่า “-อันมีในเบื้องหน้า” หมายถึง เป็นของโลกหน้า (belonging to the next world) คือมีอยู่ในโลกหน้าหรือภพหน้า

สมฺปรายิก” เขียนแบบไทยเป็น “สัมปรายิก” แต่ในภาษาไทยไม่มีคำที่ใช้เดี่ยวๆ แบบนี้ 

(๒) “ภพ” 

บาลีเป็น “ภว” อ่านว่า พะ-วะ รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู ที่ ภู เป็น โอ แล้วแปลง โอ เป็น อว (ภู > โภ > ภว

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภว (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภาวะที่เจริญ” (2) “เหตุเป็นเครื่องเจริญแห่งเหล่าสัตว์” (3) “ที่เป็นที่เกิดขึ้น” (4) “เหตุที่ทำให้มีการเกิดขึ้น” หมายถึง ความเกิดใหม่, ภพ, รูปกำเนิด, ความมี, ชีวิต (becoming, form of rebirth, state of existence, a life)

บาลี “ภว” ในภาษาไทย แผลง เป็น จึงเป็น “ภพ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภพ : (คำนาม) โลก, แผ่นดิน; วัฏสงสาร. (ป. ภว).”

สมฺปรายิก + ภว = สมฺปรายิกภว (สำ-ปะ-รา-ยิ-กะ-พะ-วะ) แปลตามศัพท์ว่า “ภพอันมีในเบื้องหน้า” หมายถึง โลกหน้า (belonging to the next world)

สมฺปรายิกภว” ใช้ในภาษาไทยเป็น “สัมปรายิกภพ” อ่านว่า สำ-ปะ-รา-ยิ-กะ-พบ

ขยายความ :

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำที่มาจาก “สัมปราย” ไว้ 2 คำ คือ “สัมปรายภพ” และ “สัมปรายิกภพ” บอกไว้ว่า –

สัมปรายภพ, สัมปรายิกภพ : (คำนาม) ภพหน้า. (ป., ส.).”

ข้อสังเกต

สัมปรายภพ” อ่านว่า สำ-ปะ-รา-ยะ-พบ

สัมปรายิกภพ” อ่านว่า สำ-ปะ-รา-ยิ-กะ-พบ

เฉพาะคำ “สัมปราย-” มักมีผู้อ่านหรือพูดเป็น สำ-ปฺราย คือออกเสียง “-ปราย” เหมือนคำไทยว่า ประปราย หรือ โปรยปราย และคำว่า “สัมปรายภพ” ก็ออกเสียงว่า สำ-ปฺราย-พบ (ไม่มี -ยะ-) ซึ่งเป็นการออกเสียงผิด อันเนื่องมาจากไม่เข้าใจการออกเสียงคำที่มาจากบาลีสันสกฤต (และที่ไม่เข้าใจก็เพราะขาดการศึกษาสังเกตสำเหนียก!)

จึงขอย้ำว่า –

สัมปราย-” อ่านว่า สำ-ปะ-ราย ไม่ใช่ สำ-ปฺราย

สัมปรายภพ” อ่านว่า สำ-ปะ-รา-ยะ-พบ ไม่ใช่ สำ-ปฺราย-พบ

ในภาษาไทย เราคุ้นกับคำว่า “สัมปรายภพ” มากกว่า “สัมปรายิกภพ

เวลาพูดแสดงความปรารถนาดีถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว เรามักพูดว่า “ขอจงไปสู่สุคติในสัมปรายภพ” แทบไม่มีใครพูดว่า “ขอจงไปสู่สุคติในสัมปรายิกภพ

สัมปรายิกภพ” กับ “สัมปรายภพ” เป็นเสมือนคำคู่แฝด รู้จักคำหนึ่ง ก็ควรรู้จักอีกคำหนึ่งด้วย

แถม :

เวลาพระที่นับถือกันว่าเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบถึงแก่มรณภาพ จะมีท่านจำพวกหนึ่งแสดงความปรารถนาดีด้วยการพูดว่า “ขอให้ท่านไปสู่นิพพานในสัมปรายภพเทอญ

การพูดเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่?

นิพพานในสัมปรายภพ” ที่พูดนี้ ผู้พูดเข้าใจว่าคืออะไร? คือ ภพหน้าหรือโลกหน้าชนิดหนึ่งที่มีไว้รองรับผู้บรรลุนิพพานให้ไปเกิด ใช่หรือไม่?

ถ้าเป็นเช่นนี้ นิพพานในพระพุทธศาสนาก็ไม่ใช่การตัดเสียได้ซึ่งสังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายไม่จบสิ้น (destruction of the cycle of rebirths) ทั้งนี้เพราะแม้บรรลุนิพพานแล้วก็ยังต้องไปเกิดในสัมปรายภพอีก แบบนั้นคือนิพพานที่พระพุทธองค์ทรงเห็นแจ้งและบรรลุแล้วกระนั้นหรือ?

…………..

ดูก่อนภราดา!

: นิพพานเพี้ยน

: เพราะไม่เรียน-แต่พูดกันเพลิน

#บาลีวันละคำ (4,156)

29-10-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *