บาลีวันละคำ

ราชบัณฑิตยสภา (บาลีวันละคำ 4,162)

ราชบัณฑิตยสภา

สถานที่ค้นคว้า วิจัย และบำรุงสรรพวิชา

อ่านว่า ราด-ชะ-บัน-ดิด-ตะ-ยะ-สะ-พา

แยกศัพท์เป็น ราช + บัณฑิตย + สภา

(๑) “ราช” 

บาลีอ่านว่า รา-ชะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย

: ราชฺ + = ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก” หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + ปัจจัย, ลบ ลบ ญฺ แผลง เป็น รา 

: รญฺชฺ + = รญฺชณ > รญฺช > รช > ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี” หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ

ท่านพุทธทาสภิกขุให้คำจำกัดความ “ราช” หรือ “ราชา” ว่าคือ “ผู้ที่ทำให้ประชาชนร้องออกมาว่า พอใจ พอใจ

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน ใช้นำหน้าคำให้มีความหมายว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน, เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นของหลวง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราช ๑, ราช– : (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้าคําเดียวมักใช้ว่า ราชา.”

(๒) “บัณฑิตย

เป็นรูปคำอิงสันสกฤต บาลีเป็น “ปณฺฑิจฺจ” อ่านว่า ปัน-ดิด-จะ รากศัพท์มาจาก ปณฺฑิต + ณฺย ปัจจัย

(ก) “ปณฺฑิต” อ่านว่า ปัน-ดิ-ตะ มีรากศัพท์มาได้หลายทาง เช่น :

(1) ปณฺฑา ( = ปัญญา) + อิต ( = ไป, ดำเนินไป, เกิดขึ้นพร้อม) ลบสระที่ ปณฺฑา (ปณฺฑา > ปณฺฑ

: ปณฺฑา > ปณฺฑ + อิต = ปณฺฑิต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา” “ผู้มีปัญญาเกิดพร้อมแล้ว

(2) ปฑิ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุ (ปฑิ > ปํฑิ) แล้วแปลงเป็น (ปํฑิ > ปณฺฑิ)

: ปฑิ > ปํฑิ > ปณฺฑิ + = ปณฺฑิต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ดำเนินไปสู่ความเป็นผู้ฉลาด” 

(3) ปณฺฑฺ (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย, ลง อิ อาคมระหว่างธาตุกับปัจจัย (ปณฺฑฺ + อิ + )

: ปณฺฑฺ + อิ = ปณฺฑิ + = ปณฺฑิต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รู้จักประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

ความหมายของ “ปณฺฑิต” ในบาลีคือ สุขุม, ไตร่ตรอง, รอบรู้, ฉลาด, รู้ทัน, จัดเจน, หลักแหลม, รอบคอบ, ระมัดระวัง, ถี่ถ้วน, ชำนิชำนาญ, ช่ำชอง, ว่องไว, คล่องแคล่ว, มีความสามารถ, มีไหวพริบ, รู้จักคิด, รู้จักเหตุผล = รู้จักผิดชอบชั่วดีควรไม่ควร 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปณฺฑิต” เป็นอังกฤษว่า wise, clever, skilled, circumspect, intelligent.

ปณฺฑิต” ในภาษาไทยใช้ว่า “บัณฑิต” (บัน-ดิด)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บัณฑิต : (คำนาม) ผู้ทรงความรู้, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ผู้สําเร็จการศึกษาขั้นปริญญาซึ่งมี ๓ ขั้น คือ ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก เรียกว่า บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต, ผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดยกําเนิด เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี. (ป., ส. ปณฺฑิต).”

(ข) ปณฺฑิต + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, แปลง กับ เป็น จฺจ 

: ปณฺฑิต + ณฺย = ปณฺฑิตณฺย > ปณฺฑิตฺย > ปณฺฑิจฺจ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งบัณฑิต” หมายถึง ความรอบรู้, ความฉลาด, ความสันทัด, ปัญญา (erudition, cleverness, skill, wisdom)

บาลี “ปณฺฑิจฺจ” สันสกฤตเป็น “ปาณฺฑิตฺย” เราใช้อิงสันสกฤตเป็น “บัณฑิตย” (โปรดสังเกตว่า กระบวนการกลายคำ บาลีเป็น “ปณฺฑิตฺย” ก่อน แล้วจึงเป็น “ปณฺฑิจฺจ”) 

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บัณฑิตย์ : (คำนาม) ความรอบรู้, การเรียน, ความเป็นบัณฑิต. (ส. ปาณฺฑิตฺย; ป. ปณฺฑิจฺจ).”

ความแตกต่าง :

บัณฑิต” = ตัวบุคคลผู้เป็นบัณฑิต > ผู้รอบรู้

บัณฑิตย” = ความเป็นบัณฑิต > ความรอบรู้

(๓) “สภา” 

อ่านว่า สะ-พา รากศัพท์มาจาก –

(1) สนฺต (คนดี) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง) + กฺวิ ปัจจัย แปลง สนฺต เป็น , ลบ กฺวิ

: สนฺต > + ภา = สภา + กฺวิ = สภากฺวิ > สภา แปลตามศัพท์ว่า “ที่อันรุ่งเรืองด้วยคนดี

(2) สํ (คำอุปสรรค = พร้อมกัน, ร่วมกัน) + ภาสฺ (ธาตุ = พูด, กล่าว) + กฺวิ ปัจจัย, ลบนิคหิตที่ สํ (สํ > ), ลบ ที่สุดธาตุ (ภาสฺ > ภา) และลบ กฺวิ

: สํ > + ภาสฺ = สภาสฺ + กฺวิ = สภาสกฺวิ > สภาส > สภา แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่มาประชุมกันพูด

(3) สห (คำอุปสรรค = ร่วมกัน) + ภา (ธาตุ = พูด, กล่าว) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ ที่ สห (สห > ) และลบ กฺวิ

: สห > + ภา = สภา + กฺวิ = สภากฺวิ > สภา แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่พูดร่วมกัน

ตามความหมายเหล่านี้ “สภา” จึงเป็นเครื่องหมายของสังคมประชาธิปไตย คือ คนดีๆ มาปรึกษาหารือกันก่อนแล้วจึงลงมือทำกิจการต่างๆ ของบ้านเมือง

สภา” (อิตถีลิงค์) ทั้งบาลี สันสกฤต และภาษาไทยใช้รูปเดียวกัน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า

สภา : (คำนาม) องค์การหรือสถานที่ประชุม เช่น สภาผู้แทนราษฎร สภาสตรีแห่งชาติ สภามหาวิทยาลัย วุฒิสภา. (ป., ส.).”

ในภาษาบาลี “สภา” หมายถึง “สถานที่” แต่ในภาษาไทยนอกจากหมายถึงสถานที่แล้ว ยังหมายถึง “องค์การ” (หรือองค์กร) คือศูนย์รวมกลุ่มบุคคลหรือกิจการที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยงาน เช่น

– สภาผู้แทนราษฎร

– สภาสตรีแห่งชาติ

– สภามหาวิทยาลัย

– วุฒิสภา

สภา” ในความหมายนี้เล็งถึงความเป็น “หน่วยงาน” ไม่ได้เล็งถึง “สถานที่” หมายความว่า “สภา” ดังกล่าวนี้จะมีสถานที่ตั้งอยู่ที่ไหน หรือแม้แต่จะไม่มีสถานที่ตั้ง ก็มีฐานะเป็น “สภา” อยู่ในตัวแล้ว

การประสมคำ :

ราช + บัณฑิต = ราชบัณฑิต แปลว่า “บัณฑิตของพระราชา

ราชบัณฑิต > ราชบัณฑิตย แปลว่า “ความเป็นบัณฑิตของพระราชา” > ความเป็นราชบัณฑิต

ราชบัณฑิตย + สภา = ราชบัณฑิตยสภา แปลว่า “สภาแห่งผู้มีความเป็นบัณฑิตของพระราชา” ถือเอาความว่า “แหล่งชุมนุมของผู้มีความรู้อันเป็นหลักของบ้านเมือง

ขยายความ :

ราชบัณฑิตยสภา” เป็นหน่วยงานที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ 19 เมษายน พ.ศ.2469 ชื่อเมื่อแรกสถาปนาว่า “ราชบัณฑิตยสภา” ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2476 เปลี่ยนชื่อเป็น “ราชบัณฑิตยสถาน” และได้เปลี่ยนชื่อกลับไปเป็น “ราชบัณฑิตยสภา” ตั้งแต่ พ.ศ.2558 เป็นต้นมา

หน่วยงานบริหารของราชบัณฑิตยสภา เรียกว่า “สำนักงานราชบัณฑิตยสภา” มีการแบ่งงานทางวิชาการออกเป็น 3 สำนัก คือ –

(1) สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง

(2) สำนักวิทยาศาสตร์

(3) สำนักศิลปกรรม

ตามพระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.2558 กำหนดสถานภาพและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาไว้ดังนี้ –

…………..

มาตรา ๖ ให้ราชบัณฑิตยสภาเป็นสถานที่บำรุงสรรพวิชา ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้น มีวัตถุประสงค์ที่จะค้นคว้า และวิจัยเพื่อเผยแพร่ ส่งเสริม แลกเปลี่ยนความรู้ พัฒนา อนุรักษ์ และให้บริการทางวิชาการให้เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศและประชาชน

มาตรา ๗ ให้สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเป็นส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

มาตรา ๘ ให้สำนักงานราชบัณฑิตยสภามีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ค้นคว้า วิจัย และบำรุงสรรพวิชา แล้วนำผลงานที่ได้สร้างสรรค์ออกเผยแพร่ให้เป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศและประชาชน

(๒) ติดต่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสานงานทางวิชาการกับองค์การปราชญ์และสถาบันทางวิชาการอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

(๓) ให้ความเห็น คำแนะนำ และคำปรึกษาทางวิชาการแก่นายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี

(๔) จัดการศึกษาอบรมและพัฒนาทางวิชาการเกี่ยวกับภาษาไทย ภาษาไทยถิ่น และสาขาวิชาตามมาตรา ๑๐ และให้ประกาศนียบัตรชั้นสูง ประกาศนียบัตร สัมฤทธิบัตร และวุฒิบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาอบรมและพัฒนาทางวิชาการ ทั้งนี้ ตามข้อบังคับราชบัณฑิตยสภา

(๕) ให้บริการทางวิชาการแก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ สถาบันการศึกษา หน่วยงานของเอกชน และประชาชน

(๖) ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม อนุกรมวิธาน การบัญญัติศัพท์วิชาการสาขาต่าง ๆ รวมทั้งการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิชาการภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยและงานวิชาการอื่น ๆ

(๗) กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย การอนุรักษ์ภาษาไทย มิให้แปรเปลี่ยนไปในทางที่เสื่อม การส่งเสริมภาษาไทยซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติให้ปรากฏเด่นชัดยิ่งขึ้น

(๘) ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการแปลสรรพวิชาจากภาษาอื่นเป็นภาษาไทยหรือจากภาษาไทยเป็นภาษาอื่น

(๙) จัดสวัสดิการ การสงเคราะห์และสิทธิประโยชน์อื่นแก่สมาชิกราชบัณฑิตยสภา ทั้งนี้ ตามระเบียบราชบัณฑิตยสภา

(๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

…………..

สมาชิกของราชบัณฑิตยสภามี 3 ประเภท คือ –

(1) ภาคีสมาชิก

(2) ราชบัณฑิต

(3) ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

…………..

หวังว่า บาลีวันละคำคำนี้ คงช่วยให้ท่านทั้งหลาย (1) รู้จัก “ราชบัณฑิตยสภา” (2) ที่พอรู้อยู่บ้างจะได้รู้จักดียิ่งขึ้น

แถม :

พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.๒๕๕๘ (เปิดอ่าน)

http://web.krisdika.go.th/lawHeadContent.jsp?fromPage=lawHeadContent&formatFile=htm&hID=0

พระราชบัญญัติราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.๒๕๕๘ (ดาวน์โหลดไฟล์ pdf)

http://web.krisdika.go.th/lawHeadPDF.jsp?formatFile=pdf&hID=0

…………..

อาจารย์วิษณุ เครืองาม ซึ่งเป็นราชบัณฑิตสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ได้เสนอความคิดในที่ประชุมสำนักธรรมศาสตร์และการเมืองเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ว่า ทุกวันนี้คนทั่วไปแทบจะไม่รู้จัก “ราชบัณฑิตยสภา” ที่รู้ผิดพลาดและเข้าใจคลาดเคลื่อนก็มีอยู่มาก จึงสมควรที่สมาชิกของราชบัณฑิตยสภาจะช่วยกันเผยแพร่งานและกิจกรรมของราชบัณฑิตยสภาให้ประชาชนรู้จักแพร่หลายยิ่งขึ้น 

วิธีหนึ่งที่อาจารย์วิษณุ เครืองาม เสนอแนะก็คือ ผู้ที่เป็นสมาชิกของราชบัณฑิตยสภาทั้ง 3 ประเภท คือ ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สมควรระบุสถานะของสมาชิกไว้ท้ายชื่อทุกโอกาสที่แสดงตน ทั้งนี้ มิใช่เพื่อจะโอ้อวด แต่เพื่อประกาศนาม “ราชบัณฑิตยสภา” ให้สังคมรู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น-ผู้เขียนบาลีวันละคำนี้เอง เมื่อแสดงตัวย่อมสมควรที่จะระบุลงไปว่า –

                       พลเรือตรี ทองย้อย แสงสินชัย

                        ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสภา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ของเราดีมีอยู่ไม่รู้จัก

: ไปหลงรักของใครที่ไหนหนอ

: เราไม่รักพวกเราร่วมเหล่ากอ

: จะหวังรอใครรู้จักมารักเรา

#บาลีวันละคำ (4,162)

4-11-66 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *