บาลีวันละคำ

สกทาคามี (บาลีวันละคำ 772)

สกทาคามี

ไทยและบาลีเขียนเหมือนกัน อ่านว่า สะ-กะ-ทา-คา-มี

คำนี้เป็น “สกิทาคามี” ก็มี (คำหนึ่งเป็น สกทา– คำหนึ่งเป็น สกิทา-)

สกทาคามี หรือ สกิทาคามี รากศัพท์มาจาก สกิ (สะ-กิ) (= ครั้งเดียว) + อา (คำอุปสรรค) + คมฺ (ธาตุ = ไป) + ณี ปัจจัย, ลบ , ลง อาคม, ทีฆะต้นธาตุ : – > คา

: สกิ + = สกิท + อา = สกิทา + คมฺ = สกิทาคม > สกิทาคาม + ณี > อี = สกิทาคามี

ตามกฎไวยากรณ์ท่านว่า พฤทธิ์ (คือแผลง) อิ ที่ กิ เป็น ได้ : สกิ > สก ดังนั้น “สกิทาคามี” จึงเป็น “สกทาคามี” ได้ด้วย

อนึ่ง “อา-” (คำอุปสรรค ดูข้างต้น) มีอำนาจทำให้คำที่ตามหลังกลับความหมาย

ในที่นี้ คำที่ตามหลังคือ “คมฺ” (ธาตุ) แปลว่า “ไป” : อา + คม กลับความหมายกลายเป็น “มา

สกทาคามี (หรือ สกิทาคามี) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้จะหวนมาอีกครั้งเดียว” (สกิ = ครั้งเดียว, อาคามี = ผู้จะกลับมา) ความหมายเต็มๆ ว่า “ผู้จะมาสู่กามธาตุนี้อีกครั้งเดียว” หรือ “ผู้จะมาสู่มนุษยโลกนี้อีกครั้งเดียว

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สกทาคามี, สกิทาคามี : “ผู้มาสู่กามภพอีกครั้งหนึ่ง” เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นที่ ๒ ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียกสั้น ๆ ว่า พระสกทาคา หรือ พระสกิทาคา”

ในบรรดาพระอริยบุคคลทั้ง 4 ชั้น พระสกทาคามี หรือสกิทาคามี ดูจะคุ้นหูคนไทยน้อยกว่าเพื่อน

พระอริยบุคคลชั้นสกทาคามีก็คือพระโสดาบันซึ่งละสังโยชน์ได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส (ดูที่ : โสดาบัน) แล้วอบรมจิตให้ละเอียดประณีตสูงขึ้นจนสามารถทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง (พระโสดาบันยังมีราคะ โทสะ โมหะ ใกล้เคียงกับปุถุชน)

ความแตกต่าง :

– พระสกทาคามีจะเกิดอีกเพียงครั้งเดียวแน่นอน เพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลงมากแล้ว

– ส่วนพระโสดาบันจะเกิดอีกตั้งแต่ 1 ครั้ง จนถึง 7 ครั้งเป็นอย่างมาก เพราะยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ (มากน้อยต่างกันไปแต่ละบุคคล ถ้าน้อยก็อาจจะเกิดอีกครั้งเดียวเหมือนพระสกทาคามี แต่ถึงจะมีมากอย่างไรก็เกิดอีกไม่เกิน 7 ครั้ง)

ความดี : ทำเต็มๆ ตั้งพันตั้งร้อยก็ยังน้อยเกินไป

ความชั่ว : ทำครั้งเดียวเพียงถากๆ ก็ยังมากเกินไป

—————-

(ตามคำเสนอแนะของ เมธีวุฒินันทน์ ภาณุภัทรธนวัฒน์)

#บาลีวันละคำ (772)

29-6-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *