บาลีวันละคำ

ฉัททันต์ (บาลีวันละคำ 4,370)

ฉัททันต์

แปลกันว่า “ช้างหกงา”

อ่านว่า ฉัด-ทัน

แยกศัพท์ตามที่ตาเห็นเป็น ฉัท + ทันต์

(๑) “ฉัท” 

รูปคำเดิมเป็น “” ภาษาบาลีออกเสียงว่า ฉะ เป็นศัพท์จำพวกที่เรียกว่า “สังขยา” คือคำบอกจำนวน แปลว่า หก (จำนวน 6)

(๒) “ทันต์” 

เขียนแบบบาลีเป็น “ทนฺต” อ่านว่า ทัน-ตะ รากศัพท์มาจาก –

(1) ทา (ธาตุ = ตัด) + อนฺต ปัจจัย, “ลบสระหน้า” คือลบ อา ที่ ทา (ทา > )

: ทา + อนฺต = ทานฺต > ทนฺต แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องตัดอาหาร” 

(2) ทสฺ (ธาตุ = กิน) + อนฺต ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (ทสฺ > )

: ทสฺ + อนฺต = ทสนฺต > ทนฺต แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องกินอาหาร” 

(3) ทมฺ (ธาตุ = ข่ม) + ปัจจัย, แปลง มฺ ที่สุดธาตุเป็น นฺ (ทมฺ > ทนฺ)

: ทมฺ + = ทมนฺต > ทนฺต แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่ข่ม” (คือขบกัด)

ทนฺต” (ปุงลิงค์) หมายถึง ฟัน, งา, เขี้ยว, โดยเฉพาะอย่างยิ่งงาช้าง; งา (a tooth, a tusk, fang, esp. an elephant’s tusk; ivory)

บาลี “ทนฺต” สันสกฤตก็เป็น “ทนฺต” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ 

ทนฺต : (คำนาม) ‘ทันต์,’ ฟัน; ยอดบรรพต; ข้างหรือสันบรรพต; บรรณศาลา, ซุ้มลดา; งา, งาหรือกรามช้าง; a tooth; the peak of a mountain; the side or ridge of a mountain; an arbour; ivory, an elephant’s tusk or tooth.”

บาลี “ทนฺต” ในภาษาไทยใช้เป็น “ทันต-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “ทันต์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

ทันต-, ทันต์ ๑ : (คำแบบ) (คำนาม) ฟัน, งาช้าง เช่น เอกทันต์. (ป., ส.).”

+ ทนฺต ซ้อน ทฺ ระหว่างศัพท์ ( + ทฺ + ทนฺต) เนื่องจากศัพท์หลังมี เป็นอักษรนำ

: + ทฺ + ทนฺต = ฉทฺทนฺต (ฉัด-ทัน-ตะ) แปลว่า “มีหกงา” 

ฉทฺทนฺต” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ฉัททันต์” อ่านว่า ฉัด-ทัน

ขยายความ :

คำว่า “ฉัททันต์” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า – 

ฉัททันต์ : (คำแบบ) (คำนาม) ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก); ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ปรับแก้คำตั้งและคำนิยามใหม่ เป็นดังนี้ – 

ฉัททันต-, ฉัททันต์ : (คำนาม) ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ยังได้เก็บคำใหม่เพิ่มขึ้น คือคำว่า “ฉัททันตหัตถี” บอกไว้ดังนี้ –

ฉัททันตหัตถี : (คำนาม) ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี ๒. คังไคยหัตถี ๓. ปัณฑรหัตถี ๔. ตามพหัตถี ๕. ปิงคลหัตถี ๖. คันธหัตถี ๗. มงคลหัตถี ๘. เหมหัตถี ๙. อุโบสถหัตถี ๑๐. ฉัททันตหัตถี.”

แถม :

ฉัททันต์” ที่คนไทยคุ้นมากที่สุดน่าจะเป็นพญาช้างฉัททันต์อันมีเรื่องปรากฏใน “ฉัททันตชาดก” ติงสตินิบาต (บาลี: พระไตรปิฎกเล่ม 27 ข้อ 2327-2351. อรรถกถา: ชาตกัฏฐกถา ภาค 7 หน้า 229-260. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม เล่ม 61 หน้า 370-408)

…………..

https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2327

…………..

ดูก่อนภราดา!

: สัตว์ประพฤติธรรมในนิทานชาดก

: แม้ใครจะว่าเป็นเรื่องโกหกก็ยังประเสริฐกว่าคนที่ไม่ประพฤติธรรม

#บาลีวันละคำ (4,370)

30-5-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *