บาลีวันละคำ

หิมาจัลประเทศ (บาลีวันละคำ 4,386)

หิมาจัลประเทศ

ถึงอยู่ห่างต่างเขตก็ใช้เป็นสื่อหาความรู้บาลีได้

อ่านว่า หิ-มา-จัน-ปฺระ-เทด

หิมาจัลประเทศ” เป็นชื่อรัฐหนึ่งของอินเดีย ชื่อนี้สะกดเป็นอักษรโรมันว่า Himachal Pradesh (ภาษาฮินดี: हिमाचल प्रदेश) 

ถอดชื่อเป็นอักษรไทยว่า “หิมาจัลประเทศ” แยกศัพท์เป็น หิม + อจัล + ประเทศ

(๑) “หิม” 

บาลีอ่านว่า หิ-มะ รากศัพท์มาจาก หิ (ธาตุ = เบียดเบียน; เป็นไป; ตกไป) + อิม ปัจจัย 

: หิ + อิม = หิม (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งที่เบียดเบียนด้วยความเย็น” (2) “สิ่งที่เป็นไปตามปกติ” คือถึงเวลามีหิมะ หิมะก็มีตามปกติ จึงเรียกว่า “สิ่งที่เป็นไปตามปกติ” (3) “สิ่งที่ตกบนแผ่นดินและภูเขา

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “หิม” ว่า –

(1) cold, frosty (หนาว, มีน้ำค้างแข็ง)

(2) ice, snow (น้ำแข็ง, หิมะ)

หิม” ภาษาไทยใช้ทับศัพท์ว่า “หิมะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

หิม-, หิมะ : (คำนาม) ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่า ลักษณะฟูเป็นปุย ลอยลงมาจากท้องฟ้า; ความหนาว, ความเยือกเย็น; ฤดูหนาว. (ป., ส.).”

(๒) “อจัล” 

เขียนแบบบาลีเป็น “อจล” อ่านว่า อะ-จะ-ละ รากศัพท์มาจาก (ไม่, ไม่ใช่) + จลฺ (ธาตุ = สั่น, ไหว) + (อะ) ปัจจัย, แปลง เป็น

: > + จลฺ = อจลฺ + = อจล แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว” 

อจล” ในบาลี :

(1) ใช้เป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง ไม่หวั่นไหว, ไม่คลอนแคลน (steadfast, immovable) 

(2) ใช้เป็นคำนาม (ปุงลิงค์) หมายถึง ภูเขา (a mountain) 

(๓) “ประเทศ

บาลีเป็น “ปเทส” อ่านว่า ปะ-เท-สะ รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ทิส (ธาตุ = แสดง, ชี้แจง) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ทิ-(สฺ) เป็น เอ (ทิสฺ > เทส)

: + ทิสฺ = ปทิสฺ + = ปทิสณ > ปทิส > ปเทส แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนเป็นเหตุปรากฏแห่งหมู่” หมายถึง เครื่องแสดง, ที่ตั้ง, ขอบเขต, แถบ; แดน, จุด, สถานที่ (indication, location, range, district; region, spot, place)

บาลี “ปเทส” สันสกฤตเป็น “ปฺรเทศ” ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤตเป็น “ประเทศ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ประเทศ : (คำนาม) บ้านเมือง, แว่นแคว้น, ถิ่นที่อยู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส. ปฺรเทศ; ป. ปเทส).”

การประสมคำ :

อาจประสมได้ 2 นัยคือ –

(1) หิม + อจล = หิมาจล (หิ-มา-จะ-ละ) แปลว่า “ภูเขาที่มีหิมะ” = ภูเขาหิมะ 

(2) อจล + ปเทส = อจลปเทส > อจลประเทศ (อะ-จะ-ละ-ปฺระ-เทด) แปลว่า “ดินแดนที่มีภูเขา” = เมืองภูเขา 

เอานัยทั้งสองมารวมกันเป็น หิม + อจล + ปเทส = หิมาจลปเทส (หิ-มา-จะ-ละ-ปะ-เท-สะ) > หิมาจัลประเทศ แปลว่า “ดินแดนที่มีภูเขาหิมะ” = เมืองภูเขาหิมะ

ขยายความ :

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ที่คำว่า “รัฐหิมาจัลประเทศ” (อ่านเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2567 เวลา 20:30 น.) กล่าวถึง “หิมาจัลประเทศ” ไว้ดังนี้ 

…………..

รัฐหิมาจัลประเทศ

หิมาจัลประเทศ (ฮินดี: हिमाचल प्रदेश, ออกเสียง: [ɦɪˈmaːtʃəl pɾəˈdeːʃ] (ฟังเสียง); แปลว่า เขตแดนแห่งภูเขาที่มีหิมะปกคลุม) เป็นรัฐในประเทศอินเดียตอนบน ตั้งอยู่ในส่วนหนึ่งของหิมาลัยตะวันตก และเป็นหนึ่งในสิบเอ็ดรัฐหิมาลัยของอินเดีย มีภูมิประเทศสุดขั้วประกอบด้วยยอดเขาและระบบแม่น้ำมากมาย หิมาจัลประเทศมีพรมแดนติดต่อกับดินแดนสหภาพชัมมูและกัศมีร์และดินแดนสหภาพลาดักทางเหนือ, รัฐปัญจาบทางตะวันตก, รัฐหรยาณาทางตะวันตกเฉียงใต้ และรัฐอุตตราขัณฑ์และรัฐอุตตรประเทศทางใต้ รวมถึงมีพรมแดนติดต่อกับทิเบตซึ่งถูกจีนยึดครอง

…………..

หมายเหตุ: ข้อมูลของ “หิมาจัลประเทศ” ที่วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีแสดงไว้นี้น่าจะยังไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะชื่อเมืองต่าง ๆ คงต้องตรวจสอบการสะกดที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง

ขอแรงท่านผู้รักความรู้โปรดช่วยบูรณาการ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่ถูกต้องร่วมกันต่อไป

อนึ่ง ขณะนี้ มจร (มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) อันเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ได้จัดตั้ง “ศูนย์อินเดียศึกษา” อย่างเป็นทางการแล้ว ถ้าศูนย์อินเดียศึกษาของ มจร จะกรุณารับเป็นเจ้าภาพศึกษาเรื่อง “หิมาจัลประเทศ” เป็นงานปฐมฤกษ์ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใช้ภาษาเป็นสื่อบอกชื่อบ้าน

: ถึงต่างฐานต่างถิ่นแผ่นดินไหน

: พอรู้ชื่อรู้หน้าก็พาไป

: ให้รู้ใจรู้จักรู้รักกัน

#บาลีวันละคำ (4,386)

15-6-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *