บาลีวันละคำ

ภูริช (บาลีวันละคำ 4,245)

ภูริช

ปัญญาประดิษฐ์ตัวจริง

อ่านว่า พู-ริด

ภูริช” อ่านแบบบาลีว่า พู-ริ-ชะ รากศัพท์มาจาก ภูริ +  

(๑) “ภูริ” 

อ่านว่า พู-ริ รากศัพท์มาจาก – 

(1) ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ริ ปัจจัย

: ภู + ริ = ภูริ แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่มีอยู่เป็นอยู่” “สิ่งที่มีอยู่” “สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่” 

(2) ภู (แทนศัพท์ว่า “ภูต” = มีอยู่, เป็นอยู่) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + อิ ปัจจัย, ลบ มฺ ที่สุดธาตุ (รมฺ > )

: ภู + รมฺ = ภูรมฺ > ภูร + อิ = ภูริ แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมชาติที่ยินดีในประโยชน์ที่มีอยู่” 

ภูริ” (บาลีเป็น “ภูรี” อีกรูปหนึ่ง) (อิตถีลิงค์) ใช้ในความหมายดังนี้ – 

(1) (เป็นคำนาม) ความรู้, ความเข้าใจ, พุทธิปัญญา (knowledge, understanding, intelligence)

(2) (เป็นคำนาม) โลก, แผ่นดิน (the earth) 

(3) (เป็นคุณศัพท์) กว้าง, แผ่กว้าง, มากมาย, อุดม (wide, extensive, much, abundant)

บาลี “ภูริ” สันสกฤตก็เป็น “ภูริ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ภูริ : (คำวิเศษณ์) มาก; much, many;- (คำนาม) นามพระวิษณุ; พระพรหม; พระศิวะ; วัน; ทองครรม; a name of Vishṇu; Brahmā; Śiva; a day; gold.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “ภูริ” และ “ภูรี” ไว้หลายคำ บอกไว้ดังนี้ – 

(1) ภูริ ๑ : (คำวิเศษณ์) มาก. (ป., ส.).

(2) ภูริ ๒ : (คำนาม) แผ่นดิน. (ป.).

(3) ภูริ ๓, ภูรี : (คำนาม) ความฉลาด, ปัญญา. (ป.).

(๒) “

อ่านว่า ชะ รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ นฺ ที่สุดธาตุและ กวิ 

: ชนฺ + กฺวิ = ชนกฺวิ > ชน > แปลตามศัพท์ว่า “(สิ่งที่) เกิด–” 

ขยายความแทรก :

” คำเดียวแปลว่า “เกิด” โดยปกติแล้วจะไม่ใช้เดี่ยว ๆ คือจะมีแต่คำว่า “” ตัวเดียวไม่ได้ จะต้องมีคำอื่นอยู่ข้างหน้า หรือเป็นคำที่ใช้ต่อท้ายคำอื่น จึงจะแปลว่า “เกิด” ได้ เช่น –

อนุช” “อนุชา” แปลว่า “ผู้เกิดภายหลัง

วาริช” แปลว่า “สิ่งที่เกิดในน้ำ” “สิ่งที่เกิดจากน้ำ” หรือ “สิ่งที่เกิดเพราะน้ำ” แล้วแต่ว่าคำไหนจะมีความกลมกลืนดีกว่ากัน 

ภูริ + = ภูริช (พู-ริ-ชะ) แปลตามศัพท์ว่า (1) “เกิดจากแผ่นดิน” (2) “เกิดจากปัญญา

ภูริช” ใช้ในภาษาไทยรูปเหมือนบาลี แต่อ่านว่า พู-ริด

ภูริช” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

ขยายความ :

ภูริช” รูปคำงาม เสียงดี มีความหมายเด่น เหมาะที่จะเป็นชื่อคน เป็นชายก็ใช้ว่า “ภูริช” ตรงตัว เป็นหญิงก็แผลงเป็น “ภูริชา” อ่านว่า พู-ริ-ชา ขอฝากเป็นอภินันทนาการแก่นักตั้งชื่อทั้งปวง

ถ้ายังไม่มีใครคิดคำนี้ ก็ฝากให้เพิ่มไว้ในทำเนียบชื่ออีกคำหนึ่ง

ถ้ามีคนคิดขึ้นแล้ว ก็ฝากให้รู้จักคำแปลและความหมายที่ถูกต้อง

รับรองว่า ดีกว่าหลาย ๆ ชื่อที่เอาอักษรตัวนั้นตัวนี้มาประสมกันเอง แบบที่คนสมัยใหม่นิยมตั้งกัน อ่านก็ยาก เขียนก็ยาก เขียนตามคำบอกก็สะกดไม่ถูก เขียนได้อ่านถูกก็ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร

ภูริช” “ภูริชา” เขียนง่าย อ่านง่าย ความหมายดี – ผู้เกิดมาจากปัญญา หรือผู้มีปัญญาหนาแน่นดังแผ่นปฐพี

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มีปัญญาหนาแน่นเท่าแผ่นพิภพ

: เพราะรู้จบกระบวนจิตปิดอกุศล

: รู้อะไรในพิภพจบสกล

: ใจของตนไม่รู้จักก็ดักดาน

#บาลีวันละคำ (4,245)

26-1-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *