บาลีวันละคำ

จันทร จันทน จันเกลี้ยง (บาลีวันละคำ 4,309)

จันทร จันทน จันเกลี้ยง

ดวงจันทร์ แก่นจันทน์ ลูกจัน

มี “จัน” อยู่ในคำชุดนี้ 3 คำที่มักจะมีคนสะกดผิดพลาดคลาดเคลื่อน เช่น –

แก่นจันทน์ สะกดเป็น แก่นจันทร์

ลูกจัน สะกดเป็น ลูกจันทร์

ผู้เขียนบาลีวันละคำขอเสนอวิธีจำเพื่อไม่ให้สับสนดังนี้ –

ดวง-จันทร

แก่น-จันทน

ผล-จัน-เกลี้ยง

อ่านว่า 

ดวง-จัน-ทอน 

แก่น-จัน-ทน 

ผน-จัน-เกฺลี้ยง

คำที่ออกเสียงว่า “จัน” –

ถ้าหมายถึงดวงเดือนที่เห็นอยู่บนท้องฟ้า สะกดว่า “จันทร์” คือ จันทร

ถ้าหมายถึงไม้ชนิดหนึ่ง แก่นมีกลิ่นหอมมาก สะกดว่า “จันทน์” คือ จันทน

ถ้าหมายถึงผลไม้ชนิดหนึ่ง ลูกสุกสีเหลือง ผิวเกลี้ยง กลิ่นหอม สะกดว่า “จัน” เกลี้ยง ๆ แค่นี้ไม่มีอะไรตามหลัง

ถ้าอยากรู้รายละเอียดมากกว่านี้ ก็เปิดพจนานุกรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ – 

(1) จันทร-, จันทร์ : (คำนาม) ดวงเดือน, เรียกเทวดาองค์หนึ่งในนิยายว่า พระจันทร์, ในตำราโหราศาสตร์เป็นชื่อดาวพระเคราะห์ที่ ๒; ชื่อวันที่ ๒ ของสัปดาห์. (ส.).

(2) จันทน์ : (คำนาม) ชื่อพรรณไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ ดอก หรือผลหอม ใช้ทํายาและปรุงเครื่องหอม. (ป., ส.).

(3) จัน : (คำนาม) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Diospyros decandra Lour. ในวงศ์ Ebenaceae ผลสุกสีเหลือง หอม กินได้, ชนิดลูกกลมแป้นกลางบุ๋ม ไม่มีเมล็ด เรียก ลูกจันอิน, ชนิดลูกกลมรี มีเมล็ด เรียก ลูกจันโอ.

จันทร” กับ “จันทน” เป็นจันบาลี ส่วน “จัน” เกลี้ยง ๆ เป็นจันไทย

ขยายความ :

(๑) “จันทร” หรือจันทร์เดือน เป็นรูปคำสันสกฤต (ที่ว่าเป็นจันบาลีนั้น ละ “สันสกฤต” ไว้ในฐานเข้าใจ) รูปคำบาลีเป็น “จนฺท” อ่านว่า จัน-ทะ รากศัพท์มาจาก –

(1) จทิ (ธาตุ = ยินดี, พอใจ, รุ่งเรือง) + (อะ) ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุ, แปลงนิคหิตเป็น นฺ, ลบสระที่สุดธาตุ

: จทิ > จํทิ > จนฺทิ > จนฺท + = จนฺท แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้ยังสัตว์โลกให้พอใจ” (คือเมื่อเห็นแล้วผู้คนก็ชื่นใจ พอใจ) (2) “ผู้รุ่งเรืองด้วยสิริ” (คือมีแสงสว่างผ่องใส)

(2) ฉนฺท (ความพอใจ) + ปัจจัย, ลบ , แปลง เป็น

: ฉนฺท + = ฉนฺทก > ฉนฺท > จนฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังความพอใจให้เกิด” 

จนฺท” หมายถึง ดวงจันทร์ (the moon) คำไทยเรียก “เดือน”

บาลี “จนฺท” สันสกฤตเป็น “จนฺทฺร” (จัน-ทฺระ) 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

จนฺทฺร : (คำนาม) ‘จันทร์,’ ศศิธร (อันนับเปนดาวพระเคราะห์และเทพดา); การบูร; น้ำ; ทองคำ; แววหางมยูรปักษิน; ภาคทวีปหนึ่งในจำนวนสิบแปด; มุกด์ไฟ, มุกดาอันมีรุ้งหรือสีแดง; ของชอบใจทั่วไป; เพดาน, ปิธาน; กระวานอย่างเล็ก; the moon (considered as a planet and a deity); camphor; water; gold; the eye in the peacock’s tail; one of the eighteen divisions of the continent; a pearl with a red tinge; anything giving pleasure; an awning, a canopy; small cardamoms.”

ภาษาไทยนิยมใช้ตามรูปสันสกฤตเป็น “จันทร-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) และ “จันทร์

(๒) “จันทน” หรือจันแก่นไม้หอม บาลีเป็น “จนฺทน” อ่านว่า จัน-ทะ-นะ รากศัพท์มาจาก จทิ (ธาตุ = ยินดี, พอใจ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ) ลงนิคหิตอาคมต้นธาตุแล้วแปลงเป็น นฺ (จทิ > จํทิ > จนฺทิ), “ลบสระหน้า” คือ อิ ที่ (จ)-ทิ (จทิ > จท)

: จทิ > จํทิ > จนฺทิ > จนฺท + ยุ > อน : จนฺท + อน = จนฺทน (ปุงลิงค์ และนปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ต้นไม้ที่ยังสัตว์โลกให้พอใจ” หมายถึง ต้นจันทน์, ไม้จันทน์หรือน้ำมันจันทน์ หรือเครื่องหอมกลิ่นจันทน์ (sandal [tree, wood or unguent, also perfume])

บาลี “จนฺทน” สันสกฤตก็เป็น “จนฺทน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

จนฺทน : (คำนาม) ‘จันทน์,’ ไม้จันทน์; sandal, sandal-wood.”

ภาษาไทยใช้เป็น “จันทน์” 

ย้ำ :

ดวง-จัน-ทร (ดวง-จัน-ทอน) = “ดวงจันทร์” เขียนถูกกันทุกคน

แก่น-จัน-ทน (แก่น-จัน-ทน) = “แก่นจันทน์” ไม่ใช่ “แก่นจันทร์” 

ผล-จัน-เกลี้ยง (ผน-จัน-เกฺลี้ยง) = “ลูกจัน” จัน-เกลี้ยง ๆ ไม่มีอะไรตามหลัง ไม่ใช่ “ลูกจันทร์” หรือ “ลูกจันทน์”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ไทยบอกไทยด้วยกัน-ถ้าไม่ฟัง

: ก็เชิญไปกราบเท้าฝรั่งให้มาสอนไทยเถิด

#บาลีวันละคำ (4,309)

30-3-67 

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *