บาลีวันละคำ

บุพการี – บุพกาลี (บาลีวันละคำ 4,425)

บุพการีบุพกาลี

คำล้อเลียนที่เจ็บปวด

บุพการี” อ่านว่า บุบ-พะ-กา-รี

แยกศัพท์เป็น บุพ + การี 

(๑) “บุพ” 

บาลีเป็น “ปุพฺพ” อ่านว่า ปุบ-พะ รากศัพท์มาจาก ปุพฺพฺ (ธาตุ = เต็ม) + (อะ) ปัจจัย

: ปุพฺพฺ + = ปุพฺพ (คุณศัพท์) แปลตามศัพท์ว่า “ส่วนที่เต็ม” หมายถึง อดีต, แต่ก่อน, ก่อน (previous, former, before)

ปุพฺพ” สันสกฤตเป็น “ปูรฺว” 

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ปูรฺวฺว, ปูรฺว : (คำวิเศษณ์) ประถม, แรก, ก่อน; ฝ่ายตวันออก; ทั้งสิ้น, สกล; first, former, prior, initial; eastern, entire; – (คำบุรพบท) ข้างน่า; before, in front of; – (คำนามพหูพจน์) บรรพบุรุษ; ทิศตวันออก; โบราณคดี; ancestors, fore-fathers; the east; an ancient tradition.”

ในภาษาไทย ใช้ตามบาลีเป็น “บุพ-” หรือ “บุพพ-” ก็มี ใช้อิงสันสกฤตเป็น “บุรพ-” (มีคำอื่นมาสมาสข้างท้าย) ก็มี และแผลงเป็น “บรรพ” เขียนเป็น “บรรพ์” (การันต์ที่ ) ก็มี

บุพ-” และ “บุรพ-” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ดังนี้ –

(1) บุพ-, บุพพ– : (คำวิเศษณ์) ก่อน, ทีแรก; เบื้องต้น, เบื้องหน้า. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว).

(2) บุรพ– : (คำวิเศษณ์) บุพ. (ส. ปูรฺว; ป. ปุพฺพ).

(๒) “การี

รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) ) ณี ปัจจัย, ลบ (ณี > อี), ทีฆะ อะ ที่ -(รฺ) เป็น อา ตามสูตร “ทีฆะต้นธาตุด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ณ” (กรฺ > การ)

: กรฺ + ณี = กรณี > (ณี > อี) : กร + อี = กรี > การี แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ทำ (สิ่งใดสิ่งหนึ่ง) เป็นปกติ” (doing)

ปุพฺพ + การี = ปุพฺพการี (ปุบ-พะ-กา-รี) แปลว่า “ผู้ทำอุปการะก่อน” (“doing before”) คือ ผู้ดูแล, ผู้เอื้อเฟื้อ, ผู้ทำประโยชน์ (looking after, obliging, doing a favour)

ปุพฺพการี” เขียนแบบไทยเป็น “บุพการี” ( เป็น , ตัด ออกตัวหนึ่ง)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต บอกความหมายไว้ว่า –

…………..

บุพการี : บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน คือ ผู้มีพระคุณ ได้แก่ มารดาบิดา ครูอาจารย์ เป็นต้น

…………..

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บุพการี : (คำนาม) ผู้ที่ทำอุปการะมาก่อน เช่น บิดามารดาเป็นบุพการีของบุตรธิดา. (ป. ปุพฺพการี); (คำที่ใช้ในกฎหมาย) ญาติทางสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป ได้แก่ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวด.”

สรุปว่า บุพการีมิใช่มีแต่บิดามารดาเท่านั้น ใครทำอุปการะมาก่อน ก็ชื่อว่าเป็น “บุพการี” ทั้งสิ้น

…………..

บุพกาลี” อ่านว่า บุบ-พะ-กา-ลี

แยกศัพท์เป็น บุพ + กาลี 

(๑) “บุพ” (ดูข้างต้น)

(๒) “กาลี” 

รากศัพท์มาจาก – 

(1) “กลิ” อ่านว่า กะ-ลิ รากศัพท์มาจาก กลฺ (ธาตุ = นับ, คำนวณ) + อิ ปัจจัย

: กลฺ + อิ = กลิ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะอันเขานับ” หมายถึง โทษ, ความชั่ว, บาป, ความปราชัย, ความพ่ายแพ้

กลิ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ลูกสกาที่อับโชค (the unlucky die) 

(2) การทอดลูกสกาที่อับโชค, โชคร้าย, ข้อเสีย, บาป (an unlucky throw at dice, bad luck, demerit, sin) 

(3) ยุคสุดท้ายในยุคทั้ง 4 ของโลก (the last of the 4 ages of the world).

(4) บาป, คนบาป (sinful, a sinner)

(5) น้ำลาย, ฟอง [น้ำลายที่ปาก] (saliva, spittle, froth)

กลิ” ทีฆะ อิ เป็น อี เป็น “กลี” แล้วกลายรูปและเสียงเป็น “กาลี” ก็มี

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) กลี : (คำนาม) สิ่งร้าย, โทษ; เรียกโรคห่าที่เป็นแก่สัตว์เลี้ยงเช่นเป็ด ไก่ วัว ควาย; ด้านของลูกสกาที่มีแต้มเดียว คือมีแต่ทางแพ้; ชื่อผีร้ายหรือผีการพนันตามคติของพราหมณ์. (คำวิเศษณ์) ชั่วร้าย, ไม่เป็นมงคล, มักใช้ว่า กาลี. (ป., ส. กลิ).

(2) กาลี ๑ : (คำวิเศษณ์) ชั่วร้าย, เสนียดจัญไร. (ส. กลิ).

(3) กาลี ๒ : (คำนาม) ชื่อหนึ่งของพระอุมา ชายาพระอิศวร เรียกว่า เจ้าแม่กาลี, ปรกติสร้างรูปเป็นหญิงผิวดำ (ส. กาลี ว่า หญิงดำ), และว่ามีอำนาจเสมือน กาล (เวลา) ที่ไม่มีผู้ใดเอาชนะได้. (ส.).

…………..

(2) กาล + อี ปัจจัย

(ก) “กาล” บาลีอ่านว่า กา-ละ รากศัพท์มาจาก กลฺ (ธาตุ = นับ, คำนวณ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (กล > กาล)

: กลฺ + = กลณ > กล > กาล แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องนับประมาณอายุเป็นต้น” “ถูกนับว่าล่วงไปเท่านี้แล้ว” “ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” หมายถึง เวลา, คราว, ครั้ง, หน

กาล” ที่หมายถึง “เวลา” (time) ในภาษาบาลียังใช้ในความหมายที่ชี้ชัดอีกด้วย คือ :

(๑) เวลาที่กำหนดไว้, เวลานัดหมาย, เวลาตายตัว (appointed time, date, fixed time)

(๒) เวลาที่เหมาะสม, เวลาที่สมควร, เวลาที่ดี, โอกาส (suitable time, proper time, good time, opportunity)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กาล ๑, กาล– : (คำนาม) เวลา, คราว, ครั้ง, หน. (ป., ส.).” 

ในภาษาบาลี “กาล” ยังมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง คือ “ความตาย” ในความหมายนี้ “กาล” แปลตามศัพท์ว่า “ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” “ทำตามเวลา” (เมื่อถึงเวลาก็ต้องทำสิ่งนั้น หรือเมื่อถึงเวลา สิ่งนั้นก็มาทำหน้าที่) 

(ข) กาล + อี = กาลี แปลว่า “ผู้มีกาลเวลา” “ผู้มีอำนาจเสมือนกาลเวลา” “ผู้ยังอายุของเหล่าสัตว์ให้สิ้นไป” หมายถึง ความตาย

…………..

(3) กาฬ + อี ปัจจัย

(ก) “กาฬ” บาลีอ่านว่า กา-ละ รากศัพท์มาจาก –

(1) กิรฺ (ธาตุ = กระจาย, เรี่ยราย) + ปัจจัย, ลบ , แปลง อิ ที่ กิ-(รฺ) เป็น อะ แล้วทีฆะ อะ เป็น อา (กิรฺ > กร > การ), แปลง เป็น

: กิรฺ + = กิรณ > กิร > กร > การ > กาฬ แปลตามศัพท์ว่า “ปักษ์ที่กระจายความสว่างไป” (คือทำให้ความสว่างจางไปหรือหมดไป) หมายถึง กาฬปักษ์ คือข้างแรม

(2) กลฺ (ธาตุ = นับ, คำนวณ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ -(ลฺ) เป็น อา (กลฺ > กาล), แปลง ลฺ เป็น  

: กลฺ + = กลณ > กล > กาล > กาฬ แปลตามศัพท์ว่า “สีอันเขานับไว้เป็นส่วนหนึ่งในบรรดาสีทั้งหลาย” หมายถึง สีดำ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กาฬ” ไว้ดังนี้ –

(1) dark, black, blueblack, misty, cloudy. (มืด, ดำ, น้ำเงินแกมดำ, มัว, มืดมัว)

(2) the dark as opposed to light, and it is therefore characteristic of all phenomena or beings belonging to the realm of darkness, as the night, the new moon, death, ghosts, etc. (ความมืด ในฐานตรงข้ามกับความสว่าง จึงเป็นลักษณะของปรากฏการณ์หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในขอบเขตของความมืดมน เช่น กลางคืน, พระจันทร์ข้างขึ้นอ่อนๆ, ความตาย, ปิศาจ ฯลฯ)

(3) the morning mist, or darkness preceding light, daybreak, morning. (หมอกตอนเช้า หรือความมืดก่อนจะมีแสงสว่าง, เวลารุ่งแจ้ง, ตอนเช้า)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กาฬ, กาฬ– : (คำนาม) รอยดําหรือแดงที่ผุดตามร่างกายคนเมื่อตายแล้ว. (คำวิเศษณ์) ดํา, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส. (ป.).”

(ข) กาฬ + อี ปัจจัย, แปลง เป็น  

: กาฬ + อี = กาฬี > กาลี แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีสีดำ” “ผู้มีร่างกายดำ

บุพ + กาลี = บุพกาลี (บุบ-พะ-กา-ลี) แปลว่า “เสนียดจัญไรที่เกิดมาก่อน” “คนชั่วร้ายที่เกิดก่อน” 

อภิปรายขยายความ :

คำว่า “บุพกาลี” เป็นคำล้อเลียนคำว่า “บุพการี” ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันมาแต่ก่อนว่า หมายถึง พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่คอยดูแลอุปการะเด็ก 

เนื่องจากเกิดมีปัญหาในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ทำให้เกิดความรู้สึกหรือเข้าใจกันไปว่า พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ไม่ได้เลี้ยงดูเด็กอย่างถูกต้อง คนที่คิดเช่นนั้น-ซึ่งอาจเป็นตัวเด็กเอง-จึงมองว่าพ่อแม่หรือผู้ใหญ่เป็นคนชั่วร้ายเหมือนเป็นตัวกาลี จึงเอาคำว่า “บุพการี” มาพูดล้อเลียนเป็น “บุพกาลี” คือแทนที่จะมองว่าพ่อแม่หรือผู้ใหญ่เป็นผู้ทำอุปการะมาก่อน ก็กลับมองว่าเป็นผู้ทำความกาลีมาก่อน

คำว่า “บุพกาลี” นี่ ผู้เขียนบาลีวันละคำเห็นในคำโฆษณาละครเวทีที่ดัดแปลงมาจากบทละครเรื่อง God of Carnage แต่ยังไม่ได้ศึกษาไปถึงเหตุผลที่แท้จริงในการใช้คำว่า “บุพกาลี” คำอธิบายที่กล่าวมาข้างต้นจึงเป็นการแสดงความหมายตามรูปศัพท์ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับเจตนาของผู้ที่คิดคำนี้ขึ้นมาก็ได้

ท่านผู้ใดรู้รายละเอียด ถ้าจะกรุณาเข้ามาช่วยกันบูรณาการ ก็จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ถ้าเห็นผู้ใหญ่เป็นบุพการีในวันนี้

: เด็กก็จะเป็นบุพการีในวันหน้า

: ถ้าเห็นผู้ใหญ่เป็นบุพกาลีในวันนี้

: เด็กจะเป็นอะไรดีในวันหน้า?

#บาลีวันละคำ (4,425)

24-7-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *