บาลีวันละคำ

อาปัตตาธิกรณ์ (บาลีวันละคำ 4,431)

อาปัตตาธิกรณ์

ปรับอาบัติกันจนเป็นเรื่อง

อ่านว่า อา-ปัด-ตา-ทิ-กอน

ประกอบด้วยคำว่า อาปัตติ + อธิกรณ์

(๑) “อาปัตติ” 

บาลีเป็น “อาปตฺติ” อ่านว่า อา-ปัด-ติ รากศัพท์มาจาก อา (คำอุปสรรค = ทั่วไป, ยิ่ง) + ปทฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ติ ปัจจัย, แปลง ทฺ ที่ (ป)-ทฺ เป็น (ปทฺ > ปต)

: อา + ปทฺ = อาปทฺ + ติ = อาปทติ > อาปตฺติ แปลตามศัพท์ว่า “การถึงอย่างยิ่ง” “การถึงทั่วไปหมด” “การต้อง

อาปตฺติ” มาจากคำกริยา “อาปชฺชติ” (อา-ปัด-ชะ-ติ) แปลว่า ถึง, พบ, ประสบ, ทำ, ก่อ. แสดง (to get into, to meet with; to undergo; to make, produce, exhibit)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อาปตฺติ” ว่า an ecclesiastical offence (โทษทางวินัยของสงฆ์)

นักบาลีมักแปลตามศัพท์ว่า “การต้อง” หมายถึง “กระทบ” คือ การกระทำเช่นนั้นไปกระทบเข้ากับฐานความผิด หรือมีความผิดเข้ามากระทบผู้กระทำ

อาปตฺติ” หมายถึง โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ อย่างที่เข้าใจกันด้วยภาษาง่ายๆ ว่า “ผิดศีล” หรือ “ศีลขาด

คำนี้เรานิยมพูดทับศัพท์ว่า “อาบัติ” เช่น “พระทำอย่างนี้ไม่เป็นอาบัติหรือ

(๒) “อธิกรณ์” 

บาลีเป็น “อธิกรณ” อ่านว่า อะ-ทิ-กะ-ระ-นะ ประกอบด้วย อธิ + กรณ

(ก) “อธิ” เป็นคำอุปสรรค แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, ทับ, เหนือ, บน

(ข) “กรณ” อ่านว่า กะ-ระ-นะ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ยุ ปัจจัย แปลงเป็น อน [อะ-นะ] ประกอบท้ายธาตุที่ลงท้ายด้วย ให้แปลง เป็น  

: กรฺ + ยุ > อน = กรน > กรณ แปลว่า “การกระทำ”  

อธิ + กรณ = อธิกรณ แปลตามศัพท์ว่า “กระทำยิ่ง” มีความหมายหลายอย่าง กล่าวคือ :

(1) การเอาใจใส่หรือติดตาม, การดูและควบคุม, การปกครองหรือบริหาร (attendance, super-vision, management of affairs, administration)

(2) การเกี่ยวข้อง, การอ้างถึง, เหตุผล, ต้นเหตุ, ผลที่เกิดภายหลัง relation, reference, reason, cause, consequence)

(3) กรณี, ปัญหา, ชนวน, เรื่องที่พิจารณาถึง (case, question, cause, subject of discussion, dispute) 

อธิกรณ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อธิกรณ์” (อะ-ทิ-กอน) เป็นคำที่ใช้ในวงการสงฆ์ เช่น “ต้องอธิกรณ์” ความหมายเท่ากับ “ต้องคดี”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อธิกรณ์ : (คำนาม) เหตุ, โทษ, คดี, เรื่องราว. (ป., ส.).”

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ) ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปล “อธิกรณ์” เป็นภาษาอังกฤษว่า –

a case; question; affair; lawsuit; dispute; disciplinary case of dispute; regal process; regal question. 

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกความหมายของคำว่า “อธิกรณ์” ไว้ว่า –

…………..

อธิกรณ์ : เรื่องที่เกิดขึ้นแล้วจะต้องจัดต้องทำ, เรื่องที่สงฆ์ต้องดำเนินการ มี ๔ อย่าง คือ 

๑. วิวาทาธิกรณ์ การเถียงกันเกี่ยวกับพระธรรมวินัย 

๒. อนุวาทาธิกรณ์ การโจทหรือกล่าวหากันด้วยอาบัติ 

๓. อาปัตตาธิกรณ์ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติ และการแก้ไขตัวให้พ้นจากอาบัติ 

๔. กิจจาธิกรณ์ กิจธุระต่างๆ ที่สงฆ์จะต้องทำ เช่นให้อุปสมบท ให้ผ้ากฐิน, 

ในภาษาไทยอธิกรณ์มีความหมายเลือนรางลงและแคบเข้า กลายเป็น คดีความ โทษ เป็นต้น

…………..

อาปตฺติ + อธิกรณ 

ใช้สูตร :

ลบสระหน้า” คือ อิ ที่ –ติ (อาปตฺติ > อาปตฺต)

ทีฆะสระหลัง” คือ อะ ที่ ธิ- (อธิ– > อาธิ-)

: อาปตฺติ + อธิกรณ = อาปตฺตาธิกรณ (อา-ปัด-ตา-ทิ-กะ-ระ-นะ) > อาปัตตาธิกรณ์ (อา-ปัด-ตา-ทา-ทิ-กอน) 

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อาปตฺตาธิกรณ” ว่า questions of misconduct (ปัญหาเรื่องการประพฤติผิดหรือล่วงละเมิดพระบัญญัติ)

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกความหมายของ “อาปัตตาธิกรณ์” ไว้ดังนี้ –

…………..

อาปัตตาธิกรณ์ : อธิกรณ์คืออาบัติ หมายความว่า การต้องอาบัติและการถูกปรับอาบัติ เป็นอธิกรณ์โดยฐานเป็นเรื่องที่จะต้องจัดทำ คือระงับด้วยการแก้ไขปลดเปลื้องออกจากอาบัตินั้นเสีย มีการปลงอาบัติ หรือการอยู่กรรมเป็นต้นตามวิธีที่ท่านบัญญัติไว้

…………..

ขยายความ :

ในพระไตรปิฎก ท่านให้คำจำกัดความคำว่า “อาปัตตาธิกรณ์” ไว้ดังนี้ –

…………..

ตตฺถ  กตมํ  อาปตฺตาธิกรณํ  ฯ

ในอธิกรณ์ 4 อย่างนั้น อาปัตตาธิกรณ์เป็นไฉน?

ปญฺจปิ  อาปตฺติกฺขนฺธา  อาปตฺตาธิกรณํ

อาบัติทั้ง 5 กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์

สตฺตปิ  อาปตฺติกฺขนฺธา  อาปตฺตาธิกรณํ

อาบัติทั้ง 7 กอง ชื่ออาปัตตาธิกรณ์

อิทํ  วุจฺจติ  อาปตฺตาธิกรณํ  ฯ

นี้เรียกว่า อาปัตตาธิกรณ์

ที่มา: สมถขันธกะ วินัยปิฎก จุลวรรค ภาค 1 พระไตรปิฎกเล่ม 6 ข้อ 635

…………..

ดูก่อนภราดา!

: มีบาตรไม่โปรด

: มีโบสถ์ไม่ลง

: มีอาบัติไม่ปลง

: เป็นสงฆ์อยู่ได้อย่างไร

(จำมาจากหนังสือมนต์พิธี)

#บาลีวันละคำ (4,431)

30-7-67

…………………………….

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

…………………………….

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *