บาลีวันละคำ

พลการ (บาลีวันละคำ 1,078)

พลการ

อ่านว่า พะ-ละ-กาน

บาลีเป็น “พลกฺการ” อ่านว่า พะ-ลัก-กา-ระ

ประกอบด้วย พล + การ

(๑) “พล

บาลีอ่านว่า พะ-ละ รากศัพท์มาจาก พลฺ (ธาตุ = มีชีวิต, ระวัง, ครอบงำ) + ปัจจัย

: พล + = พล แปลตามศัพท์ว่า “เหตุอันทำให้มีชีวิตอยู่ได้” “ผู้เฝ้าระวัง” “ผู้ครอบงำศัตรู

พล” ใช้ในความหมาย 2 อย่างคือ –

(1) ความแข็งแรง, พลัง, อำนาจ (strength, power, force)

(2) กองทัพ, กองกำลังทหาร (an army, military force)

(๒) “การ

บาลีอ่านว่า กา-ระ รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ปัจจัย, ลบ , ยืดเสียง อะ ที่ -(ร) เป็น อา

: กรฺ + = กรณ > กร > การ แปลตามศัพท์ว่า “การทำ

การ” ถ้าใช้ตามลำพัง มีความหมายว่า การกระทำ, กิริยาอาการ, วิธีทำ, การบริการ, การกระทำที่แสดงความเมตตา ความเคารพ หรือความนับถือ; ผู้ทำ ผู้จัดการ หรือผู้ค้า

การ” ถ้าใช้ต่อท้ายคำอื่น มีความหมายแตกต่างกันไปตามคำนั้นๆ เช่น –

อหํการ = อหังการ “กระทำว่าเรา” = มองเห็นแต่ตนเอง (selfishness)

อนฺธการ = อันธการ “กระทำความมืด” = ความมืด (darkness)

สกฺการ = สักการ = การสักการะ, เครื่องสักการะ (homage)

พล + การ = พลกฺการ (ซ้อน กฺ) แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำของผู้มีกำลัง” หรือ“การกระทำด้วยกำลัง” หมายถึง การใช้กำลัง (forcibly)

พลกฺการ ใช้ในภาษาไทยว่า “พลการ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พลการ : (คำนาม) การกระทำโดยใช้กำลังหรืออำนาจเป็นต้น อย่างไม่ยอมฟังเสียงใคร, อําเภอใจ, เช่น ทําโดยพลการ. (ป. พลกฺการ; ส. พลาตฺการ).”

: ใช้กำลัง เป็นการกระทำของคนพาล

แปลว่า –

: พลการ เป็นการกระทำของคนอ่อนแอ

3-5-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย