บาลีวันละคำ

อดีต – ปัจจุบัน – อนาคต (บาลีวันละคำ 1,121)

อดีตปัจจุบันอนาคต

แปลความหมาย

เสริมการรู้ความหมายโดยไม่ต้องแปล

(๑) “อดีต

บาลีเป็น “อตีต” (อะ-ตี-ตะ) รากศัพท์มาจาก อติ (ล่วงไป) + อิ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, รวมเสียง อิ ที่ (อ)-ติ กับ อิ ที่ อิ ธาตุเป็น อี

: อติ + อิ = อติอิ > อตี + = อตีต แปลตามศัพท์ว่า “ล่วงเลยไปแล้ว” หมายถึง ผ่านไป, เลยไป (past, gone by)

(๒) “ปัจจุบัน

บาลีเป็น “ปจฺจุปฺปนฺน” (ปัด-จุบ-ปัน-นะ) มาจาก ปฏิ (เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ) แผลงเป็น ปจฺจ + อุปฺปนฺน

อุปฺปนฺน” (อุบ-ปัน-นะ) รากศัพท์มาจาก อุ (ขึ้น) + ปทฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย, ซ้อน ปฺ ระหว่าง อุ + ปทฺ, แปลง ทฺ กับ เป็น นฺน

: อุ + ปฺ + ปทฺ = อุปฺปท + = อุปฺปทต > อุปฺปนฺน แปลตามศัพท์ว่า “เกิดขึ้นแล้ว

: ปฏิ > ปจฺจ + อุปฺปนฺน  = ปจฺจุปฺปนฺน แปลตามศัพท์ว่า “เกิดขึ้นเฉพาะหน้า” หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า, กำลังปรากฏอยู่, อยู่ในปัจจุบัน (what has arisen just now, existing, present)

(๓) “อนาคต

บาลีอ่านว่า อะ-นา-คะ-ตะ มาจาก (ไม่, ไม่ใช่) แผลงเป็น อน + อาคต

อาคต” (อา-คะ-ตะ) รากศัพท์มาจาก อา (กลับความ) + คมฺ (ธาตุ = ไป. กลับความ = มา) + ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ

: อา + คมฺ + = อาคมต > อาคต แปลตามศัพท์ว่า “มาแล้ว

: > อน + อาคต = อนาคต แปลตามศัพท์ว่า “ยังไม่มา” หมายถึง ยังไม่มาถึง, อนาคต (not come yet, future)

พุทธภาษิต:

(1) อตีตํ นานฺวาคเมยฺย = ไม่หวนละห้อยถึงอดีตที่ผันผ่าน

(2) นปฺปฏิกงฺเข อนาคตํ = ไม่ฝันหวานถึงอนาคตที่ยังไม่มีมา

(3) ปจฺจุปฺปนฺนญฺจ โย ธมฺมํ

ตตฺถ ตตฺถ วิปสฺสติ = มองปัจจุบันวันเฉพาะหน้านี้ให้กระจ่างชัด

เอวํ  วิหาริมาตาปึ

อโห  รตฺตมตนฺทิตํ

ตํ  เว  ภทฺเทกรตฺโตติ

สนฺโต  อาจิกฺขเต  มุนีติ.

บุคคลผู้มีปรกติพิจารณาอยู่อย่างนี้

มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแล

พระมุนีผู้สงบย่อมเรียกว่า “มีชีวิตอยู่วันเดียวก็ประเสริฐ

20-6-58

ต้นฉบับ