บาลีวันละคำ

ภูตผีปีศาจ (บาลีวันละคำ 1,184)

ภูตผีปีศาจ

อ่านว่า พูด-ผี-ปี-สาด

(๑) “ภูต

บาลีอ่านว่า พู-ตะ รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย

: ภู + = ภูต แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นเหตุให้ร่ายมนตร์คาถา” (คือเพราะความกลัวต่อ “สิ่งนั้น” จึงพยายามออกปากขับไล่ด้วยถ้อยคำที่เชื่อกันว่า “สิ่งนั้น” จะเกรงกลัว) หมายถึง สัตว์นอกธรรมชาติ, ผี, ปีศาจ, อสูร, ยักษ์ (a supernatural being, ghost, demon, the individual soul)

(๒) “ปีศาจ

บาลีเป็น “ปิสาจ” อ่านว่า ปิ-สา-จะ รากศัพท์มาจาก ปิสิต (ปิ-สิ-ตะ = เนื้อสัตว์) + อสฺ (ธาตุ = กิน) + ปัจจัย, แปลง ปิสิต เป็น ปิ, แปลง อสฺ เป็น สาจ

: ปิสิต > ปิ + อสฺ > สาจฺ : ปิ + สาจฺ + = ปิสาจ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้กินเนื้อ” หมายถึง มาร, ปีศาจ, ผี (a demon, goblin, sprite, ghost)

ปิสาจ” สันสกฤตเป็น “ปิศาจ” ภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “ปิศาจ” และยืดเสียงเป็น “ปีศาจ” ด้วย

โปรดสังเกตว่า บาลีเป็น “ปิสาจปิ– สระ อิ ไม่ใช่ ปี– สระ อี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ภูต, ภูต– : (คำนาม) ผี, มักใช้เข้าคู่กันเป็น ภูตผี. (คำวิเศษณ์) ซึ่งเกิดแล้ว, ซึ่งเป็นแล้ว. (ป., ส.).

(2) ผี : (คำนาม) สิ่งที่มนุษย์เชื่อว่าเป็นสภาพลึกลับ มองไม่เห็นตัว แต่อาจจะปรากฏเหมือนมีตัวตนได้ อาจให้คุณหรือโทษได้ มีทั้งดีและร้าย เช่น ผีปู่ย่าตายาย ผีเรือน ผีห่า, เรียกคนที่ตายไปแล้ว; (ภาษาโบราณ) เทวดา; (ภาษาปาก) โดยปริยายหมายความว่า เลว เช่น คนผี; เรียกบุคคลที่หมกมุ่นในการพนันว่า ผีการพนันเข้าสิง.

(3) ปีศาจ : (คำนาม) ผี, ลักษณนามว่า ตน, ปิศาจ ก็ว่า. (ส.; ป. ปิสาจ).

ภูตผีปีศาจ” เป็นบาลีผสมไทยแบบคำซ้อนความ คือ “ภูต” แปลว่า “ผี”  ผีก็คือ “ปีศาจ” และปีศาจก็คือภูตผี

คำซ้อนความทำนองนี้มีชุกชุมในภาษาไทย เช่น ถนนหนทาง เสื่อสาดอาสนะ ฯลฯ

คำว่า “ภูต” มักเขียนผิดเป็น “ภูติ

โปรดจำไว้ว่า “ภูตผีปีศาจ” ภู-ต (พู-ตะ) ไม่ใช่ ภู-ติ

ภูติ” (พู-ติ) เป็นอีกคำหนึ่ง มีความหมายว่า การเพิ่ม, ความงอกงาม, ความคืบหน้า, ความรุ่งเรือง (increase, growth, furtherance, prosperity)

พจน.54 บอกไว้ว่า –

ภูติ, ภูตี : (คำนาม) ความรุ่งเรือง, ความมั่งคั่ง. (ป., ส. ภูติ).”

ไม่เกี่ยวกับภูตผีปีศาจแต่ประการใด

: ผีหลอกน่ากลัว

: คนหลอกน่าเกรง

: แต่คนหลอกตัวเอง ทั้งน่าเกรงน่ากลัว

26-8-58

ต้นฉบับ