บาลีวันละคำ

ประณิธาน (บาลีวันละคำ 1,230)

ประณิธาน

อ่านว่า ปฺระ-นิ-ทาน

บาลีเป็น “ปณิธาน” อ่านว่า ปะ-นิ-ทา-นะ

ประณิธาน” เป็นรูปคำสันสกฤต “ปฺรณิธาน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ปฺรณิธาน : (คำนาม) ‘ประณิธาน,’ อุตสาหะยิ่ง, อุตสาหะ, ภาระหรือพละ; สมาธิอันสุขุม; การเข้าหา, การเข้าสู่; great effort, energy, stress; profound religious meditation; access, entrance.”

ปณิธาน” ในบาลี รากศัพท์มาจาก (ทั่วไป, ข้างหน้า) + นิ (เข้า, ลง) + ฐา (ธาตุ = ตั้งไว้, ปรารถนา) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), แปลง (ที่ นิ) เป็น , แปลง (ที่ ฐา) เป็น

: + นิ + ฐา = ปนิฐา + ยุ > อน = ปนิฐาน > ปณิธาน แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งอันเขาตั้งไว้” (2) “สิ่งอันเขาปรารถนา

ปณิธาน” หมายถึง การตั้งเป้าหมาย, การปรารถนา, ความอยากได้, การขอร้อง, การตั้งความปรารถนา, การอ้อนวอน (aiming at, wish, desire, request, aspiration, prayer)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “ปณิธาน”ไว้ แต่ไม่บอกความหมาย เพียงแต่บอกว่า “ปณิธาน” คือ “ประณิธาน”(เป็นการแสดงคำอีกรูปหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้แสดงความหมาย)

ที่คำว่า “ประณิธาน” พจน.54 บอกไว้ดังนี้ –

ประณิธาน : (คำนาม) การตั้งความปรารถนา. (ส. ปฺรณิธาน; ป. ปณิธาน).”

ตั้งเป้าหมาย แต่ไม่ลงมือทำงาน ก็ไม่มีวันสำเร็จ

ทำงานโดยไม่ตั้งเป้าหมาย ก็ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม

เพราะฉะนั้น –

: อย่าเพียงแต่ตั้งประณิธาน

: แต่จงตั้งใจทำงานไปพร้อมๆ กัน

11-10-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย