บาลีวันละคำ

มโนกรรม (บาลีวันละคำ 1,232)

มโนกรรม

อ่านว่า มะ-โน-กำ

ประกอบด้วย มโน + กรรม

บาลีเป็น “มโนกมฺม” (มะ-โน-กำ-มะ)

(๑) “มโน

รูปคำเดิมเป็น “มน” (มะ-นะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) มน (ธาตุ = รู้) + ปัจจัย

: มน + = มน แปลตามศัพท์ว่า “ตัวรู้

(2) มา (ธาตุ =นับ, กะ, ประมาณ) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, ลบสระที่สุดธาตุ

: มา > + ยุ > อน : + อน = มน แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่กำหนดนับอารมณ์

มโน” (< มน) หมายถึง ใจ, ความคิด (mind, thought)

มน” แจกรูปด้วยวิภัตติที่หนึ่ง เอกพจน์ จะเป็น “มโน” และตามกฎบาลีไวยากรณ์กำหนดว่า เมื่อเป็นส่วนหน้าของคำสมาส ให้คงรูปเป็น มโน– เช่น มน + รม แทนที่จะเป็น มนรม ก็เป็น มโนรม

(๒) “กรรม

บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ) ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ธาตุ : กรฺ > ก- และ ที่ปัจจัย : รมฺม > -มฺม

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม

กมฺม” สันสกฤตเป็น “กรฺม” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม” มีความหมายหลายอย่าง –

(1) การกระทำทั้งปวง เรียกว่า กรรม

(2) การถูกทำ, สิ่งที่ถูกทำ, ผลของการกระทำ ก็เรียกว่า กรรม

(3) การทำกิจการงาน, การประกอบอาชีพ ก็เรียกว่า กรรม

(4) พิธีกรรม, พิธีการต่างๆ ก็เรียกว่า กรรม

ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปก็คือ การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (action, the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

มโน + กมฺม = มโนกมฺม > มโนกรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มโนกรรม : (คำนาม) การกระทำทางใจ, การคิด, ความคิด. (ป. มโนกมฺม).”

ในทางธรรม มโนกรรมมีทั้งฝ่ายกุศล คือเป็นไปในทางดี และฝ่ายอกุศล คือเป็นไปในทางชั่ว

มโนกรรมฝ่ายกุศลมี 3 ได้แก่ –

1. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา

2. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา

3. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม

มโนกรรมฝ่ายอกุศลมี 3 ได้แก่ –

1. อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา

2. พยาบาท คิดร้ายเขา

3. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม

เมื่อเร็วๆ นี้ได้พบข้อความว่า –

เห็นภาพนี้แล้วฉันก็มโนกรรมต่อไปอีกยืดยาว

เป็นการใช้คำที่ไม่ตรงกับความหมาย

มโนกรรม” ไม่ได้แปลว่า “คิด” และไม่ใช่คำกริยา

: มโนกรรมบริสุทธิ์ โลกมุษย์เป็นสวรรค์

: มโนกรรมสกปรก ก็ตกนรกทุกวัน

13-10-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย