บาลีวันละคำ

รโหฐาน (บาลีวันละคำ 691)

รโหฐาน

อ่านว่า ระ-โห-ถาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รโหฐาน : (คำนาม) ที่เฉพาะส่วนตัว. (บาลี. รโห + ฐาน ว่า ที่ลับ, ที่สงัด)”

บาลีมีคำว่า “รห” (ระ-หะ) แปลตามศัพท์ว่า –

(1) “โอกาสที่สงัดจากผู้คน” = ไม่มีใครอื่นอยู่ในที่นั้น อยู่คนเดียว

ความหมายนี้รากศัพท์มาจาก รหฺ (ธาตุ = สงัด) + ปัจจัย : รห + = รห

(2) “โอกาสเป็นที่ยินดีแห่งผู้คน” = ไม่มีคนอื่นๆ มารบกวน สามารถทำสิ่งที่ต้องการได้อย่างสบายใจ

ความหมายนี้รากศัพท์มาจาก รมุ (ธาตุ = ยินดี, พอใจ) + ปัจจัย, ลบ อุ ที่ มุ, แปลง มฺ เป็น : รมุ > รม > รห + = รห

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “รห” ว่า lonely place, solitude, loneliness; secrecy, privacy (ที่เปลี่ยว, ที่สงัด, ความเปล่าเปลี่ยว; ความลับ, ความรโหฐาน หรือไม่เป็นที่เปิดเผย)

รห” จึงหมายถึงสถานที่ลับก็ได้ หมายถึงความลับก็ได้

รห” เวลาใช้ในประโยค มักพบที่แจกรูปเป็น “รโห

ในคัมภีร์ยังไม่พบคำ รโห + ฐาน พบแต่เป็น “รโห” เดี่ยวๆ

อาจเป็นเพราะต้องการชี้เฉพาะว่า “รโห” ในที่นี้หมายถึง “สถานที่” (private place) ไม่ได้หมายถึง “ความลับ” (secrecy) เราจึงเติม “ฐาน” (= สถานที่) เข้าไปเป็น “รโหฐาน” แบบบาลีไทย

รโหฐาน” หมายถึง ที่เฉพาะส่วนตัว หรือสถานที่ลี้ลับ ไม่ได้จำกัดว่าคับแคบหรือกว้างขวาง

เมื่อกล่าวถึงสถานที่อันกว้างขวางใหญ่โต มักมีผู้พูดผิดเป็น “ใหญ่โตรโหฐาน

ใหญ่โต” คู่กับ “มโหฬาร” ซึ่งเป็นคนละคำ คนละความหมายกับ “รโหฐาน

และโปรดสังเกต “รโหฐาน” ไม่ต้องมีสระ อะ ที่ – อย่าเขียนผิดเป็น “ระโหฐาน

พุทธภาษิต : “รโหที่ลับความลับ

นตฺถิ  โลเก  รโห  นาม      ปาปกมฺมํ  ปกุพฺพโต

ปสฺสนฺติ  วนภูตานิ             ตํ  พาโล  มญฺญเต  รโห.

เมื่อทำชั่วเข้าแล้ว

ชื่อว่าความลับย่อมไม่มีในโลก

ต้นไม้ที่เกิดในป่าก็ยังมีคนเห็นจนได้

คนโง่เท่านั้นที่เข้าใจว่าความชั่วที่ทำนั้นเป็นความลับ

อหํ  รโห  น  ปสฺสามิ         สุญฺญํ  วาปิ  น  วิชฺชติ

ยตฺถ  สุญฺญํ  น  ปสฺสามิ    อสุญฺญํ  โหติ  ตํ  มยา.

ข้าพเจ้าย่อมไม่เห็นที่ลับ

หรือแม้ที่ว่างเปล่าจากผู้คน ก็ไม่มี

ที่ใดว่างเปล่า ข้าพเจ้าไม่เห็นใคร

ที่นั้นก็ย่อมไม่ว่างเปล่าจากตัวข้าพเจ้า

8-4-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย