บาลีวันละคำ

ปฏิกิริยา (บาลีวันละคำ 743)

ปฏิกิริยา

อ่านว่า ปะ-ติ-กิ-ริ-ยา

บาลีเขียนและอ่านอย่างเดียวกัน

ประกอบด้วย ปฏิ + กิริยา

ปฏิ” เป็นคำอุปสรรค แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ

กิริยา” รากศัพท์มาจาก กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย แปลง ที่ เป็น อิ, ลง อิ อาคม ที่ , ลบ ณฺ ที่ ญฺย, แปลง ที่ เป็น อา (เพื่อให้เป็นอิตถีลิงค์)

: กร > กิร + อิ = กิริ + ณฺย > = กิริย > กิริยา

กิริยา” ในบาลีมีความหมายว่า การกระทำ, การปฏิบัติ, กรรม; การที่กระทำลงไป, การสัญญา, การสาบาน, การอุทิศ, การตั้งใจ, คำปฏิญาณ; ความยุติธรรม (action, performance, deed; the doing, promise, vow, dedication, intention, pledge; justice)

ปฏิ + กิริยา = ปฏิกิริยา แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำตอบ

ในคัมภีร์พบศัพท์ว่า “ปฏิกิริยา” ใช้ในความหมายว่า การตอบแทนคุณ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ปฏิ– [ปะติ-] คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ เช่น ปฏิทิน, ตอบ เช่น ปฏิพากย์, ทวน เช่น ปฏิโลม, กลับ เช่น ปฏิวัติ. (ป.; ส. ปฺรติ).

(2) กิริยา : (คำนาม) การกระทํา; อาการที่แสดงออกมาทางกาย, มารยาท เช่น กิริยานอบน้อม กิริยาทราม. (ป.).

(3) ปฏิกิริยา : (คำนาม) การกระทําตอบสนอง; การกระทําต่อต้าน; ผลของการกระทําซึ่งเป็นเหตุให้เกิดกิริยาสะท้อนมาเป็นอีกอย่างหนึ่ง; (เคมี) การเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของสาร. (อ. reaction).

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล reaction เป็นบาลีว่า

(1) aññamaññappavatti อญฺญมญฺญปฺปวตฺติ (อัน-ยะ-มัน-ยับ-ปะ-วัด-ติ) = การแสดงออก (manifestation) ต่อกันและกัน

(2) patikriyā ปฏิกฺริยา ตรงกันกับที่เราใช้ว่า “ปฏิกิริยา

ข้อควรทราบ :

(1) ปฏิกิริยา ระวังอย่าพูดหรือเขียนผิดเป็น “ปฏิริยา”

(2) กิริยา กับ กริยา แม้จะมาจากรากศัพท์เดียวกัน แต่ในภาษาไทยใช้ต่างกัน

กิริยา (ก มีสระ อิ) = การกระทําทั่วไป; อาการที่แสดงออกมาทางกาย

กริยา (ก ไม่มีสระ อิ) = คำแสดงอาการหรือบอกการกระทำของนามหรือสรรพนามในไวยากรณ์ เช่น “คนกินข้าว” (“คน” เป็น ประธาน, “กิน” เป็น กริยา, “ข้าว” เป็น กรรม)

(3) ถ้าไม่เกี่ยวกับภาษาในไวยากรณ์ดังกล่าวข้างต้น ใช้ว่า “กิริยา” ทั้งหมด ไม่ใช่ “ริยา”

(4) คําแสดงอาการของนามหรือสรรพนามในตำราบาลีไวยากรณ์โดยทั่วไปและที่เรียนกันในเมืองไทย ใช้ “กิริยา” ไม่ใช้ “กริยา” อย่างไวยากรณ์ไทย

ปฏิกิริยาที่แสดงออกได้เหมือนกันทั้งคนโง่ที่สุดและคนฉลาดที่สุด คือ นิ่ง

: คนโง่ที่สุด นิ่งเพราะไม่รู้ว่าจะตอบโต้อย่างไร

: คนฉลาดที่สุด นิ่งเพราะรู้ว่าไม่ควรจะตอบโต้อะไร

#บาลีวันละคำ (743)

31-5-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *