บาลีวันละคำ

บุญเขต (บาลีวันละคำ 1,332)

บุญเขต

อ่านว่า บุน-ยะ-เขด (ไม่ใช่ บุน-เขด)

ประกอบด้วย บุญ + เขต

(๑) “บุญ

บาลีเป็น “ปุญฺญ” (ปุน-ยะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปุ (ธาตุ = ชำระ สะอาด) + ณฺย ปัจจัย, ลง อาคม ระว่างธาตุ + ปัจจัย (ปุ + + ณฺย), ลบ ณฺ, แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุ + = ปุน + ณฺย = ปุนณฺย > ปุนฺย > ปุญฺ + = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “กรรมที่ชำระสันดานของตนให้สะอาด” “กรรมที่ชำระผู้ทำให้สะอาด

(2) ปุชฺช (น่าบูชา) + ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ชฺช, และ , แปลง นฺย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุชฺช + ชนฺ + ณฺย = ปุชฺชชนณฺย > ปุชนณฺย > ปุนณฺย > ปุนฺย > ปุญฺ + = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา

(3) ปุณฺณ (เต็ม) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺณ, และ , แปลง รย เป็น , ซ้อน ญฺ

: ปุณฺณ + กรฺ + ณฺย = ปุณฺณกรณฺย > ปุกรณฺย > ปุรณฺย > ปุรย > ปุญ + = ปุญฺญ แปลตามศัพท์ว่า “การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ

ปุญฺญ” หมายถึง เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์, ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม (merit; meritorious action; virtue; righteousness; moral acts; good works)

ปุญฺญ” ภาษาไทยใช้ว่า “บุญ” ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปคือ การกระทําดีตามหลักคําสอนในศาสนา

ดูเพิ่มเติม : “บุญ” บาลีวันละคำ (1,225) 6-10-58

(๒) “เขต

บาลีเป็น “เขตฺต” (เขด-ตะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ขิปฺ (ธาตุ = หว่าน, กระจายออก) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ขิ-(ปฺ) เป็น เอ, ลบ ปฺ ที่สุดธาตุ, ซ้อน

: ขิปฺ > เขป + = เขปต > เขต + = เขตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่หว่านพืช

(2) ขิตฺต (เมล็ดพืชที่หว่านไป) + ตา (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย, แผลง อิ ที่ ขิ-(ตฺต) เป็น เอ, ลบ ที่ (ขิตฺ)- (ภาษาไวยากรณ์ว่า “ลบที่สุดบทหน้า”), ลบสระที่สุดธาตุ: ตา >

: ขิตฺต + ตา = ขิตฺตตา > ขิตฺตต + = ขิตฺตต > ขิตฺต > เขตฺต แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่รักษาพืชที่หว่านไว้

เขตฺต” หมายถึง :

(1) นา, ที่ดินแปลงหนึ่ง, ที่ดินอันเหมาะสมแก่การเพาะปลูก, ที่ตั้ง (a field, a plot of land, arable land, a site)

(2) ที่อันเป็นเนื้อนาบุญ, กองแห่งกุศลกรรม (the soil of merit, the deposit of good deeds)

เขตฺต” ภาษาไทยปัจจุบันใช้เป็น “เขต” (ตัด ออกตัวหนึ่ง) อ่านว่า เขด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เขต : (คำนาม) แดนที่กําหนดขีดคั่นไว้ เช่น เขตป่า เขตบ้าน, เวลาที่กําหนดขีดคั่นไว้ เช่น หมดเขตวันที่ ๑๕. (ป. เขตฺต). (โบราณเขียนว่า เขตร).”

ปุญฺญ + เขตฺต ซ้อน กฺ ระหว่าง ปุญฺญ + เขตฺต : ปุญฺญ + กฺ + เขตฺต = ปุญฺญกฺเขตฺต (ปุน-ยัก-เขด-ตะ) แปลตามศัพท์ว่า “เขตแห่งบุญ” “นาแห่งบุญ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ไขความ “ปุญฺญกฺเขตฺต” ว่า –

field of merit, Ep. of the Sangha or any holy personalities, doing good (lit. planting seeds of merit) to whom is a source of future compensation to the benefactor. (เนื้อนาบุญ, เป็นคำแสดงคุณลักษณะของพระสงฆ์หรือผู้ถือบวช, ทำความดี (ตามตัว. การปลูกพืชคือบุญ) ต่อผู้ที่เป็นบ่อเกิดแห่งบุญ ซึ่งจะหวังให้ผลต่อผู้ทำในอนาคต)

ปุญฺญกฺเขตฺต” มักจะพูดควบกับ “อนุตฺตร” เป็น อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ แปลว่า เนื้อนาบุญอันไม่มีที่เปรียบ (unsurpassed field of merit)

ปุญฺญกฺเขตฺต > บุญเขต เป็นคำแสดงคุณของพระสงฆ์ คำเต็มๆ ว่า อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บุญเขต : (คำนาม) เนื้อนาบุญ, แหล่งที่ควรแก่การทำบุญ เช่น พระสงฆ์. (ป. ปุญฺญกฺเขตฺต).”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ที่คำว่า “สังฆคุณ” ไขความบทนี้ไว้ว่า –

อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส : เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คือเป็นแหล่งปลูกเพาะและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก”

…….

สาธุชนพึงสดับ :

…….

บทว่า อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส ความว่า พระสงฆ์เป็นที่เพาะปลูกบุญของชาวโลกทั้งปวง ไม่มีที่เสมอ

เหมือนอย่างว่าที่เพาะปลูกข้าวสาลีก็ดี ข้าวเหนียวก็ดี ของพระราชาหรือของอำมาตย์ก็ตาม เขาก็เรียก  รญฺโญ  สาลิกฺเขตฺตํ  รญฺโญ  ยวกฺเขตฺตํ นาข้าวสาลีของพระราชา นาข้าวเหนียวของพระราชา ดังนี้เป็นต้น ฉันใด

พระสงฆ์ก็เป็นที่เพาะปลูกบุญทั้งหลาย ( = ปุญฺญกฺเขตฺตํ) ของชาวโลกทั้งปวง ฉันนั้น

แท้จริง เพราะอาศัยพระสงฆ์ บุญทั้งหลายอันเป็นเครื่องบันดาลประโยชน์เกื้อกูลและความสุขนานาประการของชาวโลกจึงได้งอกขึ้น เพราะเหตุนั้น พระสงฆ์จึงชื่อว่าเป็นนาบุญของโลกไม่มีนาอื่นยิ่งกว่า ด้วยประการฉะนี้

ที่มา:

วิสุทธิมรรคปกรณ์ ภาค 1 หน้า 282

วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 305

: พุทธบริษัทขาดทุน

: ถ้านาบุญขาดพระธรรมวินัย

22-1-59

ต้นฉบับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *