บาลีวันละคำ

ภาษา กับ อักษร (บาลีวันละคำ 781)

ภาษา กับ อักษร

ภาษา” บาลีเป็น “ภาสา” (ส เสือ) อ่านว่า พา-สา

สันสกฤตเป็น “ภาษา” (ษ ฤๅษี) เราเขียนตามสันสกฤตเป็น “ภาษา

ภาสา” รากศัพท์มาจาก –

(1) ภาส (ธาตุ = พูด) + อ ปัจจัย + อา (ปัจจัยอิตถีลิง์)

: ภาส + = ภาส + อา = ภาสา แปลตามศัพท์ว่า “การพูด” “วาจาอันคนพูด

(2) ภา (ธาตุ = สว่าง, รุ่งเรือง) + ปัจจัย + อา (ปัจจัยอิตถีลิง์)

: ภา + = ภาส + อา = ภาสา แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ส่องสว่าง” “สิ่งที่รุ่งเรือง

ภาสาภาษา ความหมายที่เข้าใจกันคือ คำพูด, ถ้อยคำ, วาจา (speech, language)

อักษร” บาลีเป็น “อกฺขร” อ่านว่า อัก-ขะ-ระ

สันสกฤตเป็น “อกฺษร” เราเขียนตามสันสกฤตเป็น “อักษร” (อัก-สอน)

อกฺขร” รากศัพท์มาจาก –

(1) (= ไม่, ไม่ใช่) + ขร (= แข็ง, ธาตุ = พินาศ) + ปัจจัย, แปลง เป็น , ซ้อน ก

: > (+ ) + ขรฺ = อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่เป็นของแข็ง” “สิ่งที่ไม่พินาศไป” คือไม่เสื่อมสิ้นไป

(2) (= ไม่, ไม่ใช่) + ขี (ธาตุ = สิ้นไป) + อร ปัจจัย, แปลง เป็น , แปลง อี (ที่ ขี) เป็น , ซ้อน

: > (+ ) + ขี = อกฺขี > อกฺข + อร = อกฺขร แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ไม่สิ้นไป” คือใช้ไม่มีวันหมด

อกฺขรอักษร ความหมายที่เข้าใจกันคือ ลายลักษณ์ที่ขีดเขียน, ตัวหนังสือ (a written character, inscription, the alphabet, a letter)

ภาษา กับ อักษร เป็นเรื่องหญ้าปากคอกที่หลายคนยังเข้าใจผิด

ภาษา กับ อักษร มีทั้งส่วนเหมือนและส่วนต่าง

ส่วนเหมือนคือ อักษรเป็นส่วนหนึ่งของภาษา

แต่มีส่วนต่างที่มักเข้าใจผิดคิดว่าเป็นส่วนเหมือน นั่นคือ –

ภาษา” คือเสียงที่เปล่งออกมาเป็นข้อความอย่างหนึ่ง ผู้ที่เข้าใจภาษานั้นก็จะรู้ว่าเสียงนั้นมีความหมายว่าอย่างไร

อักษร” คือลายลักษณ์ที่บันทึกเสียงหรือคำที่เปล่งออกมาเพื่อให้ผู้ที่รู้อักษรนั้นสามารถออกเสียงได้ตรงกับเสียงในภาษานั้น

ตัวอย่างเช่น –

(1) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

นี่คือ “อักษรไทย

(2) namo tassa bhagavato arahato sammāsambuddhassa

นี่คือ “อักษรโรมัน” (ที่เรามักเรียกติดปากว่าอังกฤษ)

แต่ข้อความทั้งสองข้อข้างต้นนี้ไม่ใช่ “ภาษาไทย” และก็ไม่ใช่ “ภาษาอังกฤษ

แต่เป็น “ภาษาบาลี

นี่คือความแตกต่างระหว่าง “ภาษา” กับ “อักษร” ที่หลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่าเหมือนกัน เช่นพูดว่า “พระคาถาชินบัญชรฉบับภาษาขอม” ซึ่งไม่มี

มีแต่พระคาถาชินบัญชรฉบับ “ภาษาบาลี” แต่เขียนเป็น “อักษรขอม” (ไม่ใช่ “ภาษาขอม” หรือ “ภาษาเขมร”)

ที่ใช้ผิดจนแก้ไม่ได้แล้วก็คือ เวลาเขียนชื่อไทยเป็นอักษรโรมัน (อังกฤษ) เช่นชื่อ “ทองย้อย แสงสินชัย” เขียนเป็น Thongyoi Sangsinchai

คนสมัยนี้จะพูดว่า “เขียนเป็นภาษาอังกฤษ” หรือ “แปลเป็นภาษาอังกฤษ

ทั้งๆ ที่ Thongyoi Sangsinchai ยังคงเป็น “ภาษาไทย” เพียงแต่เขียนด้วย “อักษรอังกฤษ” เท่านั้น

ไม่รู้ : แก้ด้วยการบอกให้รู้

รู้ผิดหรือเข้าใจผิด : แก้ด้วยการชี้แจงข้อเท็จจริง

แต่ยึดถือผิดเชื่อผิด : แก้อย่างไรก็ไม่หาย

#บาลีวันละคำ (781)

8-7-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *