บาลีวันละคำ

กุมภัณฑ์ (บาลีวันละคำ 1,345)

กุมภัณฑ์

อ่านว่า กุม-พัน

บาลีเป็น “กุมฺภณฺฑ” อ่านว่า กุม-พัน-ดะ

กุมฺภณฺฑ” ประกอบขึ้นจาก กุมฺภ + อณฺฑ

(๑) “กุมฺภ” (กุม-พะ)

รากศัพท์มาจาก –

1) (น้ำ) + อุมฺภ (ธาตุ = เต็ม, เจริญ) + ปัจจัย

: + อุมฺภฺ = กุมฺภ + = กุมฺภ แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภาชนะที่เขาบรรจุน้ำเต็ม” (2) “ภาชนะที่เจริญ” (คือสุกด้วยไฟ)

2) (ศีรษะ) + ภู (ธาตุ = มี) + ปัจจัย, แปลง ที่ เป็น อุ ( > กุ), ลงนิคหิตอาคม (กุ > กุํ) แล้วแปลงเป็น มฺ (กุํ > กุมฺ), ลบสระที่สุดธาตุ (ภู > )

: > กุ > กุํ > กุมฺ + ภู = กุมฺภู > กุมฺภ + = กุมฺภ แปลตามศัพท์ว่า “ภาชนะที่มีอยู่บนศีรษะ” (คือเขาทูนหัวไว้)

กุมฺภ” หมายถึง หม้อกลม, หม้อน้ำ (a round jar, waterpot)

(๒) “อณฺฑ” (อัน-ดะ)

รากศัพท์มาจาก –

1) อมฺ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, แปลง มฺ เป็น ณฺ

: อมฺ + = อมฺฑ > อณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งเป็นที่ไป” (คือเป็นที่เกิดขึ้นแห่งสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย)

2) อฑิ (ธาตุ = ออกไข่, วางไข่) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ ต้นธาตุเแล้วแปลงเป็น ณฺ ( > อํ > อณฺ), ลบสระที่สุดธาตุ (อฑิ > อฑ)

: อฑิ > อํฑิ > อณฺฑิ > อณฺฑ + = อณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ถูกไข่ออกมา

อณฺฑ” หมายถึง –

(1) ไข่ (an egg)

(2) ลูกอัณฑะ (the testicles)

(3) ถุงน้ำ (a water-bag)

กุมฺภ + อณฺฑ = กุมฺภณฺฑ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้มีอัณฑะใหญ่ประมาณเท่าหม้อ” (คือมีอวัยวะที่ลับใหญ่เหมือนหม้อ)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “กุมฺภณฺฑ” ไว้ว่า –

(1) a class of fairies or genii grouped with Yakkhas, Rakkhasas and Asuras (เทพยดาหรืออมนุษย์ชั้นหนึ่ง ซึ่งจัดกลุ่มไว้ในพวกยักษ์ รากษส และอสูร)

(2) a kind of gourd (น้ำเต้า, ฟักเขียว)

กุมฺภณฺฑ ในภาษาไทยใช้เป็น “กุมภัณฑ์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กุมภัณฑ-, กุมภัณฑ์ : (คำนาม) ยักษ์ เช่น หนึ่งท่าทานพกุมภัณฑ์คันธอสูร โสรจสินธุสมบูรณ์ ณ สระ (สมุทรโฆษ); ฟักเขียว เช่น ป่าเอลาลุอลาพุกุมภัณฑอคร้าวอนันต์ (สมุทรโฆษ).”

: อวดความใหญ่ เป็นได้แค่ยักษ์

: อวดความน่ารัก เป็นพระเป็นพรหม

4-2-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย