บาลีวันละคำ

โมโห ไม่ใช่โกรธ (บาลีวันละคำ 1,415)

โมโห

ไม่ใช่โกรธ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โมโห : (คำกริยา) โกรธ.”

ที่ พจน.54 บอกความหมายไว้เช่นนี้เป็นการบอกความหมายที่ใช้ในภาษาไทยตามความเข้าใจของคนทั่วไป แต่ “โมโห” ในบาลีเป็นคำนาม ไม่ใช่คำกริยา และไม่ได้หมายถึงโกรธ

โมโห” รูปคำเดิมเป็น “โมห” อ่านว่า โม-หะ รากศัพท์มาจาก มุหฺ (ธาตุ = หลงลืม) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ มุ-(หฺ) เป็น โอ (มุหฺ > โมห)

: มุหฺ + = มุหณ > มุห > โมห แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภาวะที่หลงเอง” (คือตัวของมันหลงเอง ไม่มีอะไรมาทำให้หลง) (2) “ภาวะเป็นเหตุหลงแห่งสัมปยุตธรรม” (คือเมื่อมันเข้าไปผสมกับอะไรก็ทำให้สิ่งนั้นเกิดอาการหลง)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “โมห” ว่า stupidity, dullness of mind & soul, delusion, bewilderment, infatuation (ความโง่, ความหลงและความลืม, ความเข้าใจผิด, ความงงงวย, ความหลงใหล)

คำว่า “โกรธ” เป็นรูปคำสันสกฤต บาลีเป็น “โกธ” (โก-ทะ) รากศัพท์มาจาก กุธฺ (ธาตุ = โกรธ) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ กุ-(ธฺ) เป็น โอ (กุธฺ > โกธ)

: กุธฺ + = กุธณ > กุธ > โกธ แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่โกรธ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “โกธ” ว่า anger (ความโกรธ)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปล โมหะ และ โกธะ เป็นอังกฤษดังนี้ –

(1) โมหะ (Moha): delusion; ignorance; dullness.

(2) โกธะ, โกรธ (Kodha): anger; furious or wrathful passion.

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “โมห” และ “โกฺรธ” ไว้ดังนี้ –

(1) โมห : (คำนาม) การสิ้นสติสมฤดี; อวิทยา; ทุกข์; ความผิด, มิถยามติ; สัมโมหะหรือความยุ่งใจ; fainting or loss of sense; ignorance or folly; pain or affliction; error, mistake; bewilderment or mental confusion.

(2) โกฺรธ : ความโกรธ; anger, wrath.

จะเห็นได้พจนานุกรมทุกเล่ม คำว่า “โมห” ไม่มีคำแปลที่หมายถึง “โกรธ” อยู่ด้วยเลย

อภิปราย :

๑ การที่เราเอาคำว่า “โมโห” มาใช้ในภาษาไทยแล้วแปลงความหมายเสียใหม่เป็น “โกรธ” ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของการยืมคำจากภาษาอื่น นอกจากคำว่า “โมโห” แล้วก็ยังมีคำบาลีอีกหลายคำที่เรายืมมาแล้วใช้ผิดไปจากความหมายเดิม เช่น –

เวทนา คำเดิมหมายถึงความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือเฉยๆ เราเอามาใช้ในความหมายว่า สังเวชสลดใจ

สงสาร คำเดิมหมายถึงการเวียนตายเวียนเกิด เราเอามาใช้ในความหมายว่า รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น

๒ การใช้คำผิดความหมายที่ผิดมานานแล้วจนกลายเป็นถูก ก็ต้องปล่อยตามเลย แต่คำใหม่ๆ ไม่ว่าจะยืมมาจากต่างภาษาหรือแม้แต่คำไทยของเราเอง ควรระวังไม่ให้ผิดความหมาย

๓ วิธีระวังก็คือ หาความรู้ให้แน่ชัดก่อนแล้วจึงใช้ อย่าสักแต่ว่าใช้ตามๆ กันไปแล้วอ้างว่า ใครๆ เขาก็ใช้อย่างนี้

: ภาษาเป็นเรื่องสมมุติ

: แต่กิเลสของมนุษย์เป็นเรื่องจริง

16-4-59

ต้นฉบับ