บาลีวันละคำ

เลศนัย (บาลีวันละคำ 1,453)

เลศนัย

พจน.54 บอกคำอ่านว่า เลด-ไน

ได้ยินคนเก่าอ่านกันว่า เลด-สะ-ไน

ประกอบด้วย เลศ + นัย

(๑) “เลศ

บาลีเป็น “เลส” (เล-สะ) รากศัพท์มาจาก ลิสฺ (ธาตุ = ติดอยู่, ข้องอยู่) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อิ ที่ ลิ-(สฺ) เป็น เอ (ลิสฺ > เลส)

: ลิสฺ + = ลิสณ > ลิส > เลส แปลตามศัพท์ว่า “เรื่องที่ติดข้องอยู่” หมายถึง การลวง, ข้ออ้างแก้ตัว, กลอุบาย, การแสร้งทำ (sham, pretext, trick)

เลส” ในภาษาไทยใช้เป็น “เลศ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เลศ : (คำนาม)  การแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที, มักใช้เข้าคู่กับคํา นัย เป็น เลศนัย. (ส.; ป. เลส).”

ข้อสังเกต :

๑. ในภาษาไทยมีคำว่า “อุปเท่ห์เล่ห์กล” คำว่า “อุปเท่ห์” เข้าใจกันว่าเลือนมาจากบาลีว่า “อุปเทส” (อุ-ปะ-เท-สะ อ่านแบบไทยว่า อุ-ปะ-เทด) = คำแนะนำ, คำสั่งสอน, การชี้แจง, การบ่งชี้

๒. พจน.สันสกฤตให้ความหมายคำว่า “อุปเทศ” ว่า คำแนะนำ, คำบอกหรือชี้แจง, คำสั่ง, คำสั่งสอน, มายา, การเริ่มแนะนำสั่งสอน, การบอกมนตร์หรือสูตรเบื้องต้น

๓. คำว่า “เท่ห์” เป็นเสียงโทเท่ากับ “เทส กลายเป็น การันต์ในภาษาไทย

๔. คำว่า “เลส” ในบาลี ถ้า กลายเป็น การันต์ ก็ตรงกับ “เล่ห์

๕. “เลส” ในบาลี = การลวง, ข้ออ้างแก้ตัว, กลอุบาย, การแสร้งทำ

เล่ห์” ในภาษาไทย = กลอุบายหรือเงื่อนงําอันอาจทําให้คนอื่นหลงผิด เข้าใจผิด

เลส” กับ “เล่ห์” จึงมีนัยสำคัญที่พึงสังเกต

(๒) “นัย

บาลีเป็น “นย” (นะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก นี (ธาตุ = นำไป, รู้) + ปัจจัย, แผลง อี ที่ นี เป็น เอ แล้วแปลง เอ เป็น อย (นี > เน > นย)

: นี > เน > นย + = นย แปลตามศัพท์ว่า (1) “การเป็นไป” (2) “อุบายเป็นเครื่องแนะนำ” (3) “วิธีที่พึงแนะนำ” (4) “วิธีเป็นเหตุให้รู้” หมายถึง หนทาง, วิธีการ, แผน, วิธี (way, method, plan, manner)

นย” ในภาษาไทยใช้ว่า “นัย” (ไน) พจน.54 บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) เค้าความที่ส่อให้เข้าใจเอาเอง

(2) ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้

(3) ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย

(4) แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย

(5) แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง

เลส + นย = เลสนย > เลศนัย

ยังไม่พบศัพท์ที่ประกอบรูปเช่นนี้ในคัมภีร์ “เลสนย > เลศนัย” จึงเป็นคำไทยที่ปรุงขึ้นจากบาลีสันสกฤต แต่ก็ยังมีความหมายตามคำเดิมอยู่

พจน.54 บอกไว้ว่า –

เลศนัย : (คำนาม) การพูดหรือแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที เช่น พูดเป็นเลศนัย ขยิบตาให้รู้เป็นเลศนัยว่าให้หยุดพูด.”

เลศนัย” ยังหมายถึงการกระทำที่ไม่ตรงไปตรงมา หรือไม่ซื่อ อย่างที่ภาษาไทยพูดว่า-ไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนตร์ก็เอาด้วยคาถา

: ศัตรูที่ไม่เซอะซะ

: วางใจได้มากกว่าสมณะที่มีเลศนัย

25-5-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย