บาลีวันละคำ

อสุภกรรมฐาน (บาลีวันละคำ 1,520)

อสุภกรรมฐาน

ศัพท์วิชาการที่ควรรู้

อ่าว่า อะ-สุบ-พะ-กํา-มะ-ถาน

ประกอบด้วย อสุภ + กรรมฐาน

(๑) “อสุภ

บาลีอ่านว่า อะ-สุ-พะ รากศัพท์มาจาก + สุภ

ก) “” (อะ) คำเดิมคือ “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

แปลง เป็น ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “สุภ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงต้องแปลง เป็น

ข) “สุภ” (สุ-พะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) สุ (คำอุปสรรค = ดี,งาม) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบสระที่สุดธาตุ (ภา > )

: สุ + ภา = สุภา + กฺวิ = สุภากฺวิ > สุภา > สุภ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่รุ่งเรืองด้วยดี

(2) สุภฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + ปัจจัย

: สุภฺ + = สุภ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งดงาม

(3) สุ (คำอุปสรรค = ดี,งาม) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบสระที่สุดธาตุ (ภู > )

: สุ + ภู = สุภู + กฺวิ = สุภูกฺวิ > สุภู > สุภ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นโดยสภาวะที่งดงาม

สุภ” ใช้เป็นคุณศัพท์หมายถึง (1) เจิดจ้า, สว่าง, งดงาม (shining, bright, beautiful) (2) ได้ฤกษ์, โชคดี, น่าพึงใจ (auspicious, lucky, pleasant)

สุภ” ใช้เป็นคำนามหมายถึง สวัสดิภาพ, ความดี, ความพึงใจ, ความสะอาด, ความสวยงาม, สุขารมณ์ (welfare, good, pleasantness, cleanliness, beauty, pleasure)

+ สุภ = อสุภ แปลตามศัพท์ว่า “ไม่งาม

อสุภ” ใช้เป็นคุณศัพท์หมายถึง ไม่บริสุทธิ์, ไม่น่าชื่นชม, น่าเกลียด, น่าระอาหรือร้ายกาจ (impure, unpleasant, bad, ugly, nasty)

อสุภ” ใช้เป็นคำนามหมายถึง ความน่าเกลียด, ความไม่บริสุทธิ์ (nastiness, impurity)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต แปลคำว่า “อสุภะ” เป็นอังกฤษว่า 1. ugly; loathsome. n. loathsomeness; impurity. 2. a corpse.

(๒) “กรรมฐาน

ประกอบด้วยคำว่า กรรม + ฐาน

ก) “กรรม” บาลีเป็น “กมฺม” (กำ-มะ) รากศัพท์คือ กรฺ (ธาตุ = กระทำ) + รมฺม (รำ-มะ) ปัจจัย, ลบ รฺ ที่ธาตุ : กรฺ > ก- และ ที่ปัจจัย : รมฺม > -มฺม

: กร > + รมฺม > มฺม : + มฺม = กมฺม (นปุงสกลิงค์)

กมฺม” สันสกฤตเป็น “กรฺม” ไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “กรรม” มีความหมายหลายอย่าง –

(1) การกระทำทั้งปวง เรียกว่า กรรม

(2) การถูกทำ, สิ่งที่ถูกทำ, ผลของการกระทำ ก็เรียกว่า กรรม

(3) การทำกิจการงาน, การประกอบอาชีพ ก็เรียกว่า กรรม

(4) พิธีกรรม, พิธีการต่างๆ ก็เรียกว่า กรรม

ความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปก็คือ การกระทำ, สิ่งที่ทำ, การงาน (action, the doing, deed, work) นิยมพูดทับศัพท์ว่า “กรรม

ข) “ฐาน” (ถา-นะ) รากศัพท์มาจาก ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน

: ฐา + ยุ > อน = ฐาน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ที่เป็นที่ตั้งแห่งผล

ฐาน” ใช้ในความหมายหลายอย่างตามแต่บริบท เช่น สถานที่, เขตแคว้น, ตำบล, แหล่ง, ที่อาศัย, ฐานะ, การตั้งอยู่, การดำรงอยู่, การหยุดอยู่, การยืน, ที่ตั้ง, ตำแหน่ง, เหตุ, โอกาส (ภาษาอังกฤษอาจใช้ได้หลายคำ เช่น place, region, locality, abode, part, state, condition, standing position, location, ground)

กมฺม + ฐาน = กมฺมฏฺฐาน (กำ-มัด-ถา-นะ)

โปรดสังเกตว่า มีอักษร ฏ ปฏัก ซ้อนแทรกระหว่าง กมฺม|ฏ|ฐาน

เขียนตามศัพท์เดิมเป็น “กัมมัฏฐาน” อ่านแบบไทยว่า กำ-มัด-ถาน

เขียนแบบลูกครึ่งสันสกฤต (กรรม) – บาลี (ฐาน) เป็น “กรรมฐาน” อ่านว่า กำ-มะ-ถาน

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บไว้ทั้ง “กัมมัฏฐาน” และ “กรรมฐาน” บอกความหมายไว้ว่า “ที่ตั้งแห่งการงาน หมายเอาอุบายทางใจ มี ๒ ประการ คือ สมถกรรมฐาน เป็นอุบายสงบใจ และวิปัสสนากรรมฐาน เป็นอุบายเรืองปัญญา”

พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

(1) กัมมัฏฐาน : ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ, วิธีฝึกอบรมจิตใจและเจริญปัญญา

(2) กัมมัฏฐาน 2 โดยหลักทั่วไป คือ 1. สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานเพื่อการทำจิตใจให้สงบ, วิธีฝึกอบรมเจริญจิตใจ 2. วิปัสสนากัมมัฏฐาน กรรมฐานเพื่อการให้เกิดความรู้แจ้ง, วิธีฝึกอบรมเจริญปัญญา”

(3) สิ่งที่นิยมใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกัมมัฏฐาน ซึ่งพึงเลือกใช้ให้เหมาะกับตน เช่นให้ตรงกับจริต มี 40 อย่าง ได้แก่ กสิณ 10 อสุภะ 10 อนุสสติ 10 พรหมวิหาร 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัตถาน 1 อรูป 4

ส่วนสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือรูป-นาม หรือขันธ์ 5

………….

อสุภ + กรรมฐาน = อสุภกรรมฐาน หมายถึง กรรมฐานที่ใช้วิธีพิจารณาซากศพเป็นอารมณ์ (reflection on impurity) ตามตำราท่านกำหนดให้พิจารณาซากศพที่อยู่ในสภาพต่างๆ 10 อย่าง เช่น ซากศพที่เน่าพองขึ้นอืด ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้ม ซากศพที่ขาดจากกันเป็น 2 ท่อน ซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ของ “อสุภกรรมฐาน” ก็คือ เพื่อให้จิตคลายจากการยึดติดความสวยงามหรือความอาลัยรักในร่างกาย บรรเทากามราคะ หายฟุ้งซ่าน

อสุภกรรมฐาน” เป็นสมถกรรมฐาน คือปฏิบัติเพื่อให้จิตสงบ เพื่อเป็นบาทฐานของการเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อไป

…………

: งามกาย ได้กำไร

: แต่งามใจได้กำไรกว่า

2-8-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย