บาลีวันละคำ

ปัญญาภูมิ (บาลีวันละคำ 2495)

ปัญญาภูมิ

ไม่ใช่ “ภูมิปัญญา

อ่านว่า ปัน-ยา-พูม

ประกอบด้วยคำว่า ปัญญา + ภูมิ

(๑) “ปัญญา

เขียนแบบบาลีเป็น “ปญฺญา” (มีจุดใต้ ตัวหน้า) อ่านว่า ปัน-ยา รากศัพท์มาจาก (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + ญา (ธาตุ = รู้) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ซ้อน ญฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ ( + ญฺ + ญา)

: + ญฺ + ญา = ปญฺญา + กฺวิ = ปญฺญากฺวิ > ปญฺญา แปลตามศัพท์ว่า (1) “ธรรมชาติเป็นเครื่องรู้” (2) “การรู้โดยทั่วถึง

นักอธิบายธรรมะอธิบายลักษณะของ “ปญฺญา” โดยอาศัยความหมายตามรากศัพท์ว่า “ปัญญา” มีความหมายว่า –

(1) “รู้ทั่วถ้วนทั่วถึง

(2) “รู้ล่วงหน้า” (รู้ว่าเหตุอย่างนี้จะเกิดผลอย่างไร, ต้องการผลอย่างนี้จะต้องทำเหตุอย่างไร)

(3) “รู้ก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิด

(4) “รู้แล้วนำชีวิตหลุดออกจากปัญหา พ้นจากทุกข์ได้

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แสดงความหมายของ “ปญฺญา” ไว้ดังนี้ –

(1) ความหมายตามตัวอักษร :

“intellect as conversant with general truths” (พุทธิปัญญาอันประกอบด้วยความช่ำชองในเรื่องสัจจะโดยทั่วๆ ไป)

(2) intelligence, comprising all the higher faculties of cognition (ความฉลาด, พุทธิปัญญาประกอบด้วยประติชานหรือความรู้ชั้นสูง)

(3) reason, wisdom, insight, knowledge, recognition (เหตุผล, ปัญญา, การเล็งเห็น, ความรู้, ประติชาน)

ปญฺญา” เขียนแบบไทยเป็น “ปัญญา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปัญญา : (คำนาม) ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).”

(๒) “ภูมิ

บาลีอ่านว่า พู-มิ รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + มิ ปัจจัย

: ภู + มิ = ภูมิ แปลตามศัพท์ว่า “สถานที่มีอยู่เป็นอยู่แห่งสัตว์โลก

ภูมิ” (อิตถีลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) พื้นดิน, ดิน, แผ่นดิน (ground, soil, earth)

(2) สถานที่, ถิ่น, แคว้น, แถบ, ภูมิภาค (place, quarter, district, region)

(3) พื้น, พื้นราบ, ขั้นตอน, ระดับ (ground, plane, stage, level)

(4) สถานะของความรู้สึกตัว (state of consciousness)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เก็บคำว่า “ภูมิ” ไว้ 3 คำ บอกความหมายไว้ดังนี้ –

(1) ภูมิ ๑, ภูมิ– (อ่านว่า พูม, พู-มิ-, พูม-มิ-) : (คำนาม) แผ่นดิน, ที่ดิน.

(2) ภูมิ ๒ (อ่านว่า พูม) : (คำนาม) พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้ เช่น อวดภูมิ อมภูมิ.

(3) ภูมิ ๓ (อ่านว่า พูม) : (คำวิเศษณ์) สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย, เช่น วางภูมิ.

ปญฺญา + ภูมิ = ปญฺญาภูมิ อ่านแบบบาลีว่า ปัน-ยา-พู-มิ แปลว่า “ภูมิหรือแหล่งของปัญญา” (ground or stage of wisdom)

ปญฺญาภูมิ” แปลทับศัพท์ว่า “ปัญญาภูมิ” อ่านว่า ปัน-ยา-พูม

ปัญญาภูมิ” หมายถึง พื้นฐานหรือแหล่งที่ก่อให้เกิดปัญญา หรือกระบวนการอบรมบ่มปัญญา กล่าวคือ เมื่อคิดหรือทำเช่นนั้นๆ แล้ว ปัญญาคือความรู้แจ้งเห็นจริงจะเกิดขึ้นจนสามารถดับทุกข์หรือแก้ปัญหาได้สิ้นเชิง

ในภาษาไทยมีคำว่า “ภูมิปัญญา” (พูม-ปัน-ยา) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

ภูมิปัญญา : (คำนาม) พื้นความรู้ความสามารถ.”

ภูมิปัญญา” เป็นรูปคำบาลี แต่ในคัมภีร์ยังไม่พบคำว่า “ภูมิปญฺญา” (พู-มิ-ปัน-ยา)

บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย” ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554 อธิบายขยายความคำว่า “ภูมิปัญญา” ไว้ดังนี้ –

…………..

“คำว่า ภูมิปัญญา มักใช้ว่า ภูมิปัญญาพื้นบ้าน หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน คือ ความรู้ความสามารถ ความชาญฉลาดของกลุ่มชนที่ใช้ในการสร้าง ประดิษฐ์ แก้ไข ปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพื่อให้อำนวยความสะดวกสบายและความสุขในการดำรงชีวิต โดยไม่ได้พึ่งเท็คโนโลยี่หรือความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่. เป็นความชาญฉลาดที่ทำให้สามารถพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมาใช้ในการดำรงชีพได้อย่างดี ความรู้และความฉลาดนั้นสั่งสมมาจากบรรพบุรุษและถ่ายทอดสืบต่อกันมา เช่น เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่เหมาะกับสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ การสร้างบ้านเรือนให้มีเสาสูง ทำให้รับสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเขตมรสุมได้ดี การเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอาหารตามฤดูกาล ทำให้ไม่เดือดร้อนเมื่ออาหารอย่างใดอย่างหนึ่งมีราคาแพงเกินไป เป็นต้น”

…………..

จะเห็นได้ว่า “ภูมิปัญญา” ในภาษาไทย กับ “ปัญญาภูมิ” ในบาลี มีความหมายแตกต่างกันอย่างมาก

ปญฺญาภูมิ” หรือ “ปัญญาภูมิ” ยังไม่เป็นที่รู้จักกันในภาษาไทย

ดูเพิ่มเติม: “ภูมิปัญญา” บาลีวันละคำ (572) 9-12-56

…………..

ดูก่อนภราดา!

ยาวเทว  อนตฺถาย

ญตฺตํ  พาลสฺส  ชายติ.

ที่มา: พาลวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 15

: ความรู้และอำนาจของคนชั่ว

: มีไว้เพื่อทำลายตัวของเขาเอง

#บาลีวันละคำ (2,495)

12-4-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *