บาลีวันละคำ

ปศุสัตว์ (บาลีวันละคำ 1,541)

ปศุสัตว์

อ่านว่า ปะ-สุ-สัด

ประกอบด้วย ปศุ + สัตว์

(๑) “ปศุ

บาลีเป็น “ปสุ” (ปะ-สุ) รากศัพท์มาจาก –

1) (คำอุปสรรค = ทั่ว, ข้างหน้า, ก่อน, ออก) + สุ (ธาตุ = ไหล, เปียก) + ปัจจัย

: + สุ = ปสุ + = ปสุ แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์ที่ไหลไป” (คือมุ่งไปสู่ความตาย)

2) ปสฺ (ธาตุ = ผูก, พัน) + อุ ปัจจัย

: ปสฺ + อุ = ปสุ แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์อันเขาผูกไว้” (คือกักขังหรือควบคุมให้อยู่ในเขตที่กำหนด)

นักเรียนบาลีแปลศัพท์ว่า “ปสุ” ตามตำราว่า “สัตว์ของเลี้ยง

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ปสุ” ว่า cattle (ปศุสัตว์, สัตว์เลี้ยง, วัวควาย)

ปสุ”บาลี เป็น “ปศุ” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ปศุ : (คำนาม) สัตว์ทั่วไป; แพะ; เทพานุจรหรือเทพบริวารของพระศิวะ; ปราณิน, สัตว์มีชีวิตทั่วไป; ยัญ; พลี; ปรมาตมาหรือเอศวรอาตมันของโลก; an animal in general, a beast; a goat; a subordinate deity or one of Śiva’s fallowers; any living being; a sacrifice, an oblation; the divine soul of the universe.”

คัมภีร์มหานิทเทส (พระไตรปิฎกเล่ม ๒๙ ข้อ ๔๒๗) ให้คำจำกัดความคำว่า “ปสุ” ไว้ว่า “ปสโวติ  อเชฬกา  กุกฺกุฏสูกรา  หตฺถิควาสฺสวฬวา ฯ (คำว่า “ปสโว [ = ปสุ] หมายถึง แพะ แกะ ไก่ หมู ช้าง วัว ม้า ลา)

(๒) “สัตว์

บาลีเป็น “สตฺต” (สัด-ตะ) รากศัพท์มาจาก สญฺช (ธาตุ = ติด, ข้อง) + ปัจจัย, ลบ ญฺช (สญฺช > ), ซ้อน ระหว่างธาตุกับปัจจัย

: สญฺช > + ตฺ + = สตฺต แปลตามศัพทว่า (1) “ผู้ติดข้องอยู่ในรูปารมณ์เป็นต้น” (2) “ผู้ยังผู้อื่นให้ติดข้อง” (3) “ผู้ประกอบด้วยคุณลักษณะของผู้ติดข้อง

ความหมายข้อ (3) หมายถึงว่าแม้ผู้ปราศจากกิเลสไม่ติดข้องอะไรอีกแล้ว ก็ยังเรียกว่า “สตฺต” ตามสำนวนนิยม

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สตฺต” ว่า a living being, creature, a sentient & rational being, a person (สัตว์โลก, สัตว์, สิ่งที่มีความรู้สึกและมีเหตุผล, คน)

สตฺต” สันสกฤตเป็น “สตฺตฺว” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “สัตว์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สัตว-, สัตว์ : (คำนาม) สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมากมีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็นสามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).”

ปสุ + สตฺต = ปสุสตฺต > ปศุสัตว์ แปลตามศัพท์ว่า “สัตว์คือสัตว์ของเลี้ยง

ปศุสัตว์” เป็นคำที่บัญญัติขึ้นใช้ในภาษาไทย ในคัมภีร์บาลีไม่พบศัพท์ว่า “ปสุสตฺต

ความหมายในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

(1) ปศุ : (คำนาม) สัตว์เลี้ยงสําหรับใช้แรงงาน เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย บางทีก็รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ใช้เป็นอาหารด้วย เช่น แพะ แกะ หมู, มักใช้ประกอบคํา สัตว์ เป็น ปศุสัตว์. (ส.; ป. ปสุ).

(2) ปสุ : (คำนาม) ปศุ. (ป.; ส. ปศุ).

ข้อสังเกต :

๑. พจน.54 เก็บไว้ทั้งคำว่า “ปศุ” (สันสกฤต) และ “ปสุ” (บาลี)

๒. คำว่า “ปศุ” พจน.54 บอกว่า มักใช้ประกอบคํา สัตว์ เป็น ปศุสัตว์ หมายความว่า มักใช้ว่า “ปศุสัตว์” มากกว่า “ปศุ” หรือ “ปสุ” คำเดียว

๓. แต่คำว่า “ปศุสัตว์” ไม่ได้เก็บไว้ใน พจน.54

๔. หน่วยราชการไทยมีชื่อ “กรมปศุสัตว์” สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรียกชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Department of Livestock Development.

๕. ตรวจสอบในพจนานุกรมอังกฤษ-บาลี ไม่มีคำว่า Livestock ที่แปลเป็นภาษาบาลี พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ก็ไม่ได้แปล “ปสุ” ว่า Livestock แต่แปลว่า cattle

…………..

อาหารนิทฺทา ภยเมถุนญฺจ

สามญฺญเมตปฺปสุภี นรานํ

ธมฺโม ว เตสํ อธิโก วิเสโส

ธมฺเมน หีนา ปสุภี สมานา.

กิน นอน กลัว และสืบพันธุ์

สี่อย่างนี้มีเสมอกันทั้งคนและปศุสัตว์

ธรรมะเท่านั้นที่ทำให้คนประเสริฐกว่าปศุสัตว์

เสื่อมจากธรรมะเสียแล้ว คนก็เท่ากับปศุสัตว์.

23-8-59

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย