บาลีวันละคำ

วิสฺสาสปรมา ญาติ (บาลีวันละคำ 2451)

วิสฺสาสปรมา ญาติ

พูดและเขียนให้ถูกวิธี ไม่ใช่ภาษาบาลีแบบไทย

อ่านว่า วิด-สา-สะ-ปะ-ระ-มา  ยา-ติ

ประกอบด้วยคำว่า “วิสฺสาส” “ปรมา” “ญาติ

(๑) “วิสฺสาส

โปรดสังเกต “วิสฺสาส” บาลีซ้อน สฺ อีกตัวหนึ่งหลัง วิ– อ่านว่า วิด-สา-สะ รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + สสฺ (ธาตุ = หายใจ) + ปัจจัย, ลบ , ซ้อน สฺ,ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ (วิ + สฺ + สสฺ), ทีฆะต้นธาตุ “ด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (สสฺ > สาส)

: วิ + สฺ + สสฺ = วิสฺสสฺ + = วิสฺสสณ > วิสฺสส > วิสฺสาส (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า (1) “ภาวะที่หายใจโดยพิเศษ” (คือทำให้สบายใจ) (2) “ภาวะที่หายใจได้อย่างวิเศษ” (คือปล่อยวางใจโดยปราศจากความสงสัย) หมายถึง ความเชื่อ, ความไว้วางใจ, ความสนิทสนม, ความคุ้นเคยกัน (trust, confidence, intimacy, mutual agreement)

บาลี “วิสฺสาส” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วิสาสะ” (ตัด ตัวสะกดออกตัวหนึ่ง) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วิสาสะ : (คำนาม) ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. (คำกริยา) พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).”

พจนานุกรมฯ บอกว่า บาลี “วิสฺสาส” สันสกฤตเป็น “วิศฺวาส

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

วิศฺวาส : (คำนาม) ‘วิศวาส,’ ความไว้ใจ, ความเชื่อ; trust or confidence, faith.”

สันสกฤต “วิศฺวาส” เราเอามาใช้ในภาษาไทย แผลง ที่ วิ– เป็น เป็น “พิศวาส” อ่านว่า พิด-สะ-หฺวาด

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

พิศวาส : (คำวิเศษณ์) รักใคร่, สิเนหา, เช่น ไม่น่าพิศวาส. (ส. วิศฺวาส; ป. วิสฺสาส ว่า ความคุ้นเคย).”

โปรดสังเกตว่า “พิศวาส” ในภาษาไทย ความหมายค่อนข้างแตกต่างจาก “วิศฺวาส”ในสันสกฤต และ “วิสฺสาส” ในบาลี

แต่ “วิสาสะ” ในภาษาไทย ความหมายยังคงตรงกับ “วิสฺสาส” ในบาลี

(๒) “ปรมา

รูปคำเดิมเป็น “ปรม” (ปะ-ระ-มะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ปร (ข้าศึก) + มรฺ (ธาตุ = ตาย) + กฺวิ ปัจจัย, ลบที่สุดธาตุ (มรฺ > ) และลบปัจจัย

: ปร + มรฺ = ปรมร + กฺวิ = ปรมรกฺวิ > ปรมร > ปรม แปลตามศัพท์ว่า “ยังข้าศึกให้ตาย

(2) (ยิ่ง, สุงสุด) + รมฺ (ธาตุ = ยินดี) + ปัจจัย

: + รมฺ + = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่ยินดีในความยิ่งใหญ่

(3) ปรฺ (ธาตุ = รักษา) + ปัจจัย = ปรม แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่รักษาความสูงสุดของตนไว้ได้

ปรม” เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)

ปรม” ภาษาไทยใช้ว่า “บรม” (บอ-รม) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

บรม, บรม– : (คำวิเศษณ์) อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม); (ภาษาปาก) อย่างที่สุด เช่น ขี้เกียจบรม บรมขี้เกียจ”

ในภาษาไทย “ปรม” ยังคงรูปเป็น “ปรม” ก็มี เช่นในคำว่า “ปรมินทร์” “ปรเมนทร์” เป็นต้น

(๓) “ญาติ

บาลีอ่านว่า ยา-ติ รากศัพท์มาจาก ญา (ธาตุ = รู้) + ติ ปัจจัย

ติ-ปัจจัยนี้เมื่อประกอบหลังธาตุ ทำให้คำนั้นมีฐานะเป็นคำนาม

: ญา + ติ = ญาติ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ผู้อันเขารู้กันว่าเป็นใคร” หมายถึง ญาติ, พี่น้อง (a relation, relative)

การประสมคำและอธิบาย :

(๑) วิสฺสาส + ปรม = วิสฺสาสปรม (วิด-สา-สะ-ปะ-ระ-มะ) ใช้เป็นคุณศัพท์ แปลว่า “มีความคุ้นเคยเป็นเลิศ

(๒) “วิสฺสาสปรม” ใช้เป็นคุณศัพท์ของคำว่า “ญาติ” (ยา-ติ) ซึ่งเป็นอิตถีลิงค์ จึงต้องเปลี่ยนรูปเป็นอิตถีลิงค์ตาม “ญาติ

วิสฺสาสปรม” จึงเป็น “วิสฺสาสปรมา” (วิด-สา-สะ-ปะ-ระ-มา)

(๓) ข้อความนี้เป็นคาถา ( = กาพย์กลอนในภาษาบาลี) หนึ่งบาทหรือหนึ่งวรรค มี 8 พยางค์ เขียนรวมกันจึงเป็น

วิสฺสาสปรมา ญาติ” (วิด-สา-สะ-ปะ-ระ-มา ยา-ติ)

ข้อความเต็มๆ ของคาถาบทนี้ เป็นดังนี้ –

เขียนแบบบาลี :

อาโรคฺยปรมา  ลาภา

สนฺตุฏฺฐีปรมํ  ธนํ

วิสฺสาสปรมา  ญาติ

นิพฺพานปรมํ  สุขํ.

เขียนแบบคำอ่าน :

อาโรค๎ยะปะระมา  ลาภา

สันตุฏฐีปะระมัง  ธนัง

วิสสาสะปะระมา  ญาติ

นิพพานะปะระมัง  สุขัง.

ที่มา: สุขวรรค ธรรมบท พระไตรปิฎกเล่ม 25 ข้อ 25

หมายเหตุ:

– คำว่า “ญาติ” (-ติ สระอิ) ในคาถานี้ บางแห่งเป็น “ญาตี” (-ตี สระอี)

– คำว่า “นิพฺพานปรมํ” บางแห่งเป็น “นิพฺพานํ ปรมํ

แปลโดยพยัญชนะ (ตามสำนวนบาลี) —

ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรคเป็นเลิศ

ทรัพย์ มีความสันโดษเป็นเลิศ

ญาติ มีความคุ้นเคยเป็นเลิศ

สุข มีพระนิพพานเป็นเลิศ

แปลโดยอรรถ (ถอดความ) —

ความไม่มีโรค เป็นบรมลาภ

ความสันโดษ เป็นบรมทรัพย์

ความคุ้นเคย เป็นบรมญาติ

พระนิพพาน เป็นบรมสุข

เฉพาะ “วิสฺสาสปรมา  ญาติ” = ญาติ มีความคุ้นเคยเป็นเลิศ หรือความคุ้นเคยเป็นบรมญาติ หมายความว่า ถ้าคุ้นเคยกันแล้วก็นับว่าเป็นญาติกันอย่างเลิศยิ่งกว่าเป็นญาติโดยสายเลือดเสียอีก

…………..

โปรดสังเกตว่า “วิสฺสาสปรมา  ญาติ” แบ่งคำเป็น 2 วรรค คือ “วิสฺสาสปรมา” วรรคหนึ่ง และ “ญาติ” อีกวรรคหนึ่ง

เมื่อมีผู้นำพุทธภาษิตนี้ไปพูดหรือเขียน มักพูดเป็น “วิสาสา ปรมา ญาติ” คือแบ่งคำเป็น 3 วรรค เป็น วิสาสา / ปรมา / ญาติ และแปลกันว่า “ความคุ้นเคยเป็นญาติอย่างยิ่ง” (วิสาสา = ความคุ้นเคย, ญาติ = เป็นญาติ, ปรมา = อย่างยิ่ง)

โปรดทราบว่าเป็นการแบ่งวรรคแบ่งคำที่ผิดจากต้นฉบับ

เฉพาะคำว่า “วิสาสา” ยังสะกดผิดอีกด้วย รูปคำบาลีเป็น “วิสฺสาสา” (ซ้อน สฺ อีกตัวหนึ่งหลัง วิ-)

ในคาถาบทนี้ มีอีกวรรคหนึ่งที่รู้จักกันแพร่หลาย และถูกนำไปพูดและเขียนผิดจากต้นฉบับกันทั่วไป นั่นคือวรรคแรก “อาโรคฺยปรมา  ลาภา” ต้นฉบับแบ่งคำเป็น 2 วรรค ก็เอาไปพูดและเขียนกันว่า อโรคยา ปรมา ลาภา (อะโรคะยา / ปะระมา / ลาภา)

เมื่อมีการทักท้วงการนำไปอ้างผิดจากต้นฉบับ ก็มีผู้ออกมาแก้ต่างว่า ไม่ควรจะถือว่าผิด แต่ควรถือว่าใช้ได้เหมือนกัน เพราะนี่เป็น “ภาษาบาลีแบบไทย”

ภาษาบาลีเป็นภาษาที่มีแบบแผน มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน และไม่มีภาษาบาลีแบบไทย แบบจีน แบบลาว หรือแบบไหน แต่มีแบบเดียวคือ ภาษาบาลีแบบบาลี

หน้าที่ของผู้สนใจคือ เรียนรู้ให้ตรงตามมาตรฐาน

ไม่ใช่ดึงมาตรฐานลงมาหาความไม่รู้

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เรียนรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด เป็นบัณฑิตได้สบายๆ

: อธิบายผิดให้เป็นถูก โง่เข้ากระดูกไปจนตาย

#บาลีวันละคำ (2,451) 27-2-62

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *