บาลีวันละคำ

ธรรมิกราช (บาลีวันละคำ 1,625)

ธรรมิกราช

อ่านว่า ทำ-มิ-กะ-ราด

ประกอบด้วย ธรรมิก + ราช

(๑) “ธรรมิก

บาลีเป็น “ธมฺมิก” (ทำ-มิ-กะ) ประกอบด้วย ธมฺม + อิก ปัจจัย

ก. “ธมฺม” (ทำ-มะ) รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (ธรฺ > ) และ ต้นปัจจัย (รมฺม > มฺม)

: ธรฺ > + รมฺม > มฺม : + มฺม = ธมฺม แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้

ธมฺม” สันสกฤตเป็น “ธรฺม” เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ธรรม” ในภาษาไทยไว้ดังนี้ –

(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม

(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า

(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม

(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม

(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม

(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ

(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ

(8) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม

ข. ธมฺม + อิก = ธมฺมิก แปลตามศัพท์ว่า “ประกอบด้วยธรรม

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ธมฺมิก” ไว้ดังนี้ –

(1) lawful, according to the Dhamma or the rule (ชอบด้วยกฎหมาย, ถูกตามธรรมหรือกฎเกณฑ์)

(2) proper, fit, right (สมควร, เหมาะสม, ถูกต้อง)

(3) permitted, legitimate, justified (ได้รับอนุญาต, ถูกกฎหมาย, มีเหตุผลถูกต้อง)

(4) righteous, honourable, of good character, just (ชอบธรรม, มีเกียรติ, มีอุปนิสัยดี, ยุติธรรม)

ธมฺมิก” เขียนอิงสันสกฤตเป็น “ธรรมิก

พจน.54 บอกไว้ว่า –

ธรรมิก, ธรรมิก– : (คำวิเศษณ์) ประกอบในธรรม, ประพฤติเป็นธรรม, ทรงธรรม, เช่น ธรรมิกราช สหธรรมิก. (ส.; ป. ธมฺมิก).”

(๒) “ราช

บาลีอ่านว่า รา-ชะ แปลตามรากศัพท์ว่า –

(1) “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก

ความหมายนี้ประกอบขึ้นจาก ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + ปัจจัย = ราช

หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

(2) “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี

ความหมายนี้ประกอบขึ้นจาก รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี พอใจ) + ปัจจัย, ลบ ลบ ญฺ แผลง เป็น รา = ราช

หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ)

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน ใช้นำหน้าคำให้มีความหมายว่า เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน, เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน หรือเป็นของหลวง

ในภาษาไทย พจน.54 บอกไว้ว่า –

ราช ๑, ราช– : (คำนาม) พระเจ้าแผ่นดิน, พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์, คํานี้มักใช้ประกอบกับคําอื่น, ถ้าคําเดียวมักใช้ว่า ราชา.”

ธมฺมิก + ราช = ธมฺมิกราช > ธรรมิกราช แปลว่า “พระราชาผู้ประกอบด้วยธรรม

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ธมฺมิกราช” ว่า a righteous King (ราชาผู้เที่ยงธรรม)

………….

ในคัมภีร์บาลี เมื่อกล่าวถึงพระราชาผู้เป็น “ธรรมิกราช” จะมีคำแสดงลักษณะอันเป็นคุณสมบัติประจำพระองค์ว่า –

… อยํ  โข  ปนาปิ  อโหสิ  ราชา  ธมฺมิโก  ธมฺมราชา  หิโต  พฺราหฺมณคหปติกานํ  เนคมานญฺเจว  ชานปทานญฺจ …

… อนึ่ง พระราชาพระองค์นี้ทรงเป็นธรรมิกราช (ดำรงอยู่ในธรรม) ทรงเป็นธรรมราชา (ปกครองโดยธรรม) ทรงบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลแก่สมณะชีพราหมณ์ ราษฎร ทั้งชาวเมืองและชาวชนบททั้งหลาย …

………….

: ไม่ยากที่จะหาวิธีขึ้นมาเป็นผู้นำ

: แต่จะเป็นผู้ปกครองที่ทรงธรรม-ยากมากๆ

15-11-59