บาลีวันละคำ

อักโกธะ-ข้อ 7 ในทศพิธราชธรรม (บาลีวันละคำ 1,636)

อักโกธะ-ข้อ 7 ในทศพิธราชธรรม

………………………………………

ทศพิธราชธรรม” (ทด-สะ-พิด-ราด-ชะ-ทำ)

บาลีเป็น “ทสวิธราชธมฺม” (ทะ-สะ-วิ-ทะ-รา-ชะ-ทำ-มะ)

ทส = สิบ (จำนวนสิบ)

วิธ = มี-ชนิด, ประกอบด้วย-, มี-อย่าง, มี-ประการ

ราช = พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ปกครองบ้านเมือง

ธมฺม = หลักธรรม, หลักการ, หลักปฏิบัติ

ทสวิธ” แปลว่า “มีสิบอย่าง” (tenfold)

ราชธมฺม” แปลว่า “ราชธรรมหรือหลักของการเป็นพระเจ้าแผ่นดิน”, คือ กฎของการปกครอง, แบบแผนของความเป็นกษัตริย์ (“king’s rule,” i. e. rule of governing, norm of kingship)

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [326] ราชธรรม 10 บอกความหมายไว้ว่า –

“ธรรมของพระราชา, กิจวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินควรประพฤติ, คุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง, ธรรมของนักปกครอง (Rājadhamma: virtues or duties of the king; royal virtues; virtues of a ruler).”

ทสวิธราชธมฺม – ทศพิธราชธรรม” ประกอบด้วย – 1 ทาน 2 ศีล 3 ปริจจาคะ 4 อาชชวะ 5 มัททวะ 6 ตบะ 7 อักโกธะ 8 อวิหิงสา 9 ขันติ 10 อวิโรธนะ

………………………………………

อักโกธะ” เขียนแบบบาลีเป็น “อกฺโกธ” (อัก-โก-ทะ) รากศัพท์มาจาก + โกธ

(๑) “” (อะ) คำเดิมคือ “” (นะ) เป็นศัพท์จำพวกนิบาต แปลว่า ไม่, ไม่ใช่ (no, not)

แปลง เป็น ตามกฎการประสมของ + กล่าวคือ :

(1) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แปลง เป็น – เช่น

: + มนุสฺส = นมนุสฺส > อมนุสฺส > อมนุษย์

อมนุษย์” รากเดิมจึงไม่ใช่ + มนุษย์ อย่างที่ตาเห็นในภาษาไทย

(2) ถ้าคำหลังขึ้นต้นด้วยสระ (อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) แปลง เป็น อน

ในที่นี้ “โกธ” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ จึงต้องแปลง เป็น

โปรดสังเกต :

โกธ ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ” ในภาษาไทย รูปคำ “โก-” ขึ้นต้นด้วยสระ โอ ก็จริง แต่เสียงที่เป็นตัวนำคือพยัญชนะ ( + โอ = โก) ไม่ใช่เสียงสระ โอ– เป็นตัวนำ การที่เขียนสระ โอ อยู่หน้าเป็นเพียงกฎเกณฑ์ทางอักขรวิธีของไทย

ถ้าเขียนเป็นอักษรโรมันซึ่งถือกันว่าเป็นอักษรสากลที่ใช้เขียนภาษาบาลีจะเห็นชัด คือ kodha ขึ้นต้นด้วย k ซึ่งเป็นพยัญชนะ

(๒) “โกธ” อ่านว่า โก-ทะ รากศัพท์มาจาก กุธฺ (ธาตุ = กำเริบ, โกรธ, เคือง) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อุ ที่ กุ-(ธฺ) เป็น โอ (กุธ > โกธ)

: กุธฺ + = กุธฺณ > กุธ > โกธ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่กำเริบ” “อาการเป็นเหตุให้กิริยาวาจาใจกำเริบ” หมายถึง ความโกรธ (anger)

บาลี “โกธ” สันสกฤตเป็น “โกฺรธ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

โกฺรธ : (คำนาม) ความโกรธ; anger, wrath.”

ภาษาไทยใช้ตามสันสกฤตเป็น “โกรธ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

โกรธ : (คำกริยา) ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า “ทรงพระโกรธ” เช่น ก็จะทรงพระโกรธดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).”

ประกอบคำ “อกฺโกธ :

แปลงเป็น + โกธ , ซ้อน กฺ ระหว่าง กับ โกธ ( + กฺ + โกธ)

> + กฺ + โกธ = อกฺโกธ แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่กิริยาวาจาใจกำเริบหามิได้

อกฺโกธ” หมายถึง ความไม่โกรธ, การยอมตาม, ความประนีประนอม (freedom from anger, meekness, conciliation)

อกฺโกธ” ในที่นี้เขียนตามบาลีเป็น “อักโกธะ” อ่านว่า อัก-โก-ทะ

……………

ความหมายเฉพาะของ “อักโกธะ” ข้อ 7 ในทศพิธราชธรรม :

คัมภีร์ชาตกัฏฐกถา ภาค 8 อันเป็นคัมภีร์ที่อธิบายมหาหังสชาดกซึ่งเป็นที่มาของหลักทศพิธราชธรรม หน้า 283 ไขความคำว่า “อักโกธะ” ไว้ว่า –

เมตฺตาปุพฺพภาโค  อกฺโกโธ

แปลว่า “ส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา ชื่อว่า อักโกธะ

ไขความว่า คุณสมบัติที่ต้องการในที่นี้คือเมตตา

แต่จะมีเมตตาได้ ต้องเริ่มต้นด้วย “อักโกธะ” การไม่โกรธ

เมื่อใดทำใจให้ไม่โกรธได้ เมื่อนั้นเมตตาก็เริ่มต้นได้

เรามักแนะนำกันว่า-ให้หมั่นเจริญเมตตา

แต่มักจะไม่ได้แนะนำให้เริ่มต้นด้วยการไม่โกรธ

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [326] ขยายความไว้ว่า –

อักโกธะ (ความไม่โกรธ คือ ไม่กริ้วกราดลุอำนาจความโกรธ จนเป็นเหตุให้วินิจฉัยความและกระทำการต่างๆ ผิดพลาดเสียธรรม มีเมตตาประจำใจไว้ระงับความเคืองขุ่น วินิจฉัยความและกระทำการด้วยจิตอันราบเรียบเป็นตัวของตนเอง — Akkodha: non-anger; non-fury).”

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ระเบิด ทำลายตัวมันเองก่อนที่ไปทำลายสิ่งอื่น ฉันใด

: คนโกรธ ก็ทำลายตัวเองก่อน ฉันนั้น

26-11-59