บาลีวันละคำ

สัทธรรมปฏิรูป (บาลีวันละคำ 894)

สัทธรรมปฏิรูป

ประกอบด้วย สัทธรรม + ปฏิรูป

(๑) “สัทธรรม

อ่านว่า สัด-ทำ บาลีเป็น “สทฺธมฺม” อ่านว่า สัด-ทำ-มะ

คำเดิมมาจาก สนฺต + ธมฺม

ธมฺม” แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้” มีความหมายหลายหลาก ความหมายในที่นี้ คือ หลักการ, หลักปฏิบัติ, คำสอน (a general rule, general practice, doctrine) ซึ่งอาจผิดหรือถูก อาจเป็นคำสอนของคนดีหรือคนร้ายก็ได้

สนฺต” (สัน-ตะ) แปลว่า สัตบุรุษ หรือคนดี หมายถึงอริยบุคคล

สนฺต + ธมฺม กระบวนการทางไวยากรณ์ คือ –

(1) แปลง –นฺต (ที่ สนฺต) เป็น : สนฺต > สท + ธมฺม = สทฺธมฺม

(2) แปลง สนฺต เป็น ซ้อน : สนฺต > + + ธมฺม = สทฺธมฺม

สทฺธมฺม” เขียนแบบไทยเป็น “สัทธรรม” แปลตามศัพท์ว่า “ธรรมของสัตบุรุษคือพระอริยบุคคล” “ธรรมของสัตบุรุษที่ยังความเป็นสัตบุรุษให้สำเร็จได้” หมายถึง ธรรมะของคนดี, คำสอนที่ถูกต้อง, หลักการปฏิบัติที่นำไปสู่ความเป็นอริยบุคคล

เป็นการจำกัดความชัดเจนว่า “ธรรม” ในที่นี้หมายถึงคำสอนที่ถูกต้อง ไม่ใช่คำสอนผิดๆ

(๒) “ปฏิรูป

ภาษาไทยอ่านว่า ปะ-ติ-รูบ บาลีอ่านว่า ปะ-ติ-รู-ปะ

ปฏิรูป < ปฏิ + รูป แปลตามศัพท์ว่า “รูป ( = การกระทำหรือสิ่งใดๆ ก็ตาม) ที่ยอมรับได้” “รูปที่เหมาะ

ปฏิรูป ในภาษาบาลีมีความหมาย 2 อย่าง คือ –

(1) พอเหมาะ, สมควร, เหมาะสม, เหมาะเจาะ, เป็นไปได้ (fit, proper, suitable, befitting, seeming)

(2) เหมือน, คล้าย, ปลอม, แฝงร่าง, มีรูปร่างเหมือน (like, resembling, disguised as, in the appearance of, having the form), ตบตา (an optical delusion)

ในที่นี้ ปฏิรูป มีความหมายตามข้อ (2)

ความหมายนี้บาลีมักใช้เป็น “ปฏิรูปก” (ปะ-ติ-รู-ปะ-กะ)

สทฺธมฺม + ปฏิรูปก = สทฺธมฺมปฏิรูปก > สัทธรรมปฏิรูป แปลว่า สัทธรรมปลอม, คำสอนผิดที่แฝงอยู่ในคำสอนถูก, คำสอนถูกที่ถูกบิดเบือน

: แค่ยอมรับว่าผิด ก็เป็นบัณฑิตทันที

#บาลีวันละคำ (894)

29-10-57

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *