บาลีวันละคำ

ปาพจน์ (บาลีวันละคำ 1,655)

ปาพจน์

คำสำคัญที่สุด แต่ชาวพุทธแทบไม่รู้จัก

อ่านว่า ปา-พด

ปาพจน์” บาลีเป็น “ปาวจน” อ่านว่า ปา-วะ-จะ-นะ คำเดิมมาจาก + วจน

(๑) “” อ่านว่า ปะ ตัดคำมาจาก “ปธาน” (ปะ-ทา-นะ) หมายถึง เป็นใหญ่, เป็นหัวหน้า, สำคัญ, เป็นหลัก, ประธาน

: ปธาน >

(๒) “พจน์

บาลีเป็น “วจน” (วะ-จะ-นะ) รากศัพท์มาจาก วจ (ธาตุ = พูด) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ)

: วจฺ + ยุ > อน = วจน แปลตามศัพท์ว่า “คำอันเขาพูด” “คำเป็นเครื่องพูด

วจน” ในบาลีหมายถึง –

(1) คำพูด, การเปล่งเสียง, ถ้อยคำ, การร้องเรียก (speaking, utterance, word, bidding)

(2) วิธีแสดงออกซึ่งคำพูด, พจน์, การแสดงออก (way of speech, term, expression)

+ วจน ทีฆะ อะ ที่ เป็น อา ( > ปา)

: + วจน = ปวจน > ปาวจน แปลตามศัพท์ว่า “คำเป็นประธาน” หมายถึง คำหรือถ้อยคำ, ปาพจน์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระดำรัสของพระพุทธเจ้า (a word, esp. the word of the Buddha)

วจน” ในภาษาไทยแผลง เป็น จึงเป็น “พจน” และไม่ต้องการออกเสียง จึงใส่ไม้ทัณฑฆาตเป็น “พจน์” และอ่านว่า พด

: ปาวจน > ปาพจน์

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ปาพจน์ : (คำนาม) คําเป็นประธาน, พุทธวจนะ, คําบาลี. (ป. ปาวจน).”

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ไทย-อังกฤษ ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต บอกไว้ว่า –

ปาพจน์ (Pāvacana) : the fundamental text; the Scriptures; the Dhamma and the Vinaya; the Doctrine and the Discipline.”

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ข้อ [35] ขยายความไว้ดังนี้ –

ปาพจน์ 2 : (วจนะอันเป็นประธาน, พุทธพจน์หลัก, คำสอนหลักใหญ่ — Pāvacana: fundamental text; fundamental teaching)

1. ธรรม (คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ และแนะนำหลักความดีที่ควรประพฤติ —Dhamma: the Doctrine)

2. วินัย (ข้อบัญญัติที่วางไว้เป็นหลักกำกับความประพฤติให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอกัน —Vinaya: the Discipline)

…………..

สรุปว่า –

ปาพจน์” แปลว่า “ถ้อยคำอันเป็นประธาน” คือคำของพระพุทธเจ้า

ปาพจน์” หมายถึง พระธรรมวินัย อันเป็นเนื้อเป็นตัวของพระพุทธศาสนา

…………..

ดูก่อนภราดา!

: การจะรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคง ทำได้วิธีเดียวเท่านั้น

: คือรักษาปาพจน์ไว้ให้มั่นคง, ไม่มีวิธีอื่น

………..

ถ้ารักษาปาพจน์ให้ผ่องแผ้ว

พุทธศาสน์คลาดแคล้วจากภัยผอง

ถ้าเหยียบย่ำธรรมวินัยไม่ไตร่ตรอง

จะเรียกร้องใครช่วยเห็นป่วยการ

———–

(ตอบคำถาม Ratana Burana)

15-12-59