บาลีวันละคำ

เยาว์วัย – วัยเยาว์ (บาลีวันละคำ 1,685)

เยาว์วัยวัยเยาว์

มีคำบาลี 2 คำ คือ “เยาว์” และ “วัย

(๑) “เยาว์

บาลีเป็น “ยุว” (ยุ-วะ) รากศัพท์มาจาก ยุ (ธาตุ = ปะปน, ผสม) + ปัจจัย แผลง อุ ที่ ยุ เป็น โอ แปลง โอ เป็น อุว

: ยุ > โย > ยุว + = ยุว แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ปะปนกัน” คือมีลักษณะผสมกันระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ หรือพ้นจากวัยเด็ก แต่ยังไม่เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ความหมายก็คือ คนหนุ่มคนสาว (a youth)

กระบวนการกลายคำ “ยุว” เป็น “เยาว์” คือ –

1 แปลง อุ ที่ ยุ เป็น โอ = โยว (โย-วะ)

2 แปลง โอ เป็น เอา = เยาว (เยา-วะ)

(ถ้าตามสูตรบาลีต้องบอกว่า แปลง โอ เป็น อว (อะ-วะ) เสียง “อว” ในบาลีเท่ากับ “เอา” ในเสียงไทย)

3 ในภาษาไทย ถ้าอยู่ท้ายคำ ไม่ออกเสียง จึงการันต์ที่ = เยาว์ อ่านว่า เยา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า

เยาว์ : (คำวิเศษณ์) อ่อนวัย, รุ่นหนุ่ม, รุ่นสาว, เช่น เยาว์วัย วัยเยาว์. (แผลงมาจาก ยุว)”

(๒) “วัย

บาลีเป็น “วย” (วะ-ยะ) รากศัพท์มาจาก วยฺ (ธาตุ = ไป, ถึง) + ปัจจัย

: วยฺ + = วย (ปุงลิงค์) (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ถึงความเสื่อมไป” หมายถึง อายุ, โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัยรุ่น, วัยฉกรรจ์, วัยหนุ่ม (age, especially young age, prime, youth)

บาลี “วย” ใช้ในภาษาไทยเป็น “วัย” (ไว)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า

วัย, วัย– : (คำนาม) เขตอายุ, ระยะของอายุ, เช่น วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยชรา. (ป., ส. วย).”

…………..

อภิปราย :

ในทางธรรม แบ่ง “วัย” ออกเป็น 3 ช่วง คือ –

(1) ปฐมวัย = วัยแรก (youth)

(2) มัชฌิมวัย = วัยกลาง (middle age)

(3) ปัจฉิมวัย = วัยหลังหรือวัยท้าย (old age)

ในภาษาไทย เอาคำว่า “เยาว์” กับ “วัย” มาพูดรวมกันเป็น “เยาว์วัย” หรือ “วัยเยาว์” หมายถึง อ่อนวัย, รุ่นหนุ่ม, รุ่นสาว ตรงกับ ปฐมวัย = วัยแรก (youth)

การแบ่งวัยเป็น 3 ช่วงเช่นนี้ มีปัญหาว่าจะนับอายุตั้งแต่ไหนถึงไหนเป็นวัยไหน

ตามหลักก็ควรเอาอายุขัย คือช่วงเวลาที่มนุษย์แต่ละยุคสมัยควรจะมีอายุยืนยาวเท่าไร เป็นตัวตั้ง แล้วหาร 3 ผลลัพธ์คือช่วงอายุของแต่ละวัย

โคลงโลกนิติ แถลงคติเรื่องวัยไหนควรทำสิ่งไรไว้ว่า –

๏ ปางน้อยสำเหนียกรู้…..เรียนคุณ

ครั้นใหญ่ย่อมหาทุน……..ทรัพย์ไว้

เมื่อกลางแก่แสวงบุญ…..ธรรมชอบ

ยามหง่อมทำใดได้………แต่ล้วนอนิจจัง๚ะ๛

(ประชุมโคลงโลกนิติ ฉบับหอสมุดแห่งชาติ หมายเลข 113)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่าเพียงแต่คิดว่าชีวิตนี้จะอยู่ไปอีกกี่ปี

: แต่จงคิดด้วยว่าวันนี้ทำความดีแล้วหรือยัง

14-1-60