บาลีวันละคำ

ยุทธนาวี (บาลีวันละคำ 974)

ยุทธนาวี

อ่านว่า ยุด-ทะ-นา-วี

บาลีเขียน “ยุทฺธนาวี” (มีจุดใต้ ทฺ)

ประกอบด้วย ยุทฺธ + นาวี

(๑) “ยุทฺธ” (ยุด-ทะ)

รากศัพท์มาจาก ยุธฺ (ธาตุ = รบ, ต่อสู้) + ปัจจัย, แปลง ธฺต เป็น ทฺธ

: ยุธฺ + = ยุธฺต (ธฺต > ทฺธ) = ยุทฺธ แปลตามศัพท์ว่า “การต่อสู้กัน” หมายถึง สงคราม, การรบ, การต่อสู้ (war, battle, fight)

(๒) “นาวี” รากศัพท์มาจาก นาวา + ณิ ปัจจัย (ยืดเสียงเป็น ณี)

(1) นุ (ธาตุ = ชมเชย, สรรเสริญ) + ปัจจัย, แผลง อุ (ที่ นุ) เป็น โอ แล้วแปลงเป็น อาว, ลบ , ลง อา ปัจจัยอิตถีลิงค์

: นุ > โน > นาว + = นาว + อา = นาวา แปลตามศัพท์ว่า “พาหนะอันผู้คนชมเชย

(2) นี (ธาตุ = นำไป) + ปัจจัย, แผลง อี (ที่ นี) เป็น เอ แล้วแปลงเป็น อาว, ลบ , ลง อา ปัจจัยอิตถีลิงค์

: นี > เน > นาว + = นาว + อา = นาวา แปลตามศัพท์ว่า “พาหนะที่นำจากฝั่งไปสู่ฝั่ง

นาวา หมายถึง เรือ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ให้คำแปลทั้ง boat และ ship

นาวา + ณิ (ลบ > อิ > อี) = นาวี แปลว่า “เกี่ยวกับเรือ” “ผู้ประกอบหน้าที่ในเรือ” หมายถึง ทหารเรือ, นายเรือ, นายท้ายเรือ, ชาวเรือ, คนประจำเรือ (a navy, a sailor, mariner, a seaman, a ferryman)

ยุทฺธ + นาวี = ยุทฺธนาวี > ยุทธนาวี

คำนี้ถ้าแปลจากหลังมาหน้าตามหลักทั่วไปของบาลี ต้องแปลว่า ทหารเรือผู้เข้าสงคราม หรือ ทหารเรือนักรบ

แต่ความหมายที่ประสงค์ของคำนี้ต้องการพูดถึงการรบหรือสงครามเป็นหลัก ดังนั้นจึงต้องแปลจากหน้าไปหลัง ดังที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ยุทธนาวี : (คำนาม) สงครามทางเรือ เช่น ยุทธนาวีที่เกาะช้าง.”

———-

17 มกราคม 2484 ฝรั่งเศสส่งกองกำลังทางเรือเข้ามารุกล้ำน่านน้ำไทย ประเทศไทยส่งกำลังทางเรือเข้าสกัด เกิดการปะทะกันที่บริเวณเกาะช้าง ในอ่าวไทย เขตจังหวัดตราด

เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกกันว่า “ยุทธนาวีเกาะช้าง”

———-

: ชนะศึกร้อยครั้งในสงคราม

: ไม่สง่างามเท่าชนะใจตัวเองครั้งเดียว

#บาลีวันละคำ (974)

17-1-58

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *