บาลีวันละคำ

ศุภยาตรา (บาลีวันละคำ 1,806)

ศุภยาตรา

อ่านว่า สุบ-พะ-ยาด-ตฺรา

แยกศัพท์เป็น ศุภ + ยาตรา

(๑) “ศุภ

บาลีเป็น “สุภ” (สุ เสือ) อ่านว่า สุ-พะ รากศัพท์มาจาก –

(1) สุ (คำอุปสรรค = ดี,งาม) + ภา (ธาตุ = รุ่งเรือง) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบสระที่สุดธาตุ (ภา > )

: สุ + ภา = สุภา + กฺวิ = สุภากฺวิ > สุภา > สุภ (ปุงลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะที่รุ่งเรืองด้วยดี

(2) สุภฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + ปัจจัย

: สุภฺ + = สุภ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่งดงาม

(3) สุ (คำอุปสรรค = ดี,งาม) + ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + กฺวิ ปัจจัย, ลบ กฺวิ, ลบสระที่สุดธาตุ (ภู > )

: สุ + ภู = สุภู + กฺวิ = สุภูกฺวิ > สุภู > สุภ (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นโดยสภาวะที่งดงาม

สุภ” ใช้เป็นคุณศัพท์หมายถึง –

(1) เจิดจ้า, สว่าง, งดงาม (shining, bright, beautiful)

(2) ได้ฤกษ์, โชคดี, น่าพึงใจ (auspicious, lucky, pleasant)

สุภ” ใช้เป็นคำนามหมายถึง สวัสดิภาพ, ความดี, ความพึงใจ, ความสะอาด, ความสวยงาม, สุขารมณ์ (welfare, good, pleasantness, cleanliness, beauty, pleasure)

บาลี “สุภ” สันสกฤตเป็น “ศุภ” (ศุ ศาลา)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

(1) ศุภ : (คำวิเศษณ์) เปนสุขหรือมีสุข, มีโชคหรือเคราะห์ดี, มีหรือเป็นมงคล; งาม; วิศิษฏ์; คงแก่เรียน; happy, fortunate, auspicious; handsome, beautiful; splendid; learned.

(2) ศุภ : (คำนาม) มงคล; ศุภโยค, โชคหรือเคราะห์ดี; สุข; นักษัตรโยคอันหนึ่ง; คณะเทพดา; ข้าวหลาม; อาภา; โสภาหรือความงาม; auspiciousness; good junction or consequence, good fortune; happiness; one of the astronomical Yogas; an assemblage of the gods; bamboo-manna; light; beauty.

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศุภ– : (คำนาม) ความงาม, ความดีงาม, ความเจริญ. (ส.; ป. สุภ).”

(๒) “ยาตรา

บาลีเป็น “ยาตฺรา” (มีจุดใต้ ตฺ) อ่านว่า ยาด-ตฺรา รากศัพท์มาจาก ยา (ธาตุ = ไป, ถึง, บรรลุ) + ตฺรณ ปัจจัย, ลบ (ตฺรณ > ตฺร) + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ยา + ตฺรณ = ยาตฺรณ > ยาตฺร + อา = ยาตฺรา แปลตามศัพท์ว่า “การไป

ยาตฺรา” ในบาลีหมายถึง –

(1) การเดินทาง, การไป, การยาตรา, ความเคยชินที่ดี (travel, going on, proceeding, good habit)

(2) การดำเนินไป, การดำรงชีพ, การยังชีพ, การบำรุงรักษา (going on, livelihood, support of life, maintenance)

บาลี “ยาตฺรา” สันสกฤตก็ใช้ในรูปเดียวกัน

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

ยาตฺรา : (คำนาม) การไป, การเดิรทาง, การเคลื่อนที่; แห่, การแห่แหนเพื่อความครึกครื้น; การชักเวลาให้ล่วงไป; ประเพณี, ธรรมเนียม, ประโยค; งารสมโภช; อุบาย; การยาตราของกองทหารที่ยกเข้าตี; ตีรถยาตรา, การไปสู่บุณยสถาน; going, travelling, moving; a procession; passing away time; usage, custom, practice; a holy festival; an expedient; the march of assailing force; going to pilgrimage.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ยาตร, ยาตรา : (คำกริยา) เดิน, เดินเป็นกระบวน. (ป., ส.).”

ศุภ + ยาตรา = ศุภยาตรา แปลตามศัพท์ว่า “การเดินทางที่งดงาม” หมายถึง การเดินทางที่สะดวกสบายและมีความสุขทุกประการ

…………..

ศุภยาตรา” เป็นคำที่มีความหมายที่ดี ประดุจคำขวัญที่รู้จักกันดีของสายการบิน AIR INDIA

…………..

ดูก่อนภราดา!

: เดินเท้าไปทำกุศล

: ดีกว่าโดยสารยานยนต์ไปปล้นเขากิน

19-5-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย