บาลีวันละคำ

ทีฆะ – รัสสะ (บาลีวันละคำ 1,832)

ทีฆะรัสสะ

เรื่องของยาวๆ สั้นๆ

อ่านว่า ที-คะ รัด-สะ

เป็นคำ 2 คำ คือ “ทีฆะ” คำหนึ่ง “รัสสะ” คำหนึ่ง แต่มักเอ่ยถึงควบคู่กันไป

(๑) “ทีฆะ

บาลีเขียน “ทีฆ” อ่านว่า ที-คะ รากศัพท์มาจาก ทุ (ธาตุ = ไป) + ปัจจัย, แปลง อุ ที่ ทุ เป็น อี (ทุ > ที)

: ทุ + = ทุฆ > ทีฆ แปลตามศัพท์ว่า “ระยะที่เป็นไปด้วยเสียงที่ไกล

ทีฆ” ในบาลี ถ้าเป็นคุณศัพท์ แปลว่า ยาว (long) ถ้าเป็นคำนาม แปลว่า งู (a snake)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ทีฆ– : (คำแบบ คือคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป) (คำวิเศษณ์) ยาว, นาน, ยั่งยืน. (ป.; ส. ทีรฺฆ).”

ทีฆ” ที่เราคุ้นกันดี ก็คือคำว่า “ทีฆายุโก” หรือ “ทีฆายุกา” ในคำถวายถวายพระพร

โปรดสังเกตและใส่ใจไว้ว่า “ทีฆที ทหาร ไม่ใช่ ฑี มณโฑ

(๒) “รัสสะ

บาลีเขียน “รสฺส” อ่านว่า รัด-สะ รากศัพท์มาจาก รสฺ (ธาตุ = ส่งเสียง; เสื่อม, สิ้น) + ปัจจัย

: รสฺ + = รสฺส แปลตามศัพท์ว่า (1) “ผู้อันเขาร้องทัก” (คือถูกล้อเลียนค่อนแคะ) (2) “ถูกทำให้สิ้นไป” (คือทำให้หดสั้นลง)

รสฺส” ใช้เป็นคุณศัพท์ หมายถึง –

(1) สั้น (short)

(2) = “รสฺสสรีร” มีตัวเตี้ย, แคระ (dwarfish, stunted)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รัส-, รัสสะ : (คำวิเศษณ์) สั้น. (ป.).”

…………..

ขยายความ และข้อสังเกต :

ทีฆะรัสสะ” ในแง่ภาษา เป็นคำที่มักพูดคู่เคียงกัน

ในทางไวยากรณ์บาลี :

เมื่อพูดว่า “ทีฆะ” หมายถึง “ทำสระเสียงสั้นให้เป็นเสียงยาว

เมื่อพูดว่า “รัสสะ” หมายถึง “ทำสระเสียงยาวให้เป็นเสียงสั้น

สระที่จะทำให้เป็นเสียงสั้น-เสียงยาวในที่นี้หมายถึงสระที่เป็นเสียงสั้น-ยาวคู่กัน คือ –

อะอา

อิอี

อุอู

เช่นบอกว่า ทำสระ อะ ให้เป็นเสียงยาว ก็คือ ทำ อะ ให้เป็น อา ไม่ใช่ทำ อะ ให้เป็น อี หรือให้เป็น อู

ในภาษาไทย มีคำว่า “ทีฆสระ” (ที-คะ-สะ-หฺระ) และ “รัสสระ” (รัด-สะ-สะ-หฺระ)

รัสสระ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

รัสสระ : (คำนาม) สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อํา ใอ ไอ เอา. (ป.).”

ทีฆสระ” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า –

ทีฆสระ : (คำนาม) สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.”

ต่อมา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ได้มีการปรับแก้คำนิยามเล็กน้อย คือบอกไว้ว่า –

ทีฆสระ : (คำนาม) สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู ฤๅ ฦๅ เอ ไอ โอ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว.”

ที่ปรับแก้ก็คือ ฉบับ 42 สระเสียงยาวในภาษาไทยมี ฤๅ ฦๅ ด้วย แต่ฉบับ 54 ตัด ฤๅ ฦๅ ออก ดังจะให้เข้าใจว่า ฤๅ ฦๅ ไม่ใช่สระเสียงยาว หรือไม่ก็ ฤๅ ฦๅ ไม่ใช่สระ

แต่ในคำว่า “รัสสระ” คือสระเสียงสั้น พจนานุกรมฯ ฉบับ 42 มีคำว่า เป็นสระเสียงสั้น ฉบับ 54 ก็ยังคงมี เป็นสระเสียงสั้น

สรุปตามมติของพจนานุกรมฯ ว่า

เป็นสระเสียงสั้น

แต่ ฤๅ ฦๅ ไม่ใช่สระเสียงยาว หรือไม่ก็-ไม่ใช่สระ

เป็นเรื่องที่ควรศึกษาหาเหตุผลกันต่อไป

อนึ่ง โปรดสังเกตว่า ทั้ง “ทีฆ-” และ “รัส-” (หรือ “รัสสะ”) เป็นคำวิเศษณ์เหมือนกัน คำว่า “ทีฆ-” พจนานุกรมฯ บอกว่าเป็นคำแบบ คือคำที่ใช้เฉพาะในหนังสือ ไม่ใช่คำพูดทั่วไป แต่คำว่า “รัส-” (หรือ “รัสสะ”) พจนานุกรมฯ ไม่ได้บอกว่าเป็นคำแบบ

นี่ก็เป็นเรื่องที่ควรศึกษาหาเหตุผลกันต่อไป เพราะพจนานุกรมฯ ของเรามีอะไรที่ชอบกลๆ อยู่เสมอ

สรุปความหมายสั้นๆ : “ทีฆะ” แปลว่า ยาวรัสสะ” แปลว่า สั้น

…………..

: ชีวิตสั้น

: แต่ผลงานยาว

ดูก่อนภราดา!

ท่านชอบสั้นหรือชอบยาว?

14-6-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย