บาลีวันละคำ

เสถียรภาพ (บาลีวันละคำ 1,894)

เสถียรภาพ

ทำไมจึงไม่เสถียร

อ่านว่า สะ-เถียน-ระ-พาบ

(ตาม พจน.54)

ประกอบด้วย เสถียร + ภาพ

(๑) “เสถียร

บาลีเป็น “ถิร” (ถิ-ระ) รากศัพท์มาจาก ฐา (ธาตุ = ยืน, ตั้งอยู่) + อิร ปัจจัย, ลบ อา ที่ ฐา (ฐา > ), แปลง เป็น

: ฐา > + อิร = ฐิร > ถิร แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ดำรงอยู่” หมายถึง แข็ง, แน่นอน, มั่นคง; หนัก, มีพลังอำนาจ (solid, hard, firm; strenuous, powerful)

ถิร” ในบาลีเป็น “สฺถิร” ในสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

(สะกดตามต้นฉบับ)

สฺถิร : (คำคุณศัพท์) อันมั่นคง, อันไม่เคลื่อนที่; แข็ง; นิตย์, สถายินหรือคงทน; เย็น; สัตย์ซื่อ; firm, immovable; hard or solid; permanent; durable; cool; faithful.”

ภาษาไทยใช้อิงสันสกฤต แต่แปลงรูปเป็น “เสถียร

: ถิร > สถิร > เสถียร

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เสถียร, เสถียร– : (คำวิเศษณ์) มั่นคง, แข็งแรง, คงตัว. (ส. สฺถิร; ป. ถิร).”

(๒) “ภาพ

บาลีเป็น “ภาว” (พา-วะ) รากศัพท์มาจาก ภู (ธาตุ = มี, เป็น) + ปัจจัย, ลบ , แผลง อู เป็น โอ, แปลง โอ เป็น อาว

: ภู + = ภูณ > ภู > โภ > ภาว แปลตามศัพท์ว่า “ความมี” “ความเป็น

ภาว” หมายถึง ความมี, ความเป็น, ภาวะ, ธรรมชาติ (being, becoming, condition, nature)

ภาว แปลง เป็น : ภาว > ภาพ เมื่อใช้ต่อท้ายคำอื่น แปลว่า “การ–” หรือ “ความ–” แบบเดียวกับภาษาอังกฤษที่ลงท้ายว่า -ness, -tion หรือ -ty

ภาพ” ในภาษาไทย นอกจากคงตามบาลีแล้ว ความหมายยังเคลื่อนที่ไปอีก

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ภาพ, ภาพ– : (คำนาม) ความ, ความมี, ความเป็น, มักใช้ประกอบเป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น มรณภาพ ว่า ความตาย; รูปที่ปรากฏเห็นหรือนึกเห็น เช่น ภาพทิวทัศน์ ภาพในฝัน, สิ่งที่วาดขึ้นเป็นรูปหรือสิ่งที่ถ่ายแบบไว้ เช่น ภาพสีน้ำมัน ภาพถ่าย. (ป., ส. ภาว).”

เสถียร + ภาพ = เสถียรภาพ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

เสถียรภาพ : (คำนาม) ความมั่นคง, ความคงตัว, ความไม่เปลี่ยนแปลง, เช่น เสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจไม่ดีรัฐบาลก็ไม่มีเสถียรภาพ.”

เสถียรภาพ” แปลงกลับเป็นบาลีเป็น “ถิรภาว” (ถิ-ระ-พา-วะ) แปลตามศัพท์ว่า “ภาวะแห่งสิ่งที่มั่นคง

ถิรภาว” เป็นศัพท์ที่มีใช้ในคัมภีร์บาลีทั่วไป

ชวนสังเกต :

รูปสระ “อิร” “อีร” ในบาลีนิยมแปลงเป็น “เอียร” ในภาษาไทย เช่น –

จิร = เจียร (นาน, ช้านาน, ยืนนาน)

ชีร = เชียร (แก่ครํ่าคร่า, ชํารุด)

ธีร = เธียร (นักปราชญ์, ฉลาด)

วชิร = วิเชียร (วชิระ, สายฟ้า; เพชร; อาวุธพระอินทร์)

วีร = เวียร > เพียร (ความบากบั่น, พยายาม)

สิร > ศิร = เศียร (ศีรษะ, หัว)

และ ถิร > สถิร = เสถียร

ศัพท์บัญญัติบอกว่า –

เสถียร” บัญญัติจากภาษาอังกฤษว่า stable (“ไม่เสถียร” บัญญัติจากภาษาอังกฤษว่า unstable)

เสถียรภาพ” บัญญัติจากภาษาอังกฤษว่า stability

พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปล stable ว่า มั่นคง, ทำให้สม่ำเสมอ, เสถียรภาพ

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ถิร” ว่า solid, hard, firm; strenuous, powerful (ดูข้างต้น) ไม่มีคำแปลเป็นอังกฤษว่า stable

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน แปล “สฺถิร” เป็นอังกฤษว่า firm, immovable; hard or solid; permanent; durable; cool; faithful (ดูข้างต้น) ก็ไม่มีคำแปลเป็นอังกฤษว่า stable เช่นเดียวกัน

พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล stable เป็นบาลีว่า –

(1) thira ถิร (ถิ-ระ) = มั่นคง

(2) acala อจล (อะ-จะ-ละ) = ไม่หวั่นไหว, ภูเขา

(3) thāvara ถาวร (ถา-วะ-ระ) = ถาวร, มั่นคง

(4) dhuva ธุว (ทุ-วะ) = ยั่งยืน

(5) ciraṭṭhāyī จิรฏฺฐายี (จิ-รัด-ถา-ยี) = ดำรงอยู่ยืนนาน

(6) akampiya อกมฺปิย (อะ-กำ-ปิ-ยะ) = ไม่หวั่นไหว

และแปล stability เป็นบาลีว่า –

(1) thiratta ถิรตฺต (ถิ-รัด-ตะ) = ความมั่นคง

(2) dhuvatta ธุวตฺต (ทุ-วัด-ตะ) = ความยั่งยืน

(3) ciraṭṭhitikatta จิรฏฺฐิติกตฺต (จิ-รัด-ถิ-ติ-กัด-ตะ) = การดำรงอยู่ยั่งยืนนาน

(4) ṭhiti ฐิติ (ถิ-ติ) = การดำรงอยู่

(5) saṇṭhiti สณฺฐิติ (สัน-ถิ-ติ) = การดำรงอยู่เป็นอันดี

คำที่เลียนเสียง stability ได้ใกล้เคียงที่สุดคือ saṇṭhiti สณฺฐิติ

…………..

อภิปราย :

เสถียรภาพ” พจนานุกรมฯ ให้อ่านว่า สะ-เถียน-ระ-พาบ

ลองอ่านตามดูแล้ว พอออกเสียงว่า -เถียน- จะต่อไปว่า-ระ- ลิ้นกระดกยากมาก เพราะเสียง-เถียน ปลายลิ้นต้องแตะเพดานเต็มๆ พอจะออกเสียง-ระ- ต้องกระดกปลายลิ้น โดดจากเพดานมาที่ปลายลิ้นระยะทางไกลเกินไป

ถ้าอ่านว่า สะ-เถีย-ระ-พาบ (-เถีย- ไม่ใช่-เถียน-) เสียง -เถีย- ปลายลิ้นยังไม่แตะเพดาน จึงต่อไปที่เสียง -ระ-กระดกปลายลิ้นได้สะดวกกว่า

ลองทำดู แล้วจะรู้ว่า สะ-เถีย-ระ-พาบ เป็นธรรมชาติมากกว่า สะ-เถียน-ระ-พาบ

…………..

ดูก่อนภราดา!

ไม่ว่าวงการใดๆ …

: ถ้ายังไม่คิดจะบำราบกิเลสให้ราบคาบ

: ก็ยากที่จะหวังให้มีเสถียรภาพที่ถาวร

16-8-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย