บาลีวันละคำ

กัณหาชาลี (บาลีวันละคำ 2,092)

กัณหาชาลี

ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ

(คำในชุดนามานุกรมเวสสันดรชาดก)

อ่านว่า กัน-หา-ชา-ลี

ประกอบด้วยคำว่า กัณหา + ชาลี  

(๑) “กัณหา

ตัดมาจากคำเต็มว่า “กัณหาชินา” บาลีเป็น “กณฺหาชินา” (กัน-หฺนา-ชิ-นา) ประกอบด้วยคำว่า กณฺห + อชิน

(ก) “กณฺห” (กัน-หฺนะ) รากศัพท์มาจาก กสฺ (ธาตุ = เขียน) + ณฺห ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (กสฺ > )

: กสฺ + ณฺห = กสณฺห > กณฺห แปลตามศัพท์ว่า “ขีดเขียนเป็นสี” หมายถึง สีดำ, มืด (black, dark) (ตรงข้ามกับความสว่าง [light])

(ข) “อชิน” (อะ-ชิ-นะ) รากศัพท์มาจาก อชฺ (ธาตุ = ไป, ถึง, เป็นไป) + อิน ปัจจัย

: อชฺ + อิน = อชิน (นปุงสกลิงค์) แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะที่ไปสู่การขาย” (คือเป็นสินค้าที่ขายได้)

อชิน” ถ้าแปลเป็นคำกลางๆ คือ หนัง, หนังสัตว์, หนังฟอก (skin, hide, leather) แต่ในที่บางแห่งจำกัดความหมายลงไปที่หนังกวาง (antelope’s hide)

กณฺห + อชิน = กณฺหาชิน แปลว่า หนังกวางสีดำ (a black antelope’s hide)

พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ ขยายความไว้ว่า the hide of the black antelope, worn as a garment by ascetics (หนังกวางสีดำ ซึ่งฤๅษีนำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม)

กณฺหาชิน + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ จึงเป็น “กณฺหาชินา” แปลตามศัพท์ว่า “สาวน้อยผู้นอนเหนือหนังกวางดำ

กณฺหาชินา” เขียนในภาษาไทยเป็น “กัณหาชินา” เป็นชื่อพระธิดาของพระเวสสันดร เป็นน้องของ “ชาลี” เหตุที่ได้นามเช่นนี้นัยว่าเมื่อประสูตินั้นชาวพนักงานใช้หนังกวางดำรองรับ

ในภาษาไทยตัดมาเรียกสั้นๆ ว่า “กัณหา” ถ้าไม่สืบไปถึงคำเต็ม อาจชวนให้อธิบายเพลินไปว่า พระธิดาองค์นี้มีพระฉวีคล้ำหรือผิวดำ จึงชื่อว่า “กัณหา” ซึ่งแปลว่าดำ หรือดำคล้ำ

(๒) “ชาลี

คำเดิมมาจาก ชาล + อี ปัจจัย

(ก) “ชาล” (ชา-ละ) รากศัพท์มาจาก –

(1) ชล (น้ำ) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นศัพท์ คือ อะ ที่ -(ล) เป็น อาด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (ชล > ชาล)

: ชล + = ชลณ > ชล > ชาล แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องมือที่เป็นประโยชน์ในน้ำ

(2) (แทนศัพท์ว่า “สีฆ” = เร็ว) + ลา (ธาตุ = จับ, ถือเอา) + ปัจจัย, ทีฆะ อะ ที่ เป็น อา ( > ชา), ลบสระที่สุดธาตุ (ลา > )

: + ลา = ชลา > ชล + = ชล > ชาล แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องมือจับเนื้อเป็นต้นที่วิ่งเร็ว

ชาล” (นปุงสกลิงค์) หมายถึง ตาข่าย; ร่างแห, เครื่องกีดกัน (a net; netting, entanglement); หลุมพราง, การหลอกลวง (snare, deception)

(ข) ชาล + อี ปัจจัย : ชาล + อี = ชาลี แปลว่า “ผู้มีข่าย

ในภาษาไทย คำว่า “ชาลี” ไม่มีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542

แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มีคำว่า “ชาลี” บอกไว้ว่า –

ชาลี : (คำนาม) ผู้มีร่างแห, ผู้มีตาข่าย. (ป., ส. ชาล ว่า ร่างแห).”

ชาลี” เป็นชื่อพระโอรสของพระเวสสันดร เป็นพี่ของ “กัณหาชินา” เหตุที่ได้นามเช่นนี้นัยว่าเมื่อประสูตินั้นชาวพนักงานนำข่ายทองเข้าไปรองรับ

ในภาษไทย เมื่อตัดคำว่า “กัณหาชินา” มาเรียกสั้นๆ ว่า “กัณหา” จึงนิยมใช้เป็นคำแรกเพราะมีคำว่า “ชาลี” มารับสัมผัสเป็น “กัณหาชาลี” คล่องปากมากกว่า “ชาลีกัณหา

แต่ในมหาเวสสันดรชาดกภาษาบาลี เมื่อเอ่ยถึงชื่อทั้ง 2 นี้พร้อมกัน ท่านใช้เป็น “ชาลี กณฺหาชินา” เสมอ

ในมหาเวสสันดรชาดก “กัณหาชาลี” มีบทบาทสำคัญคือยอมเสียสละเป็นทาสของชูชกที่มาขอต่อพระเวสสันดร เป็นการอำนวยเหตุให้พระเวสสันดรได้บำเพ็ญ “ปุตตทานบารมี” (บารมีคือการยอมสละลูกให้เป็นทาน) ได้สำเร็จ และเพราะบำเพ็ญบารมีข้อนี้ได้สำเร็จ จึงเป็นปัจจัยให้พระเวสสันดรได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าในพระชาติสุดท้าย

ในตอนกลับชาติ คัมภีร์บอกว่า ชาลีกุมารกลับชาติมาเกิดเป็นพระราหุลเถระ กัณหาชินากลับชาติมาเกิดเป็นพระอุบลวรรณาเถรี

…………..

ดูก่อนภราดา!

เบื้องหลังความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่

มาจากส่วนประกอบชิ้นเล็กๆ เสมอ

: อย่ามัวแต่ภูมิใจเงินล้านจนลืมนึกถึงเศษสตังค์

: อย่าเอาแต่สรรเสริญแม่ทัพคนดังจนลืมนึกถึงพลทหารคนสุดท้าย

—————–

(คำในชุดนี้ได้ความคิดจากคำถามของ วงษ์ชนะ สุรเชษฐ์)

#บาลีวันละคำ (2,092)

5-3-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย