บาลีวันละคำ

นาคร (บาลีวันละคำ 1,972)

นาคร

ภาษาไทยอ่านว่า นา-คอน

บาลีอ่านว่า นา-คะ-ระ

นาคร” คำเดิมมาจาก นคร + ปัจจัย

(๑) “นคร” (นะ-คะ-ระ) รากศัพท์มาจาก –

(1) นค (อาคารสูง เช่นปราสาท) + ปัจจัย

: นค + = นคร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่มีปราสาทเป็นต้น

(2) (แทนศัพท์ “ธนธญฺญาทิสมฺปุณฺณ” = สมบูรณ์ด้วยทรัพย์และ ข้าวเปลือกเป็นต้น หมายถึงเครื่องอุปโภคบริโภคมีบริบูรณ์) + ฆร (บ้านเรือน), แปลง เป็น

: + ฆร = นฆร > นคร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ซึ่งบ้านเรือนบริบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค

(3) นค (อาคารสูง เช่นปราสาท) + รา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (รา > )

: นค + รา = นครา > นคร + = นคร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่ถือเอาซึ่งสิ่งปลูกสร้างที่สูง” (คือมีสิ่งปลูกสร้างสูงๆ)

นคร” (นปุงสกลิงค์) ความหมายเดิมในบาลีหมายถึง ป้อม, ที่มั่น, ป้อมปราการ (a stronghold, citadel, fortress) ต่อมาจึงหมายถึง นครหรือเมือง (ที่มีป้อมค่าย) (a [fortified] town, city)

นคร” เป็นทั้งรูปบาลีและสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “นคร” ไว้ดังนี้ –

นคร : (คำนาม) ‘นคร,’ บุรี, กรุง, เมืองเอก, ‘เมืองใหญ่หรือราชธานี;’ a town, a city, a capital or metropolis.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นคร, นคร– : (คำนาม) เมืองใหญ่, กรุง. (ป., ส.).”

(๒) นคร + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะต้นศัพท์ คือ อะ ที่ -(คร) เป็น อาด้วยอำนาจปัจจัยเนื่องด้วย ” (นคร > นาคร)

: นคร + = นครณ > นคร > นาคร แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เกิดในเมือง” “ผู้อยู่ในเมือง” หมายถึง ชาวนคร, ชาวเมือง (a citizen, townsfolk)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “นาคร” ไว้ดังนี้ –

(สะกดตามต้นฉบับ)

นาคร : (คำวิเศษณ์) ฉลาด, แหลมคม, รอบรู้, เกิดในกรุงหรือได้รับการอบรมในกรุง; นามหีน, อนามก, ไม่มีชื่อ; ชั่ว, ถ่อย; clever, sharp, knowing; town-born or town-bred; nameless; bad, vile; – (คำนาม) นคร, กรุง; นครชน, ปุรวาสิน, ชาวกรุง; ขิงแห้ง; เลขยรูป, อักษรเทวนาครี; ภาตฤของวามิน; ส้ม; ปาฐก, อัธยายก, อุปเทศก, ผู้แสดงศาสน์หรือประปาฐะ; การประติเษธความรู้ ( =ประติเสธว่าไม่รู้); ความเหนื่อย; ความปรารถนาปรมคติหรือนิรวาณ; หญิงเจ้าเล่ห์หรือเสเพล, นางตัวเอ้, ‘นางแม่แปรด’ ก็ใช้; a city; a citizen; dry ginger; a form of writing, the Devanāgarī  alphabet; a husband’s brother; an orange; a lecturer; denial of knowledge; fatigue; desire of final beatitude; a clever woman; an intriguing one.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นาคร : (คำนาม) ชาวนคร, ชาวกรุง. (ป., ส.).”

ในภาษาบาลี คำตรงข้ามกับ “นาคร” คือ “ชานปท” (ชา-นะ-ปะ-ทะ) มาจากคำว่า “ชนปท” (ชะ-นะ-ปะ-ทะ) = ชนบท, บ้านนอก (inhabited country, the country)

ชนปท > ชานปท หมายถึง เป็นของชนบท, อยู่ในชนบท (belonging to the country, living in the country); ชาวบ้านนอก (country-folk)

…………..

อภิปราย :

นาคร – ชาวกรุง” หมายถึงผู้ที่เจริญแล้ว คุณสมบัติที่แสดงถึงความเจริญแล้วควรอธิบายด้วยหลักธรรมในคันธารชาดกตามพุทธภาษิตที่ว่า –

โน  เจ  อสฺส  สกา  พุทฺธิ

วินโย  วา  สุสิกฺขิโต

วเน  อนฺธมหึโสว

จเรยฺย  พหุโก  ชโน.

ที่มา: คันธารชาดก สัตตกนิบาต พระไตรปิฎกเล่ม 27 ข้อ 1048

กล่าวคือ นาคร-ชาวกรุงควรมีคุณสมบัติพื้นฐาน 2 ประการ คือ

สกา พุทฺธิ = สติปัญญา ความรู้ความสามารถอันคู่ควรแก่สถานะหน้าที่ในสังคม (ไม่ใช่ประเภท-มีตำแหน่งฐานะสูง แต่โง่เขลาเบาปัญญา)

สุสิกฺขิตวินโย = ฝึกฝนอบรมตนเองให้อยู่ในระเบียบวินัย กฎกติกามารยาท รู้จักผิดชอบชั่วดี มีสำนึกที่ดีว่าอะไรควรไม่ควร เว้นการควรเว้น ประพฤติการควรประพฤติ

พุทธภาษิตข้างต้นนั้นแปลตามสำนวนผู้เขียนบาลีวันละคำว่า –

สำนึกที่จะทำหน้าที่ของตนให้ถูกต้องก็ไม่มี

กติกามารยาทที่ดีก็ไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม

ถ้าเป็นอย่างนี้ สังคมก็ไม่ผิดอะไรกับควายป่าตาบอด

…………..

ดูก่อนภราดา!

: คนเมืองที่สำนึกชั่วดีดับมอด

: จะต่างอะไรกับกระบือบอดที่เบิ่งบ้าในอยู่ป่าดง

#บาลีวันละคำ (1,972)

2-11-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย