บาลีวันละคำ

ทวารวดี (บาลีวันละคำ 2,116)

ทวารวดี

แปลว่าอะไร

อ่านว่า ทะ-วา-ระ-วะ-ดี

ประกอบด้วยคำว่า ทวาร + วดี

(๑) “ทวาร

บาลีเป็น “ทฺวาร” (มีจุดใต้ ทฺ) อ่านว่า ทัว-อา-ระ (เสียง ทัว- รวบกับ อา-) รากศัพท์มาจาก –

(1) ทฺวิ (สอง) + อรฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) + ปัจจัย, ลบ อิ ที่ (ทฺ)-วิ แล้วทีฆะ อะ ที่ เป็น อา (ทฺวิ > ทฺว > ทฺวา)

: ทฺวิ + อรฺ = ทฺวิร + = ทฺวิร > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า (1) “ช่องเป็นที่คนสองคนเข้าออก” (คือเข้าคนออกคน) (2) “ช่องเป็นที่เป็นไปแห่งบานสองบาน

(2) ทฺวิ (สอง) + อรฺ ปัจจัย ลบ อิ ที่ (ทฺ)-วิ แล้วทีฆะ อะ ที่ เป็น อา (ทฺวิ > ทฺว > ทฺวา)

: ทฺวิ + อรฺ = ทฺวิร > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า “ช่องเป็นที่มีกิจสองอย่าง” (คือเข้าและออก)

(3) ทฺวรฺ (ธาตุ = ระวังรักษา) + ปัจจัย, ลบ , ทีฆะ อะ ที่ (ทฺ)--(ร) เป็น อา (ทฺวรฺ > ทฺวาร)

: ทฺวรฺ + = ทฺวรณ > ทฺวร > ทฺวาร แปลตามศัพท์ว่า “ช่องเป็นเครื่องระวังรักษา

ทฺวาร” (นปุงสกลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) ประตูนอก, ทวาร, ประตู, ทางเข้าออก (an outer door, a gate, entrance)

(2) ทวาร = ทางเข้าและทางออกของจิตใจ, กล่าวคือ อายตนะ (the doors = inlets & outlets of the mind, viz. the sense organs)

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายไว้ว่า –

ทวาร, ทวาร– : (คำนาม) ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคํา เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคําสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).”

(๒) “วดี

บาลีเป็น “วติ” (วะ-ติ) รากศัพท์มาจาก วรฺ (ธาตุ = ห้าม, ปิดกั้น) + ติ ปัจจัย, ลบ รฺ ที่สุดธาตุ (วรฺ > )

: วรฺ + ติ = วรติ > วติ ( : วรฺ > + ติ = วติ) แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องกั้น

วติ” (อิตถีลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) รั้ว (a fence)

(2) สิ่งที่เลือก, สิ่งที่เป็นคุณหรือได้ประโยชน์ (a choice, boon)

ในที่นี้ “วติ” ในภาษาไทยใช้ว่า “วดี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

วดี ๑ : (คำนาม) รั้ว, กําแพง. (ป. วติ; ส. วฺฤติ).”

ทฺวาร + วติ = ทฺวารวติ > ทวารวดี แปลตามศัพท์ว่า “ประตูและรั้ว

ในภาษาไทย คำว่า “ทวารวดี” เป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึงยุคสมัยทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี รวมทั้งรูปแบบของศิลปะและวัฒนธรรมแบบหนึ่ง กำหนดอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลงมาถึงพุทธศตวรรษที่ 16

คำอธิบายจากพระคัมภีร์ :

ในพระไตรปิฎกก็มีคำว่า “ทฺวารวตี” = ทวารวดี เป็นชื่อเมือง

ในพระไตรปิฎกส่วนที่เป็นพระสูตร มีคัมภีร์หมวดหนึ่งเรียกว่า “อปทาน” อยู่ในส่วนที่เป็นขุทกนิกาย

ในคัมภีร์อปทานดังกล่าวนี้มีเรื่องหนึ่ง ชื่อ “กิสลยปูชกเถราปทาน” อยู่ในพระไตรปิฎกเล่ม 32 ข้อ 198 มีคำที่เป็นคาถาบาทหนึ่งว่า “นคเร  ทฺวารวติยา” แปลว่า “ในนครทวารวดี

คัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินี ภาค 2 อันเป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถา อธิบายคัมภีร์อปทาน อธิบายความหมายของคำว่า “ทฺวารวติยา” (คำเดิมคือ “ทฺวารวตี”) ไว้ดังต่อไปนี้ –

………….

นคเร  ทฺวารวติยาติ  มหาทฺวารวาตปานกวาฏผลกาหิ  วติปาการฏฺฏาลโคปุรกทฺทโมทกปริขาหิ  จ  สมฺปนฺนํ  นครนฺติ  ทฺวารวตีนครํ  ทฺวารํ  วติญฺจ  ปธานํ  กตฺวา  นครสฺส  อุปลกฺขิตตฺตา  ทฺวารวตี  นครนฺติ  โวหรนฺตีติ  นคเร  ทฺวารวติยาติ  วุตฺตํ  ฯ

ที่มา: วิสุทธชนวิลาสินี ภาค 2 หน้า 307

แปลความว่า –

บาทคาถาว่า นคเร  ทฺวารวติยา (ในนครทวารวดี) มีคำอธิบายว่า เมืองนั้นสะพรึบพร้อมไปด้วยประตู ลูกกรง ฝาผนัง ล้วนแต่ขนาดใหญ่ และหนาแน่นด้วยรั้ว กำแพง หอคอย ป้อม (the gate of a city) และคูน้ำที่มีโคลนเลน (รวมความว่าเป็นเมืองที่มีเครื่องป้องกันมั่นคงยากที่จะเข้าจู่โจม), คนทั้งหลายย่อมเรียกเมืองนั้นว่า “ทวารวดี” โดยหมายเอาสิ่งสำคัญของเมือง คือ “ทวาร” (ประตู) และ “วดี” (รั้ว) ดังนั้น ในพระไตรปิฎกท่านจึงกล่าวว่า “นคเร  ทฺวารวติยา” (ในนครทวารวดี)

………….

สรุปความตามพระคัมภีร์ว่า ที่เรียกเมืองนี้ว่า “ทวารวดี” ก็เพราะมีจุดเด่น 2 อย่าง คือ ประตู = ทวาร และ รั้ว = วดี

ทวารวดี” จึงแปลได้ความว่า “เมืองที่มีประตูและรั้วเด่นสะดุดตา

นักโบราณคดีท่านใดไม่เห็นด้วยกับความหมายนี้ ก็เชิญสืบค้นความหมายที่ท่านเห็นด้วยกันต่อไปตามอัธยาศัย เทอญ

ข้อสังเกต :

ครั้งหนึ่ง มักจะมีผู้เขียนและพูดคำนี้เป็น “ทวาราวดี” (ทวารา–) แม้เดี๋ยวนี้ก็น่าจะยังมีผู้เรียกผิดพลาดคลาดเคลื่อนเช่นนี้อยู่

คำว่า “ทวารวดี” แม้จะเป็นคำเก่า แต่ก็ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

…………..

ดูก่อนภราดา!

: ใช้สติเป็นประตูใจ

: ชีวิตปลอดภัยตลอดกาล

———-

ภาพประกอบ: จาก google

#บาลีวันละคำ (2,116)

29-3-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *