บาลีวันละคำ

กตฺวาน กฏฺฐมุทรํ อิว คพฺภินียา (บาลีวันละคำ 1,987)

กตฺวาน กฏฺฐมุทรํ อิว คพฺภินียา

ไม่ใช่ …คพฺภินิยา

อ่านว่า กัด-ต๎วา-นะ-กัด-ถะ-มุ-ทะ-รัง-อิ-วะ-คับ-พิ-นี-ยา

เป็นข้อความวรรคแรกของพุทธชัยมงคลคาถา (คาถาพาหุง) บทที่ 5

ข้อความเต็มๆ ในบทนี้เป็นดังนี้ –

เขียนแบบบาลี :

กตฺวาน  กฏฺฐมุทรํ  อิว  คพฺภินียา

จิญฺจาย  ทุฏฺฐวจนํ  ชนกายมชฺเฌ

สนฺเตน  โสมวิธินา  ชิตวา  มุนินฺโท

ตนฺเตชสา  ภวตุ  เต  ชยมงฺคลานิ.

เขียนแบบคำอ่าน :

กัต๎วานะ  กัฏฐะมุทะรัง  อิวะ  คัพภินียา

จิญจายะ  ทุฏฐะวะจะนัง  ชะนะกายะมัชเฌ

สันเตนะ  โสมะวิธินา  ชิตะวา  มุนินโท

ตันเตชะสา  ภะวะตุ  เต  ชะยะมังคะลานิ.

คำแปล :

พระจอมมุนีได้ชนะคำกล่าวร้ายของนางจิญจมาณวิกา

ผู้เอาไม้กลมผูกที่ท้อง ทำอาการประหนึ่งว่ามีครรภ์

ด้วยวิธีสงบระงับอันงามในท่ามกลางหมู่ชน

ด้วยเดชแห่งพระพุทธชัยมงคลนั้น ขอชัยมงคลทั้งหลายจงมีแก่ท่าน.

…………..

อภิปราย :

คำว่า “คพฺภินียา” ตรงคำว่า “-นี-” (นี สระ อี) มักออกเสียงผิดเป็น “-นิ-” (นิ สระ อิ)

คือ “คพฺภินียา” เป็น “คพฺภินิยา”

ข้อพิสูจน์ว่า “คพฺภินิยา” (นิ สระ อิ) ออกเสียงผิด มีดังนี้ –

๑ พุทธชัยมงคลคาถา แต่งเป็นคำฉันท์ที่เรียกว่า “วสันตดิลกฉันท์”

๒ วสันตดิลกฉันท์กำหนดจำนวนคำบาทละ 14 พยางค์

๓ พยางค์ที่ 13 กำหนดให้ใช้คำครุ คือคำเสียงหนัก หมายถึงคำที่มีตัวสะกดหรือสระเสียงยาว

๔ คำว่า “คพฺภินียา” “-นี-” เป็นพยางค์ในลำดับที่ 13 จึงต้องเป็นคำครุ-เสียงยาว

๕ “นิ” เป็นคำสระเสียงสั้น ออกเสียงว่า “คพฺภินิยา” (นิ สระ อิ) จึงผิดข้อบังคับฉันทลักษณ์

โปรดดูภาพประกอบ และเปรียบเทียบตำแหน่งครุ-ลหุกับข้อความอีก 3 บาท จะเห็นว่า พยางค์ที่ 13 ล้วนเป็นคำครุ-คำที่มีตัวสะกดหรือสระเสียงยาวทั้งสิ้น

อนึ่ง คำว่า “ชกายมชฺเฌ” ตรงคำว่า “ช-” (ชะ-นะ-) หลายสำนักมักออกเสียงผิดเป็น “ชกายมชฺเฌ” คือสวดคำว่า “ช-” (ชะ-นะ-) เป็น “ช-” (ชะ-ยะ-)

“ชกายมชฺเฌ” (ชะ-นะ-กา-ยะ-มัด-เช) แปลว่า “ในท่ามกลางหมู่ชน” ย่อมเป็นอันยืนยันว่าคำนี้เป็น “ช-” (ชะ-นะ-) ไม่ใช่ “ช-” (ชะ-ยะ-)

…………..

ดูก่อนภราดา!

: รู้ว่าผิดแล้วแก้ไข เป็นวิสัยของบัณฑิต

: รู้ว่าผิดแล้วยังทำผิด เป็นวิสัยของคนพาล

#บาลีวันละคำ (1,987)

20-11-60

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย