บาลีวันละคำ

ศรีนครินทรวิโรฒ (บาลีวันละคำ 2,146)

ศรีนครินทรวิโรฒ

แปลอย่างไร

อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด

ประกอบด้วยคำว่า ศรี + นครินทร + วิโรฒ

(๑) “ศรี

บาลีเป็น “สิริ” อ่านว่า สิ-ริ (บาลีมี “สิรี” อีกรูปหนึ่ง) รากศัพท์มากจาก สิ (ธาตุ = เสพ, คบหา, อาศัย) + ปัจจัย + อิ (หรือ อี) ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: สิ + = สิร + อิ (อี) = สิริ (สิรี) แปลตามศัพท์ว่า (1) “สิ่งอันผู้ทำความดีไว้ได้สัมผัส” (2) “สิ่งที่อาศัยอยู่ในบุคคลผู้ทำความดีไว้

พจนานุกรมบาลี-อังฤษ แยกความหมายของ “สิริ” ไว้ดังนี้ –

(1) splendour, beauty (ความโอ่อ่าอลังการ, ความสวยงาม)

(2) luck, glory, majesty, prosperity (โชค, ความรุ่งโรจน์, ความมีเดช, ความรุ่งเรือง)

(3) the goddess of luck (เทพธิดาแห่งโชคลาภ)

(4) the royal bed-chamber (เมื่อ + คพฺภ = สิริคพฺภ = ห้องบรรทม)

สิริ” สันสกฤตเป็น “ศฺรี” ภาษาไทยเขียนตามสันสกฤตเป็น “ศรี” อ่านว่า สี

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ศรี ๑ : (คำนาม) มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่น ศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็นการยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).”

(๒) “นครินทร

คำเดิมมาจาก นคร + อินทร

(ก) “นคร” บาลีอ่านว่า นะ-คะ-ระ รากศัพท์มาจาก –

(1) นค (อาคารสูง เช่นปราสาท) + ปัจจัย

: นค + = นคร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่มีปราสาทเป็นต้น

(2) (แทนศัพท์ “ธนธญฺญาทิสมฺปุณฺณ” = สมบูรณ์ด้วยทรัพย์และ ข้าวเปลือกเป็นต้น หมายถึงเครื่องอุปโภคบริโภคมีบริบูรณ์) + ฆร (บ้านเรือน), แปลง เป็น

: + ฆร = นฆร > นคร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ซึ่งบ้านเรือนบริบูรณ์ด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค

(3) นค (อาคารสูง เช่นปราสาท) + รา (ธาตุ = ถือเอา) + ปัจจัย, ลบสระที่สุดธาตุ (รา > )

: นค + รา = นครา > นคร + = นคร แปลตามศัพท์ว่า “ที่ที่ถือเอาซึ่งสิ่งปลูกสร้างที่สูง” (คือมีสิ่งปลูกสร้างสูงๆ)

นคร” (นปุงสกลิงค์) ความหมายเดิมในบาลีหมายถึง ป้อม, ที่มั่น, ป้อมปราการ (a stronghold, citadel, fortress) ต่อมาจึงหมายถึง นครหรือเมือง (ที่มีป้อมค่าย) (a [fortified] town, city)

นคร” เป็นทั้งรูปบาลีและสันสกฤต

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “นคร” ไว้ดังนี้ –

นคร : (คำนาม) ‘นคร,’ บุรี, กรุง, เมืองเอก, ‘เมืองใหญ่หรือราชธานี;’ a town, a city, a capital or metropolis.”

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

นคร, นคร– : (คำนาม) เมืองใหญ่, กรุง. (ป., ส.).”

(ข) “อินทร

บาลีเป็น “อินฺท” (อิน-ทะ) รากศัพท์มาจาก –

(1) อิทิ (ธาตุ = เป็นใหญ่ยิ่ง) + ปัจจัย, ลงนิคหิตอาคมที่ต้นธาตุแล้วแปลงนิคหิตเป็น นฺ (อิทิ > อึทิ > อินฺทิ), “ลบสระหน้า” คือ อิทิ + ลบ อิ ที่ (อิ)-ทิ (อิทิ > อิท)

: อิทิ > อึทิ > อินฺทิ > อินฺท + = อินฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง” คือ “ผู้กระทำความเป็นใหญ่ยิ่ง

(2) อินฺท (ธาตุ = ประกอบ) + ปัจจัย

: อินฺท + = อินฺท แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ประกอบด้วยความยิ่งใหญ่

อินฺท” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายว่า –

(1) ผู้เป็นเจ้า, ผู้เป็นหัวหน้า, พระราชา (lord, chief, king)

(2) พระอินทร์ตามคัมภีร์พระเวท (The Vedic god Indra)

บาลี “อินฺท” สันสกฤตเป็น “อินฺทฺร” ไทยมักใช้ตามสันสกฤตเป็น “อินทร” (ใช้เป็น “อินท” ก็มี)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อินทร-, อินทร์ : (คำนาม) ชื่อเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และชั้นจาตุมหาราช; ผู้เป็นใหญ่. (ส.; ป. อินฺท).”

นคร + อินทร = นครินทร ถ้าเป็นคำทั่วไปต้องอ่านว่า นะ-คะ-ริน-ทฺระ และแปลตามศัพท์ว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งเมือง” หมายถึง เจ้าเมือง หรือพระเจ้าแผ่นดิน

แต่ในที่นี้มุ่งจะให้ “อินทร” หมายถึง ยิ่งใหญ่ และเป็นคำขยาย “นคร” “นครินทร” จึงหมายถึง “เมืองที่ยิ่งใหญ่” คือเมืองใหญ่ หรือมหานคร

(๓) “วิโรฒ

เป็นรูปคำสันสกฤตมาจากคำเดิม “วิรูฒ

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

วิรูฒ : (คำวิเศษณ์) อันออกช่อแล้ว, อันเกิดแล้ว; blossomed; born.”

สันสกฤต“วิรูฒ” บาลีเป็น “วิรุฬฺห” (วิ-รุน-หะ หรือ วิ-รุน-หฺละ) รากศัพท์มาจาก วิ (คำอุปสรรค = วิเศษ, พิเศษ, แจ้ง, ต่าง) + รุหฺ (ธาตุ = เจริญ, งอกงาม) + ปัจจัย, ลบ หฺ ที่สุดธาตุ, แปลง เป็น ฬฺห

: วิ + รุหฺ = วิรุหฺ + = วิรุหต > วิรุต > วิรุฬฺห (คุณศัพท์) แปลตามศัพท์ว่า “เจริญแล้ว” “งอกงามแล้ว” หมายถึง งอกขึ้น, งอกเงย (having grown, growing)

วิรุฬฺห > วิรูฒ (แผลง อู เป็น โอ) > วิโรฒ

ศรี + นครินทร + วิโรฒ = ศรีนครินทรวิโรฒ แปลความตามศัพท์ว่า “อันเจริญเป็นมิ่งขวัญแก่เมืองใหญ่

ศรีนครินทรวิโรฒ” เป็นชื่อมหาวิทยาลัย เรียกรวมเป็นคำเต็มว่า “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ขยายความ :

ชื่อ “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทาน คำว่า “ศรีนครินทร” ในชื่อนี้ไม่เกี่ยวกับพระนามาภิไธยของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีแต่ประการใด

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (อ่านเมื่อ 28 เมษายน 2561 เวลา 20:30 น.) ที่คำว่า “มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ” มีข้อความตอนหนึ่งว่า –

…………….

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความหมายว่า “มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร”

“วิโรฒ” มาจากคำว่า “วิโรฒ” ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความงอกงามหรือเจริญ

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) มีชื่อย่อว่า “มศว” (ไม่มีจุด) เขียนอักษรโรมันว่า “Srinakharinwirot University” มีชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า SWU (อ่านว่า สะ-วู)

…………….

…………….

วันที่ 28 เมษายน 2492 เป็นวันที่กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ที่ถนนประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร วันที่ 28 เมษายน จึงเป็นวันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และชาวศรีนครินทรวิโรฒควรจะรำลึกถึงปูชนียบุคคลที่สำคัญ 2 ท่าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งสถานศึกษาแห่งนี้ คือ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้ดำเนินการซื้อที่ดิน วางผัง บุกเบิกงาน และอีกท่านหนึ่งที่ได้ดำเนินการบริหารการศึกษา ได้ดำเนินการบริหารการศึกษาแห่งนี้คู่กันตลอดมาก็คือ หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ (สวัสดิ์ สุมิตร) ผู้อำนวยการคนแรกของโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง

…………..

อภิปราย :

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมีคติพจน์เป็นภาษาบาลีว่า

สิกฺขา วิรุฬหิ สมฺปตฺตา

มีคำแปลว่า “การศึกษาคือความเจริญงอกงาม

เท่าที่ตรวจดูคำที่เขียนกันในที่ทั่วไปพบว่ามักเขียนภาษาบาลีคลาดเคลื่อน การสะกดที่ถูกต้องเป็นดังนี้ –

สิกฺขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา

หมายเหตุ: มีจุดใต้ กฺ, ฬฺ, มฺ และ ตฺ ตัวแรก

อ่านว่า สิก-ขา วิ-รุน-หิ สำ-ปัด-ตา

ข้อสังเกต :

๑ ภาษาบาลีในที่นี้นับได้ 8 พยางค์ ซึ่งเป็นลักษณะของ “คาถา” หรือฉันท์ที่ชื่อปัฐยาวัต 1 บาท ถ้าเขียนแยกเป็น 3 คำแบบนี้ “สิกฺขา” เป็นประธาน “วิรุฬฺหิ” เป็นกรรม “สมฺปตฺตา” เป็นกริยา แปลตามศัพท์ว่า “การศึกษา (เป็นเหตุให้) ถึงแล้ว ซึ่งความงอกงาม

๒ คำว่า “วิรุฬฺหิ” ถ้าเขียนแยกแบบนี้ คำเดิมต้องเป็น “วิรุฬฺหึ” (สระอึ คือ สระอิ + นิคหิต) อ่านว่า วิ-รุน-หิง แปลว่า “ซึ่งความงอกงาม

ในที่นี้ “-หึ” เป็นพยางค์ลำดับที่ 5 ซึ่งฉันทลักษณ์บังคับให้เป็นคำลหุ (สระเสียงสั้น)

คำว่า “-หึ” (หิง) เป็นสระเสียงยาว ต้องลบนิคหิต “-หึ-” จึงกลายเป็น “-หิ

๓ “สิกฺขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา” ถ้าไม่ถือว่าเป็นบาทหนึ่งของฉันท์ “วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา” ก็สามารถสมาสให้เป็นคำเดียวได้ คือเขียนติดกันเป็น “วิรุฬฺหิสมฺปตฺตา” และคงแปลได้ความเท่าเดิม

การเขียนแยก “วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา” เป็น 2 คำเช่นนี้ ถ้าไม่ถือว่าเป็นฉันท์ ย่อมชวนให้สงสัยว่า “วิรุฬฺหิ” จะแปลให้เป็น “กรรม” (ตามไวยากรณ์) ได้อย่างไร เพราะในที่นี้ต้องเป็น “วิรุฬฺหึ” (วิ-รุน-หิง) ไม่ใช่ “วิรุฬฺหิ” (วิ-รุน-หิ)

แต่ถ้าเขียนติดกันเป็น “วิรุฬฺหิสมฺปตฺตา” ก็จะหมดปัญหาทันที

๔ คำว่า “สมฺปตฺตา” เมื่อออกเสียงควบกับ “วิรุฬฺหิ” เป็น วิ-รุน-หิ-สำ-ปัด-ตา ถ้าไม่เห็นตัวอักษร ชวนให้ได้ยินเป็น วิ-รุน-หิ-สำ-ปะ-ทา และอาจเข้าใจไปว่าเป็น “สมฺปทา” ได้ด้วย

พอดีว่า “วิรุฬฺหิสมฺปทา” ก็แปลได้ความตรงกันกับ “วิรุฬฺหิสมฺปตฺตา” คือแปลว่า “เป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยความเจริญงอกงาม

…………..

ดูก่อนภราดา!

: การเรียนจบหลายดีกรี

: ไม่ใช่หลักประกันว่าคุณความดีจะงอกงาม

#บาลีวันละคำ (2,146)

28-4-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *