บาลีวันละคำ

นิ้วทั้งห้า (บาลีวันละคำ 2,169)

นิ้วทั้งห้า

ภาษาบาลีว่าอย่างไร

นิ้วทั้ง 5 นิ้ว ภาษาไทยเรียกว่า นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และ นิ้วก้อย แต่ละนิ้วเรียกเป็นคำบาลีดังนี้ –

(๑) นิ้วหัวแม่มือ ใช้คำบาลีว่า “องฺคุฏฺฐ” (อัง-คุด-ถะ)

องฺคุฏฺฐ” รากศัพท์มาจาก –

(1) องฺคฺ (ธาตุ = ไป, เป็นไป) ปัจจัย, แปลง อะ ที่ (องฺ)-คฺ เป็น อุ (องฺคฺ > องฺคุ), ซ้อน ฏฺ ระหว่างธาตุกับปัจจัย (องฺค > องฺคุ + ฏฺ + )

: องฺค > องฺคุ + ฏฺ + = องฺคุฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “นิ้วที่เป็นไปปกติ

(2) อคฺคฺ (เลิศ, อันดับต้น) + ฐา (ธาตุ = ตั้งอยู่) + ปัจจัย, ลบ คฺ ตัวหนึ่งที่ อคฺค (อคฺค > อค), ลงนิคหิตอาคมที่ -(ค) แล้วแปลงนิคหิตเป็น งฺ (อค > อํค > องฺค), แปลง อะ ที่ (องฺ)-คฺ เป็น อุ (องฺคฺ > องฺคุ), ซ้อน ฏฺ ระหว่างศัพท์หน้ากับธาตุ (องฺคุ + ฏฺ + ฐา), ลบ อา ที่ ฐา (ฐา > )

: อคฺค > อค > อํค > องฺค > องฺคุ + ฏฺ + ฐา = องฺคุฏฺฐา > องฺคุฏฺฐ + = องฺคุฏฺฐ แปลตามศัพท์ว่า “นิ้วที่อยู่ต้น

องฺคุฏฺฐ” (ปุงลิงค์) ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) หัวแม่มือ (the thumb)

(2) หัวแม่เท้า (the great toe)

องฺคุฏฺฐ” ในภาษาไทยใช้เป็น “อังคุฐ” (อัง-คุด) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อังคุฐ : (คำนาม) นิ้วหัวแม่มือ. (ป. องฺคุฏฺฐ; ส. องฺคุษฺฐ).”

(๒) นิ้วชี้ ใช้คำบาลีว่า “ตชฺชนี” (ตัด-ชะ-นี)

ตชฺชนี” รากศัพท์มาจาก ตชฺช (ธาตุ = เบียดเบียน, คุกคาม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, ลง อี เครื่องหมายอิตถีลิงค์

: ตชฺช + ยุ > อน = ตชฺชน + อี = ตชฺชนี แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องเบียดเบียน” คือใช้ชี้หน้าคนอื่น ความหมายตามศัพท์คือ การขู่, การคุกคาม (threat, menace)

ตชฺชนี” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ดัชนี” และ “ดรรชนี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ดัชนี ๑ : (คำนาม) นิ้วชี้, นิ้วที่อยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วกลาง, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระดัชนี, ดรรชนี ก็ใช้. (ป. ตชฺชนี; ส. ตรฺชนี).”

(๓) นิ้วกลาง ใช้คำบาลีว่า “มชฺฌิมา” (มัด-ชิ-มา)

มชฺฌิมา” ศัพท์เดิมมาจาก มชฺฌ + อิม ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

(ก) “มชฺฌ” รากศัพท์มาจาก มชฺ (ธาตุ = บริสุทธิ์, สะอาด) + ปัจจัย

: มชฺ + = มชฺฌ แปลตามศัพท์ว่า “จุดที่หมดจด

มชฺฌ” ในบาลีใช้ในความหมายดังนี้ –

(1) (นปุงสกลิงค์) ตรงกลาง, กลาง ๆ, สามัญ, มัธยม, สายกลาง (middle, medium, mediocre, secondary, moderate)

(2) (ปุงลิงค์) สะเอว (the waist)

(ข) มชฺฌ + อิม = มชฺฌิม + อา = มชฺฌิมา ใช้เป็นคุณศัพท์ขยายศัพท์ที่เป็นอิตถีลิงค์ แปลตามศัพท์ว่า “-อันตั้งอยู่ในท่ามกลาง” หรือ “-อันเป็นไปในท่ามกลาง” ความหมายอย่างเดียวกับ “มชฺฌ

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

มัชฌิมา : (คำวิเศษณ์) ปานกลาง, ไม่ยิ่งไม่หย่อน, เช่น พอเป็นมัชฌิมา.(ราชาศัพท์) (คำนาม) นิ้วกลาง เรียกว่า พระมัชฌิมา. (ป.; ส. มธฺยมา).”

(๔) นิ้วนาง ใช้คำบาลีว่า “อนามิกา” (อะ-นา-มิ-กา)

อนามิกา” รากศัพท์มาจาก (คำนิบาต ไม่, ไม่ใช่)+ นาม (ชื่อ) + อิก ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์, แปลง เป็น ตามกฎ: ถ้าพยางค์แรกของคำที่ “” ไปประสมด้วย ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ให้แปลง เป็น )

: + นาม = นนาม > อนาม + อิก = อนามิก + อา อนามิกา แปลตามศัพท์ว่า “นิ้วที่ไม่มีชื่อ” หมายถึง นิ้วนาง

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อนามิกา : (ราชาศัพท์) (คำนาม) นิ้วนาง, ใช้ว่า พระอนามิกา หรือ อนามิกา.”

(๕) นิ้วก้อย ใช้คำบาลีว่า “กนิฏฺฐา” (กะ-นิด-ถา)

กนิฏฺฐา” รากศัพท์มาจาก อปฺป (น้อย, เล็กน้อย) + อิฏฺฐ ปัจจัย, แปลง อปฺป เป็น กน + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: อปฺป > กน + อิฏฺฐ = กนิฏฺฐ + อา = กนิฏฺฐา แปลตามศัพท์ว่า “นิ้วที่เล็กที่สุด

ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

กนิษฐา : (คำที่ใช้ในบทร้อยกรอง) (คำนาม)  น้องสาว; (ราชาศัพท์) น้องสาว; นิ้วก้อย; ใช้ว่า พระกนิษฐา. (ส.).”

ข้อสังเกต :

ชื่อนิ้วทั้ง 5 นิ้วที่เป็นคำบาลีเป็นคำที่ทางไวยากรณ์เรียกว่า “อิตถีลิงค์” (คำเพศหญิง) 4 ชื่อ คือ

ตชฺชนี = นิ้วชี้

มชฺฌิมา = นิ้วกลาง

อนามิกา = นิ้วนาง

กนิฏฺฐา = นิ้วก้อย

มีเพียง องฺคุฏฺฐ = นิ้วหัวแม่มือคำเดียวที่เป็น “ปุงลิงค์” (คำเพศชาย)

เพียงแค่ + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ = องฺคุฏฺฐา (อัง-คุด-ถา) ก็เป็นอิตถีลิงค์ได้แล้ว แต่ทำไมท่านจึงไม่ทำเช่นนั้น ควรหาเหตุผลต่อไป

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกคำราชาศัพท์ของนิ้ว 4 นิ้ว คือ –

นิ้วชี้ = พระดัชนี

นิ้วกลาง = พระมัชฌิมา

นิ้วนาง = พระอนามิกา หรือ อนามิกา

นิ้วก้อย = พระกนิษฐา

ที่คำว่า “อังคุฐ” พจนานุกรมฯ บอกคำแปลว่า “นิ้วหัวแม่มือ” แต่ไม่ได้บอกว่าคำนี้เป็นราชาศัพท์ และไม่ได้บอกว่าคำราชาศัพท์ใช้ว่าอย่างไร

…………..

นิ้วทั้งห้านี้ ผู้รู้ท่านให้คติคือแง่คิดบางประการที่น่าสนใจ เช่น

– นิ้วมือ 5 นิ้วยังยาวไม่เท่ากัน พี่น้องคลานตามกันมาจะให้เหมือนกันทุกคนไม่ได้

– เวลาชี้คนอื่น นิ้วชี้ชี้ไปนิ้วเดียว อีก 3 นิ้วชี้เข้าตัวเอง เป็นคติว่า สอนคนอื่นมากเท่าไร ก็ให้สอนตัวเองมากเป็น 3 เท่า

…………..

ดูก่อนภราดา!

: อย่าใช้รูปร่างหน้าตาเป็นตัวชี้วัด

: อย่าใช้ทรัพย์สมบัติเป็นตัวชี้ขาด

: อย่าใช้ความรู้ความสามารถเป็นตัวชี้นำ

: แต่จงใช้คุณธรรมเป็นตัวชี้ชะตากรรมของตนเอง

#บาลีวันละคำ (2,169)

21-5-61

ดูโพสต์ในเฟซบุ๊กของครูทองย้อย